พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้างในระหว่างการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างแล้วยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานอีกด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8373/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน-ละเมิด & ผลสัญญาประนีประนอมยอมความหลังฟ้องคดี
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ในตัวด้วย การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือ มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี หนี้ของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความและแม้จำเลยที่ 1 กับโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกระทำภายในศาลหลังมีการฟ้องคดีแล้ว เห็นได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบังคับหนี้ตามฟ้อง มิใช่เพื่อระงับหนี้เดิมและก่อหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่มีผลให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญา ยักยอกทรัพย์
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย แม้การขอให้คืนหรือใช้เงินจะเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีข้อตกลงกับโจทก์ว่าในระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดและยอมเสียค่าปรับให้โจทก์อีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่โดยยักยอกเงินของโจทก์ด้วยวิธีการต่างๆ หลายครั้งรวมเป็นเงิน 1,222,095 บาท อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวและค่าปรับตามสัญญาให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกพร้อมค่าปรับ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งของคดีอาญาคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายใจความว่า ระหว่างที่จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยนำสินค้าไปขายและเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์แล้ว แต่ไม่นำส่งเงินให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะบรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหายแล้ว ยังถือว่าโจทก์เสนอข้อหาว่า จำเลยได้กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีนี้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น ย่อมมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 หาได้มีอายุความ 1 ปีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฟ้องศาลแรงงานได้ แม้มีกฎกระทรวงคุ้มครองเฉพาะ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย สัญญาจ้างเป็นครูดังกล่าวจึงเป็นการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่มิใช่สัญญาทางการปกครองแม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1)ฯ ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินอันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานกลางจะนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาบังคับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้เท่านั้น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่ขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ จึงไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: ค่าจ้างรายเดือน vs. เงินตอบแทนพิเศษตามเงื่อนไข
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.1 ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ 3 ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ 30,000 บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
++ หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย
++ คดีนี้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ 3 ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ 20,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน
++ แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ 3 ปี แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง
++ แต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ3 ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.1 ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ 3 ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ 30,000 บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
++ หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย
++ คดีนี้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ 3 ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ 20,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน
++ แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ 3 ปี แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง
++ แต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ3 ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364-5368/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน แม้มีระเบียบ รร.เอกชน
โจทก์จำเลยต่างเป็นเอกชน จำเลยตกลงรับโจทก์เข้าทำงานตำแหน่งครูผู้สอนและจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนให้โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 มิใช่สัญญาทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
โจทก์เป็นครูตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนเพื่อเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพอถือได้ว่าเป็นการฟ้อง เรียกค่าชดเชยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครอง การทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 32 และข้อ 33 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 มาตรา 17 มาตรา 44 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และฟ้องเรียก สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ซึ่งมิใช่ฟ้องเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฯ ส่วนที่ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ก็มิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯโจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยได้
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และมีคณะกรรมการประนีประนอมหรือคณะกรรมการคุ้มครองเพื่อพิจารณาหรือพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วแต่กรณี เป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวก็ตาม ก็มิใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งห้าถูกจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993-6996/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานจากการลาออก และการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์วางจดหมายไว้บนโต๊ะทำงานพร้อมใบลาออกยังไม่เป็นผลทำให้การจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยทราบและอนุมัติใบลาออกของโจทก์แล้ว และ ท. ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ท. เป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้รับทราบ ใบลาออกของโจทก์และเป็นผู้อนุมัติใบลาออก การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์จึงมีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง ย่อมหมายความว่า ท. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการอนุมัติใบลาออกของโจทก์แทนจำเลยนั่นเอง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สำเนาเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบพยานอื่น ทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร ดังกล่าว จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อม รับฟังเอกสารนั้นได้ มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
สำเนาเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบพยานอื่น ทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร ดังกล่าว จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อม รับฟังเอกสารนั้นได้ มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6689/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินผลตอบแทนเป็นค่าจ้าง: การพิจารณาเงินผลตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
ตามสัญญาจ้างแรงงานฉบับพิพาท จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนเดือนละ 65,000 บาท และเงินผลตอบแทนอีกเดือนละ 15,000 บาท ให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่จัดรถยนต์และค่าใช้จ่ายใดทางด้านรถยนต์ให้โจทก์ แต่เงินผลตอบแทนดังกล่าวต้องนำรวมเข้าเสมือนเป็นรายได้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์อีกเดือนละ 15,000 บาท จึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของโจทก์ในอัตราที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือนทำนองเดียวกับเงินเดือน เงินผลตอบแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสัญญาจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และอำนาจศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่ โจทก์ และจำเลยมิได้คัดค้าน กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงาน วินิจฉัยจึงชอบแล้ว สัญญาที่โจทก์ทำกับ อ.กำหนดให้อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์เป็นเพียงข้อ กำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ.ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญา จ้างแรงงาน