พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556-3557/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและการต่อเนื่องของสัญญาจ้างงาน ไม่อาจถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ทั้งสองเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานผู้จัดการเขต 11 ของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นพิจารณาความผิดทางวินัยแล้วมี คำสั่งไล่โจทก์ทั้งสองออกจากงานโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เห็นว่าควรลงโทษเพียงขั้นตัดเงินเดือนแล้วเสนอความเห็นไปยัง ผู้อำนวยการของจำเลยผู้อำนวยการซึ่งมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของ ผู้จัดการเขต11แล้วสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสองใหม่เป็นตัดค่าจ้าง เดือนละ200บาทมีกำหนด 6 เดือนและให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้า ทำงานตามเดิมดังนี้ เป็นผลให้คำสั่งของผู้จัดการเขต11ถูกเพิกถอน หรือลบล้างไปในตัวต้องถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยยังมิได้สั่งลงโทษ โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีความสัมพันธ์เป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันเช่นเดิมติดต่อกันตลอดมาโดยไม่ขาดตอนถือไม่ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองแล้วและรับกลับเข้ามาเป็นลูกจ้างใหม่ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องผิดสัญญาจ้างงาน เงินขาดบัญชี ไม่เคลือบคลุม อายุความ 3 ปี
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่รับผิดชอบเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายของหน้าร้าน รักษาเงินที่ส่งเป็นรายได้ของร้านและเบิกจ่ายเงินแล้วเงินขาดหายไปจากบัญชีจำนวนหนึ่ง โดยไม่ได้แสดงว่าเงินที่ขาดบัญชีเป็นเงินประเภทใด จำนวนเท่าใด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะจำเลยย่อมจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้ว่ามีเงินอยู่ถูกต้องตรงกับบัญชีหรือขาดจากบัญชีไปเท่าใด ส่วนรายการว่าเงินที่ขาดบัญชีเป็นเงินประเภทใดเป็นรายละเอียดที่ไม่จำต้องกล่าวในฟ้อง
แม้ถ้อยคำในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย แต่ก็ได้บรรยายรายละเอียดว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่อันเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และจะนำอายุความในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีไม่ได้
(ข้อกฎหมายข้อหลังประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
แม้ถ้อยคำในฟ้องบางตอนจะใช้คำว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย แต่ก็ได้บรรยายรายละเอียดว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่อันเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และจะนำอายุความในเรื่องละเมิดมาปรับแก่คดีไม่ได้
(ข้อกฎหมายข้อหลังประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาจ้างงาน เงินลดหย่อน และการเปลี่ยนตัวลูกจ้าง
ลูกจ้าง 2 คนเข้าทำสัญญารับเงินล่วงหน้าโดยมีข้อตกลงว่าจะรับใช้การงานแทนแลผู้จ้างจะยอมลดเงินให้เป็นรายเดือนไปจนกว่าจะครบกำหนดตามสัญญาแล้วผู้จ้างยินยอมให้ลูกจ้างคนหนึ่งออกไป โดยลูกจ้างอีกคนหนึ่งยอมจะรับใช้การงานแทน ดังนี้ ลูกจ้างคนนั้นหาจำต้องรับผิดในทางอาญาในเมื่อมีการกระทำผิดสัญญาเกิดขึ้นแทนลูกจ้างอีกคนหนึ่งนั้นไม่สัญญา แปลสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างงาน: สิทธิในการได้รับค่าเดินทางและเงินเดือนหยุดพักผ่อนตามสัญญา
การแปลสัญญาเปนปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9468/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างงาน การนับอายุความเริ่มต้นเมื่อใด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง เพราะเหตุที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ อนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเกินขอบอำนาจโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งฐานละเมิดต่อโจทก์ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง และฐานทำผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 193/12 ทั้งนี้วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องคือวันที่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ใช่วันที่โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลย หรือวันที่แจ้งคำสั่งลงโทษให้จำเลยทราบ จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 นับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งอายุความฐานละเมิดและอายุความฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการแข่งขันหลังพ้นสภาพการจ้างงาน: สัญญาไม่เป็นโมฆะ หากจำกัดเฉพาะเจาะจงและมีระยะเวลา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่กำหนดว่า ภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะไม่ไปประกอบธุรกิจประเภทเดียวกับธุรกิจของโจทก์ หรือมีส่วนร่วมส่งเสริมหรือสนับสนุนบุคคลอื่นในการประกอบธุรกิจประเภทเดียวกับธุรกิจของโจทก์ เป็นเพียงข้อจำกัดห้ามประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์โดยระบุจำกัดประเภทธุรกิจไว้อย่างชัดเจน ไม่ได้ห้ามประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้ของจำเลยที่ 1 อย่างเด็ดขาด โดยยังสามารถประกอบอาชีพหรือทำงานในด้านอื่นที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงได้ ทั้งข้อห้ามดังกล่าวก็มีผลเพียง 3 ปีเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดทางทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ และเป็นธรรมแก่คู่กรณีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13530/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาจ้างงานตามประกาศกระทรวงแรงงาน แม้ทำสัญญาค้ำก่อนประกาศมีผล
ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 ที่ออกโดยอาศัยมาตรา 6 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 ในข้อ 10 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำประกันด้วยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ แม้ประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ภายหลังจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก็ตาม แต่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไปประมาณต้นปี 2552 และโจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2552 กรณีความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันย่อมเกิดหลังจากประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องใช้ประกาศดังกล่าวอันเป็นกฎหมายที่มีผลในขณะนั้นใช้บังคับ แม้ตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อต้องรับผิดตามประกาศดังกล่าวไม่เกินกว่าหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ได้รับ ส่วนที่ต้องรับผิดตามข้อตกลงเกินกว่านั้นถือว่าขัดต่อประกาศดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลให้ข้อตกลงในส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเสียเปล่าไป จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนทำสัญญาจ้างงานต่างประเทศ: ความรับผิดของตัวการและตัวแทนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท ย. มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำการทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จัดทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง เป็นกรณีจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัท ย. ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6021/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากสัญญาจ้างงานเดิม แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มิได้บัญญัติไว้โดยตรง
จำเลยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียมีสำนักงานที่กำกับดูแลจำเลยคือ บริษัท จ. (สิงค์โปร์) โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (ออสเตรเลีย) และโอนย้ายไปเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (มาเลเซีย) โดยให้โจทก์มีสิทธินับเวลาทำงานติดต่อกันได้ และให้โจทก์คงได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนในกรณีทำงานมานานตามที่เคยได้รับต่อไป ต่อมาโจทก์โอนย้ายไปเป็นลูกจ้างจำเลย และได้ทำสัญญากับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) ระบุว่าเป็นการจ้างงานโจทก์ต่อเนื่องจากที่ได้ทำงานกับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) และโจทก์ยังคงมีสิทธิสะสมวันหยุดในกรณีที่ทำงานมานานต่อไปจากที่เคยได้รับ เมื่อข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้างในกรณีทำงานมานานไว้ก็ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างด้วย