พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการสมาชิก ค่าปรับไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ถือเป็นดอกเบี้ย
ข้อกำหนดข้อ5ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน300บาทที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน500บาทเมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา3เดือนสำหรับข้อกำหนด6ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไปซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อนโดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม1เปอร์เซ็นต์และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน2.5เปอร์เซนต์เห็นได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิกไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่งไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224และมาตรา654และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการทางวิชาการของคนต่างด้าว: ประกาศ คณะปฏิวัติ 281 ใช้บังคับเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ใช้บังคับเฉพาะแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น สัญญาที่โจทก์ให้สิทธิจำเลยใช้ความรู้ข้อมูลทางวิชาการ และชื่อเสียงของโจทก์ในประเทศไทย หาใช่เป็นสัญญาที่โจทก์เข้ามาประกอบธุรกิจหรือส่งคนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยส่งคนเข้ามาช่วยในบริษัทจำเลยซึ่งอยู่ในประเทศไทยสัญญานี้จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิบัติฉบับดังกล่าวและใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการทางวิชาการของคนต่างด้าว: ประกาศคณะปฏิวัติใช้บังคับเฉพาะการประกอบธุรกิจโดยตรง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ใช้บังคับเฉพาะแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น สัญญาที่โจทก์ให้สิทธิจำเลยใช้ความรู้ข้อมูลทางวิชาการและชื่อเสียงของโจทก์ในประเทศไทย หาใช่เป็นสัญญาที่โจทก์เข้ามาประกอบธุรกิจหรือส่งคนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยส่งคนเข้ามาช่วยในบริษัทจำเลยซึ่งอยู่ในประเทศไทย สัญญานี้จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวและใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการทางวิชาการของคนต่างด้าว: ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ใช้บังคับเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจโดยตรง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ใช้บังคับเฉพาะแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเท่านั้น สัญญาที่โจทก์ให้สิทธิจำเลยใช้ความรู้ข้อมูลทางวิชาการ และชื่อเสียงของโจทก์ในประเทศไทย หาใช่เป็นสัญญาที่โจทก์เข้ามาประกอบธุรกิจหรือส่งคนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยส่งคนเข้ามาช่วยในบริษัทจำเลยซึ่งอยู่ในประเทศไทยสัญญานี้จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิบัติฉบับดังกลา่าวและใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต และเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น ก็ด้วยประสงค์มิให้นายหน้าแสวงหาลูกค้าเข้ามาทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทนจากผลงานเบี้ยประกันภัย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์อันแท้จริงของลูกค้าที่จะได้รับจากการทำสัญญาประกันชีวิตที่อาศัยเหตุความทรงชีพหรือมรณะของลูกค้าผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการให้บริษัทผู้รับประกันภัยไปสร้างแรงจูงใจแก่นายหน้าประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทน โดยมีเป้าหมายเพียงให้บริษัทได้รับเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนมากเท่านั้น ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการทำสัญญาประกันชีวิตตามกฎหมาย เมื่อสัญญาบริการที่จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายจำนวน 5,000,000 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขายในรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนตัวแทนและผู้บริหารงานขาย เป้าหมายผลงานประจำปี ระยะเวลาในการคำนวณผลงาน ค่าตอบแทนเพิ่มเติมจะได้รับภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าว รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรณีที่ตัวแทน และผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายผลงานที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาบริการ สอดคล้องกับที่ ศ. ผู้จัดการอาวุโสแผนกปฏิบัติการตัวแทน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลบริหารงานตัวแทนของโจทก์เบิกความว่า ตามสัญญาบริการ โจทก์จะให้เงินค่าตอบแทนจำเลยเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยสามารถทำผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในสัญญา หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด โจทก์ก็จะคำนวณให้ผลตอบแทนตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา และจำเลยที่ 1 จะต้องคืนผลตอบแทนบางส่วนที่ได้รับล่วงหน้าไปแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 จะต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาบริการ จึงเป็นสัญญาที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามสัญญาดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์หาอาจจะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 411 จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าและเงื่อนไขคืนเงิน ถือเป็นสัญญาต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขาย รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดในกรณีที่ตัวแทนและผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างๆ ที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามสัญญาบริการเอกสารหมาย จ.4 จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 ต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าว สัญญาบริการเอกสารหมาย จ.4 จึงเป็นสัญญาต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) ที่ห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอันใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงหาเรียกคืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13083/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการประกันชีวิตขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต การจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังกล่าวต่อไปนี้... (7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท" และมาตรา 93 บัญญัติว่า "บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่" การที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้สรรหาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนหาลูกค้า และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานขายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 ไปก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขาดข้อต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ และความประมาทเลินเล่อของจำเลยในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาบริการโทรศัพท์แสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่มีผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะต้องมีการตรวจสอบชื่อและหลักฐานของผู้ขอใช้บริการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสถานที่ติดตั้ง ดังที่มีการระบุรายการเช่นนั้นไว้ในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์เป็นเหตุให้มีการอนุมัติให้ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
ตามสัญญาบริการโทรศัพท์แสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่มีผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะต้องมีการตรวจสอบชื่อและหลักฐานของผู้ขอใช้บริการ เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสถานที่ติดตั้ง ดังที่มีการระบุรายการเช่นนั้นไว้ในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญาบริการโทรศัพท์เป็นเหตุให้มีการอนุมัติให้ใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13993/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนตามสัญญาบริการในต่างประเทศ มิใช่ค่าสิทธิแฝง การประเมินภาษีไม่ชอบ
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับจะเป็นเงินได้ประเภทใดต้องพิจารณานิติกรรมที่เป็นฐานในการก่อให้เกิดเงินได้นั้น และลักษณะเนื้อหางานที่ทำกันจริง ๆ ประกอบกัน โจทก์นำสืบให้เห็นถึงลักษณะงานที่บริษัทผู้รับจ้างปฏิบัติตามสัญญาเป็นเรื่องของการจัดซื้อ จัดจ้างวางโครงสร้างทางการเงิน แสวงหาแหล่งเงินกู้ การทำตลาดในต่างประเทศ พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่า ค่าตอบแทนการให้บริการของบริษัทผู้รับจ้างเป็นกำไรจากธุรกิจ มิใช่ค่าสิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (3) เมื่อโจทก์จ่ายเงินได้ดังกล่าวออกไปให้บริษัทผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จึงไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70