พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุด
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด นัดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยนำค่าปรับจำนวน 106,000 บาท มาชำระแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์เป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับจำนวน 106,000 บาท ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงิน ดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 106,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความ สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว
ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว การชำระต้นเงินไม่สะดุดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529 โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2535 จำเลยชำระค่าปรับ 106,000บาท แก่โจทก์ ส่วนดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดสัญญาประกันไม่ได้ชำระแต่ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากค่าปรับที่เป็นต้นเงินจึงเป็นหนี้คนละส่วน การที่จำเลยชำระต้นเงินแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เมื่อดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน2530 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ยผิดสัญญาประกันตัว การชำระหนี้ต้นเงินไม่ทำให้หนี้ดอกเบี้ยขาดอายุความ
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2529โจทก์จึงมีคำสั่งปรับจำเลย ต่อมาจำเลยนำค่าปรับมาชำระแก่โจทก์ในวันที่ 22 มิถุนายน 2535 แต่ไม่ชำระดอกเบี้ยของค่าปรับในช่วงระหว่างผิดสัญญาจนถึงวันชำระค่าปรับ ดังนี้ดอกเบี้ยตามฟ้องเป็นจำนวนเงินที่แยกออกจากต้นเงินค่าเบี้ยปรับ ดอกเบี้ยจึงเป็นหนี้คนละส่วนกับต้นเงินดังนั้น การที่จำเลยชำระต้นเงินให้แก่โจทก์จึงมิใช่การชำระหนี้บางส่วนที่จะถือว่าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาประกันเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2529 ถึง 22 มิถุนายน2535 ซึ่งนับถึงวันฟ้องเลยกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7469/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผัดส่งตัวจำเลยตามสัญญาประกัน: พฤติการณ์พิเศษและการปฏิบัติตามกำหนด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ประกันผัดส่งตัวจำเลยตามคำร้องและมีคำสั่งให้ผู้ประกันส่งตัวจำเลยต่อศาลภายในกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกันเมื่อ ป.วิ.อ.มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 23 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 โดยต้องพิจารณาว่าการที่ผู้ประกันขอผัดส่งตัวจำเลยอันมีผลเช่นเดียวกับการขอขยายระยะเวลาต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นเรื่องที่มีพฤติการณ์พิเศษหรือไม่
ปู่ของจำเลยถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นหลานชายคนโตต้องอยู่ร่วมประกอบพิธีทางศาสนาจนกว่าจะออกทุกข์ ผู้ประกันจึงไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลได้นั้น เป็นเพียงเหตุผลทั่วไป หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลไม่ นอกจากนี้ผู้ประกันยังมิได้ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามสัญญาประกัน ทั้งที่ล่วงเลยกำหนดออกทุกข์ไปนานแล้ว เหตุผลที่ผู้ประกันยกขึ้นอ้างในคำร้องขอผัดส่งตัวจำเลยไม่ต้องด้วยเหตุตามกฎหมายที่จะอนุญาตได้
ปู่ของจำเลยถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นหลานชายคนโตต้องอยู่ร่วมประกอบพิธีทางศาสนาจนกว่าจะออกทุกข์ ผู้ประกันจึงไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลได้นั้น เป็นเพียงเหตุผลทั่วไป หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลไม่ นอกจากนี้ผู้ประกันยังมิได้ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามสัญญาประกัน ทั้งที่ล่วงเลยกำหนดออกทุกข์ไปนานแล้ว เหตุผลที่ผู้ประกันยกขึ้นอ้างในคำร้องขอผัดส่งตัวจำเลยไม่ต้องด้วยเหตุตามกฎหมายที่จะอนุญาตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แก้ไขคำสั่งปรับตามสัญญาประกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ผู้ประกันได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ขอให้ลดค่าปรับ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้ว พิพากษาให้ลดค่าปรับผู้ประกัน ดังนั้น คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8จึงถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งปรับผู้ประกันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน การนับระยะเวลาอุทธรณ์ และการลดค่าปรับ
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้ว แต่ในวันนัดพร้อมผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยเนื่องจากจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลยอีก 1 เดือน ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผู้ประกันติดตามจำเลย ศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกัน และเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดตามจำเลยมาส่งศาลได้ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน แม้ในวันนัดพร้อมนัดต่อมา ผู้ประกันยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้ และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นนัดสุดท้ายนั้นผู้ประกันก็มาศาลแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีก ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการส่งตัวจำเลย ให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน และให้จำหน่ายคดีชั่วคราว เห็นได้ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 มีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันจำนวน 1,000,000 บาท ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง การที่ผู้ประกันอุทธรณ์ว่าหลังจากศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541แล้วผู้ประกันได้ประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจให้จับกุมจำเลยในทันทีที่จำเลยเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ขอให้แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นลดค่าปรับลงด้วยถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ทั้งการขอลดค่าปรับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ขอลดค่าปรับจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นก่อน เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตัว: กำหนดเวลาอุทธรณ์นับจากคำสั่งล่าสุดที่บังคับใช้จริง
แม้ผู้ประกันจะผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้วแต่ในวันนัดพร้อมต่อมาผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยและศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาต ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาดังกล่าวศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันและเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดต่อตามจำเลยมาส่งศาลได้ ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นนัดสุดท้าย ผู้ประกันก็ยังมิได้ชำระค่าปรับแต่มาแถลงต่อศาลขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีกซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน คำสั่งดังกล่าวมีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง ดังนั้น การอุทธรณ์ของผู้ประกันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาสิ้นสุดคดีผิดสัญญาประกัน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันผู้ประกันนำตัวจำเลยมาส่งศาลและยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นนัดไต่สวน ถึงวันนัดผู้ประกันไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้ประกันไม่ติดใจขอลดค่าปรับและจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเข้ามาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ผู้ประกันจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไปอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน?
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดย ผู้ประกันทุกคนรวมกันยื่นมา และที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อย จำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกัน หลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวน เพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลย ชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกัน ในวงเงิน 500,000 บาท ทั้งในสัญญาประกันข้อ 6 ก็มีข้อความ ระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ดังนั้น ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม