พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะคล้ายสัญญาฝากทรัพย์ ความรับผิดชอบต่อความเสียหาย/สูญหายของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉางหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน2เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้างมีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนเข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาฝากทรัพย์/เช่าทรัพย์: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อมีการแจ้งหนี้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรับฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไปไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ทั้งการฟ้องให้ชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรบฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไปไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่) วันที่27กรกฎาคม2525โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบจำนวนน้ำหนักข้าวเปลือกแต่ละชนิดที่จำเลยรับฝากไว้ได้สูญหายไปจากการรับฝากของจำเลยและให้จำเลยชดใช้ราคาแทนนั้นถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แล้วอายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่31พฤษภาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์: กำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สัญญาเช่าฉางระหว่างโจทก์กับจำเลย นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกตามชนิดจำนวน น้ำหนัก มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบและชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มี กฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การคิดอายุความตามมาตรา 164 เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
สัญญาเช่าฉาง เอกชน นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายหากเกิดความเสียหายหรือสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ด้วย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์เมื่อทรัพย์ที่ฝากสูญหายจึงต้องใช้ราคาแทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (กฎหมายใหม่ 193/30)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน อายุความ 10 ปี
เมื่อไม้กองอยู่ริมทางเดินห่างจากบ้านของจำเลยประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน และตามสัญญาผู้ว่าจ้างอาจมาขนไม้จากที่เดิมไปเมื่อใดก็ได้เพียงแต่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังคงอยู่แก่ผู้ว่าจ้างมิได้ส่งมอบให้แก่ผู้รับจ้างผู้รับจ้างคงมีหน้าที่เพียงเฝ้ามิให้ไม้สูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อกฎหมายลักษณะจ้างแรงงานมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางตามบัญชีท้ายสัญญาโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายลูกบาศก์เมตร นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะรับไม้คืน หากขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างให้ผู้ว่าจ้างปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตรตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษาไม้ผู้ว่าจ้างอาจขนไม้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ที่ขนไปนั้นทุกคราวไป หลังจากทำสัญญาแล้วไม้ของกลางอยู่ห่างจากบ้านผู้รับจ้างประมาณ 2 กิโลเมตร โดยกองอยู่ริมทางเดินในหมู่บ้านผู้รับจ้างมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตนแต่ประการใดดังนี้ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง มิได้ส่งมอบไม้ให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เฝ้ารักษามิให้ไม้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512และ 1020/2519) สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ ค่าเสียหายมีเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดจึงเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งให้บริบูรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถในปั๊มน้ำมันและการไม่ถือเป็นสัญญาฝากทรัพย์ เนื่องจากผู้จอดรถยังคงครอบครองกุญแจเอง
จำเลยยินยอมให้ลูกค้านำรถยนต์มาจอดในบริเวณที่ว่างในสถานีบริการน้ำมันทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นการชั่วคราว ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้านำรถยนต์ออกไปจากที่จอดหลังเวลา6 นาฬิกา จะต้องเสียเงินคันละ 10 บาท การนำรถยนต์มาจอดหรือเอาออกไปไม่ต้องบอกใคร กรณีมีการเก็บเงินพนักงานของจำเลยจะมาเก็บ เมื่อ ส. นำรถยนต์มาจอด ล็อกประตูแล้วเก็บกุญแจไว้เองมิได้ส่งมอบให้พนักงานของจำเลย การครอบครองรถยนต์ระหว่างที่จอดยังอยู่ในความครอบครองของ ส. แม้จะมีการเก็บเงินค่าจอดหรือค่าบริการก็ไม่เป็นการฝากทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ต้องมีการส่งมอบทรัพย์และตกลงรับฝาก หากไม่มีการส่งมอบ ไม่ถือเป็นผู้รับฝาก
สัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่