คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเบิกความเท็จ, การจัดการทรัพย์มรดก, หนี้สินมรดก, การยักยอกทรัพย์, สัญญาผูกพันก่อนเสียชีวิต
การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนนำมาเบิกความนั้นเป็นความเท็จจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกและเบิกความตามคำร้องนั้นโดยเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่ดินและความเห็นของทนายความโดยไม่มีเจตนาที่จะเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ กองมรดกยังมีหนี้สินตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1736ต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งมีสาระสำคัญว่าตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทมิได้ที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์จะฟังว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไม่ได้การที่จำเลยแบ่งขายที่ดินมรดกก็เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ก่อนตายกับผู้ซื้อถือไม่ได้ว่าเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอซื้อ/แลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน: สัญญาผูกพันเมื่อตอบรับ แม้มีข้อจำกัดในประกาศ
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศ เป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้ และขอให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ พร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้น ถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้ขายต่อให้ผู้อื่น แต่ยังผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทง. โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์คันที่เช่าซื้อ และเมื่อได้ใช้เงินครบถ้วนแล้วรถยนต์นั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ หรือหากเกิดสัญญาเช่าซื้อกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิมโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อมา แม้ในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้ออยู่นั้นโจทก์ได้ขายและส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อมาให้แก่ ส. โดยมีข้อตกลงให้ส. ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือแทนโจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ส.แต่บริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อก็มิได้ตกลงด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับบริษัทง.ผู้ให้เช่าซื้ออยู่ และยังคงเป็นความผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะที่เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดในรถยนต์คันที่เช่าซื้อต่อบริษัทง. ตามสัญญาเช่าซื้อและตามกฎหมายลักษณะเช่าซื้อ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งเอาประกันวินาศภัยไว้แก่จำเลยสัญญา ประกันภัยย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้าง: ตัวแทนทำสัญญาผูกพันนายจ้าง แม้จะไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แต่โจทก์นำสืบได้ความว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของจำเลยที่1ทำสัญญาแทนจำเลยที่1ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่เป็นเรื่องนอกคำฟ้องของโจทก์เพราะเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นพิพาทแห่งคดีเนื่องจากในการติดต่อว่าจ้างทำของจำเลยที่1อาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีจำเลยที่2เป็นตัวแทนไปติดต่อทำสัญญากับโจทก์แทนก็ได้จำเลยที่1จะอ้างว่าจำเลยที่2ลงชื่อในสัญญาเป็นเรื่องส่วนตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบงานก่อสร้างเพิ่มเติมโดยปริยายและการเกิดสัญญาผูกพัน
แม้ในการก่อสร้างเพิ่มเติมไม่มีการตกลงกันไว้ว่าจะให้โจทก์ชำระเงินเมื่อใด แต่การที่โจทก์รับว่าจะชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมให้แก่จำเลยตามที่จำเลยทวงถาม โดยมิได้โต้แย้งอย่างใด ย่อมถือได้ว่าโจทก์รับมอบการก่อสร้างเพิ่มเติมส่วนที่จำเลยทำเสร็จแล้ว โจทก์จึงต้องชำระค่าก่อสร้างเพิ่มเติมแก่จำเลยเมื่อโจทก์ไม่ชำระ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อช่วงและการโอนกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์ขณะทำสัญญา แต่บริษัทเจ้าของยินยอมและจำเลยรับทราบ ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากบริษัทท.แล้วจำเลยเช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากโจทก์ แม้ในขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันที่ให้เช่าซื้อก็ตาม แต่บริษัท ท. ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อช่วงได้ และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน ให้แก่จำเลยได้ หากจำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาโดยมิได้โต้แย้งในเรื่องนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ทุนการศึกษาต่างประเทศ: สัญญาผูกพันเมื่อรับราชการชดใช้ทุน และการปลดหนี้เมื่อปฏิบัติครบสัญญา
การที่ พ.ข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ ได้รับทุนให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศตามความต้องการของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และหลังจากจบการศึกษาแล้ว กรมวิชาการได้ขอโอน พ.จากกรมโจทก์ไปรับราชการที่กรมวิชาการเพื่อชดใช้ทุนดังกล่าวจนกระทั่งครบตามสัญญา และอนุญาตให้ พ. ลาออกจากราชการนั้น เป็นการจัดให้ พ.เข้ารับราชการชดใช้ทุนสำหรับการลาศึกษาต่อต่างประเทศโดย-เฉพาะแล้ว และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ พ.ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เข้ารับราชการชดใช้ทุนโดยระบุว่าเป็นการชดใช้ทุนสำหรับการลาศึกษาต่อต่างประเทศอันจะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องให้หนี้รายนี้เป็นอันได้เปลื้องไป เมื่อปรากฏว่า พ.ได้ปฏิบัติราชการที่กรมวิชาการชดใช้ทุนครบตามสัญญาดังกล่าวแล้ว พ.จึงไม่ผิดสัญญาศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อ พ.ไม่ผิดสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 203,030.20 บาทกับอีก 14,513.35 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยจึงมีจำนวนเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงทำเหมือง: สัญญาผูกพันจนกว่ารัฐมนตรีไม่อนุญาต และอายุความฟ้องละเมิดสัญญา
ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาท สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันการรับราชการหลังศึกษาต่อ: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไม่ครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี 4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215ประกอบมาตรา 222 วรรคหนึ่ง, มาตรา 368
หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการศึกษาต่อต่างประเทศ แม้ทุนไม่ผ่านโจทก์ ก็ผูกพันจำเลยหากมีเจตนาให้กลับมาใช้ทุน
แม้มูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ทุนการศึกษาแก่จำเลยที่ 1โดยไม่ผ่านโจทก์และเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันใด ๆรวมทั้งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของมูลนิธิที่จะให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนเป็นเวลา 2 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ เนื่องจากขณะที่จำเลยที่ 1 ขออนุมัติลาไปศึกษา ต่อนั้นจำเลยที่ 1 ยังรับราชการในสังกัดโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนในระหว่าง ที่ลานั้น ก็ด้วยความประสงค์ของโจทก์ที่ว่า ต้องการให้จำเลยที่ 1กลับมาปฏิบัติราชการในสังกัดเดิมภายหลังเสร็จสิ้นการศึกษาแล้วหาเกี่ยวข้องกับมูลนิธิแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาได้รับทุนศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาดังกล่าวนี้เงินทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเดินทางที่จ่ายให้อันเนื่องจากการศึกษาต่อนั้นไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การใด ก็รวมอยู่ในความหมายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนโจทก์ ฐานะเป็นค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงเงินทุน และค่าใช้จ่าย ๆ รวมตลอดทั้งค่าเดินทางที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในการลาศึกษาต่อนั้น หามีข้อยกเว้นในสัญญา ว่าให้ใช้เฉพาะกับผู้รับทุนซึ่งผ่านรัฐบาลไทยหรือโจทก์เท่านั่น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นเป็นข้อตกลง อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นที่ประจักษ์ ว่าเพื่อต้องการให้จำเลยที่ 1 กลับมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่สถาบันและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นการชอบธรรม และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวจึงมีมูลหนี้ต่อกันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ปฏิบัติราชการครบกำหนดตามสัญญา จึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชอบค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ตามสัญญาเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เป็นหลัก และสัญญาเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์จึงเป็นที่เข้าใจได้อยู่ในตัวว่า หาใช่ทุนของโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง อันเป็นเหตุให้ยกฟ้อง จำเลยฎีกาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเหรียญสหรัฐเมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6