พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน และการเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาจ้างทำของไม่ต้องกระทำตามแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ในรายการเพิ่มเติมมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิมและมีการเพิ่มงานมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าราคาค่าก่อสร้างจะต้องเพิ่มขึ้นกว่าราคาเดิมอย่างมาก ประกอบกับเจ้าของห้องชุดที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแบบจะต้องได้รับอนุญาตจากโจทก์เสียก่อน จึงฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องชุดตามรายการเพิ่มเติมโครงการจริง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต่อโจทก์
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดำเนินการเสร็จในเดือนพฤษภาคม2534 แต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับ บ. ในเมื่อขณะนั้นการก่อสร้างงานส่วนที่ 17 ยังไม่แล้วเสร็จ ย่อมมีเหตุผลอันควรที่โจทก์จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการจะเรียกสินจ้างจากจำเลยก็ยังไม่เกิดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 บัญญัติว่า"อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..."และสิทธิเรียกร้องสินจ้างของโจทก์จะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งมอบการที่ทำตามมาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยไม่ได้โต้แย้งในข้อนี้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบการที่ทำแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 เช่นนี้ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ (ทนายความ): สิทธิเลิกสัญญา, ค่าจ้างตามผลงาน, และการประเมินค่าเสียหาย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุด และการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงาน หรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้าง ไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาด มิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนาย เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลยผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสียในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่าจ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตาม ป.พ.พ.มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงานอันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคาค่าแห่งการนั้น ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนดในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเอง ซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคาค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมด และพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: การเลิกสัญญาจ้างทำของก่อนคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญา จ้าง ว่า ความ เป็น สัญญา จ้าง ทำ ของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือ เอา ผลสำเร็จ ของงาน คือ การ ดำเนินคดี หรือ ทำ หน้าที่ ทนายความ ตั้งแต่ตระเตรียม คดี และ ว่า ต่าง หรือ แก้ต่าง ใน ศาล ไป จน คดี ถึง ที่สุดและ การ จ่าย สินจ้าง ต้อง ถือเอา ความสำเร็จ ของ ผลงานหรือ จ่าย สินจ้าง ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ แม้ ข้อตกลง ว่า ผู้ว่าจ้าง จะชำระ สินจ้าง ให้ เต็ม ตาม จำนวน ใน สัญญาจ้าง ไม่ว่า ผู้ว่าจ้างจะ เลิก สัญญา ใน ชั้นใด หรือ เวลา ใด ก็ ไม่ใช่ ข้อสัญญา ที่ ผูกมัดตัด ทอน เสรีภาพ ของ ผู้ว่าจ้าง เพราะ มิได้ ห้าม เด็ดขาดมิให้ ผู้ว่าจ้าง ถอน ทนาย เพียง แต่ มี เงื่อนไข ว่าหาก ถอน ทนาย ผู้ว่าจ้าง ก็ ยัง ต้อง ชำระ ค่า สินจ้าง เต็ม จำนวนใน สัญญา เท่านั้น จึง ไม่ ขัด ต่อ ความ สงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน ข้อตกลง เช่นว่า จึงมี ผลบังคับ ได้ แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดิน: ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นได้ ดังนี้กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็นกิจการที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเพื่อขอค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดิน เพิ่มขึ้นได้ ดังนี้ กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์ กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็น กิจการ ที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะ ขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ตามปกติและหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงและลงมือทำงาน แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ผูกพัน
สัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือเพียงแต่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างตามที่จำเลยว่าจ้าง สัญญาจ้างย่อมเกิดขึ้นผูกพันคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามนั้น
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับแต่วันศาลพิพากษาคดี ไม่ใช่เมื่อมีการขายที่ดิน
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12กำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปและมาตรา602วรรคหนึ่งกำหนดให้สินจ้างพึงใช้เมื่อรับมอบการที่ทำการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วแสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุว่าจำเลยตกลงจะขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไม่เป็นเงิน3,500,000บาทซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์500,000บาทหากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้นจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ10เปอร์เซ็นของจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดแต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใดค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า280,000บาทนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้นโดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนดแต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน280,000บาทโดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้นคือศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่31กรกฎาคม2535โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยวันที่5กันยายน2537เป็นระยะเวลาเกินกว่า2ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของเลิกกัน การชดใช้ค่างานที่ทำเสร็จแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่าได้ทำงานไป2เดือนเป็นเงิน1ล้านบาทซึ่งเป็นไปตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ข้อ3แล้วว่ากำหนดงวดละ30วันส่วนที่ว่าโจทก์ได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างก็ดีได้เนื้องานเท่าใดก็ดีเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านี้นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยที่1ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งแต่เนื่องจากโจทก์ได้ทำงานถางป่าให้จำเลยที่1แล้วจึงไม่อาจให้กลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้กรณีต้องบังคับตามมาตรา391วรรคสามที่บัญญัติว่า"ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้นการที่จะชดใช้คืนท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นไว้"ดังนั้นจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1จะต้องร่วมกันใช้เงินให้แก่โจทก์แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี มิใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน6เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ดังนั้นคดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา671หรือไม่เท่านั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด1ปีคดีจึงขาดอายุความตามมาตรา601จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามสัญญาการเลี้ยงการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่อาหารยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหารยาและวัคซีนซึ่งจำเลยได้ใช้ไปคงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของหากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30