คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่า: สิทธิในการขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวเมื่อคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม
คดีก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมโดยตกลงหย่าขาดและแบ่งทรัพย์สิน แต่จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วนสถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีผลตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการที่ดินสินสมรสชอบที่โจทก์จะขอเช่นนั้นได้ จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: สัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถูกต้องก่อนจึงมีผล
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9086/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหยุดงานชั่วคราวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก โดยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการว่า หากมีกรณีพิพาทให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้ตกลงตามสัญญาหยุดงานชั่วคราว ให้โจทก์ทั้งสองหยุดงานไว้ก่อนเพราะภาวะเศรษฐกิจด้านการเงินที่จำเลยประสบอยู่ จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสองให้ครบถ้วนตามกำหนดได้ เจตนารมณ์ของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ทำสัญญาหยุดงานก่อสร้างไว้ชั่วคราว ทั้งสองฝ่ายยังมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลักต่อกันอยู่ สัญญาหยุดงานชั่วคราวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ผิดสัญญาตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาหยุดงานชั่วคราว โจทก์ทั้งสองจึงต้องนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยก่อน ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีต่อบริวารจำเลยหลังสัญญาประนีประนอม และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ตามสัญญายอมระหว่างโจทก์กับจำเลยมีใจความสำคัญว่า จำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินที่เช่าและส่งมอบที่ดินคืนแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ดังนี้ เมื่อล่วงพ้นเวลาดังกล่าวและยังมีผู้อาศัยในสิ่งปลูกสร้างใน ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่ขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวในฐานะบริวารของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญายอมอีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จะจำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีในคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ที่จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องที่ 1 กับพวก และบุคคลอื่นให้ออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็คือศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน จึงชอบที่โจทก์จะขอออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 กับพวก ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีกับบริวารจำเลยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนเพื่อยืนยันสถานะบริวาร
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้มีใจความว่าจำเลยยอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นของโจทก์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และจำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปและส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ภายในกำหนดดังนี้ เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังมีผู้อยู่อาศัยในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในฐานะบริวารของจำเลยได้ตามสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกข้อหนึ่งที่อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ในอีกทางหนึ่งที่โจทก์อาจเลือกใช้ได้ แต่ไม่จำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอบังคับคดีในคดีนี้เมื่อมีผู้ร้องหลายรายยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดี เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ก็คือ ศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน ทั้งมิใช่การขอบังคับคดีในคดีอีก 3 สำนวนดังกล่าว การที่จะให้ผู้ร้องทุกรายไปยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษในคดีอีก 3 สำนวน โดยที่ยังมิได้มีการออกหมายบังคับคดีในคดีเหล่านั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมซ้ำไม่ได้
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ให้การว่าจำเลยที่ 3มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยจำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในอีกคดีหนึ่ง โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345-6346/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินสิ้นสุดลงเนื่องจากโจทก์ไม่ฟ้องแย่งการครอบครองภายใน 1 ปี ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนพนักงานอัยการได้ฟ้องขอให้ลงโทษ ช. สามีจำเลย ข้อหาบุกรุกที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ช. และจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2528 หรือก่อนปี 2528 อันเป็นการบุกรุกแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ ช. บุกรุก เข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองและสิทธิครอบครองของโจทก์ก่อนสิ้นสุดลง ที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะทายาทของ ช. ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ช. และให้ขับไล่จำเลย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ในการวินิจฉัยคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ว่าสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว คำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ช. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทายาทของ ช. ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีมาก่อนที่ศาลในคดีส่วนอาญาได้พิพากษาไปแล้ว และให้ขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยการแก้ไขข้อสัญญาหลังมีคำพิพากษาทำไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความแห่งข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีข้อความว่าจำเลยทั้งสองสัญญาว่าจะชำระเงินภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป และสัญญาข้อ 2.1 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้ว แต่ไม่เกิน 1 ปีดังกล่าวในข้อ 2 เห็นได้ว่า ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีความหมายชัดเจนแปลความได้โดยนัยเดียวว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญา ข้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้ขัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมฯ ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (ในคดีที่ร้องนี้) จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวสำหรับกรณีที่เจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 นั้น หมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้รวมทั้งเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าว
of 51