คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญายอมความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินก่อนสัญญาประนีประนอม: สิทธิผู้ซื้อเดิมดีกว่าผู้รับโอนจากสัญญายอมความ
การที่จำเลยที่ 1-2 ซึ่งเป็นสามีภริยากัน ยินยอมทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้แล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 1-2 กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ถึง 5 บุตรของตนเสีย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1-2 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 1-2 ไว้ก่อนที่จะได้มีการทำสัญญายอมความนั้น จึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับโอนที่พิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3 ถึง 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความและการบังคับตามสัญญา: กรณีใหม่ไม่ผูกพันสัญญาเดิม
โจทก์จำเลยทำยอมความกันว่าให้ถือตรอกทางเดินที่พิพาทกันเป็นทางสาธารณ และจำเลยยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป ศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยปฏิบัติตามยอมแล้ว ต่อมาโจทก์กลับปลูกสร้างขึ้นบนทางเดินนั้น ดังนี้จำเลยจะมาร้องขอในคดีเดิมในบังคับโจทก์รื้อไม่ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่กรณีตามยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความระงับข้อพิพาทแล้ว ไม่อาจนำข้อพิพาทเดิมมาโต้แย้งได้อีก และศาลไม่บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหากไม่มีการขอไว้
ในคดีก่อน โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินแปลงพิพาท และจำเลยยอมรับว่า ได้อาศัยอยู่ในที่ดินนี้ตอนเหนือจนกว่า โจทก์จำเลยจะได้ทำการแบ่งที่ดินกัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินรายนี้ในคดีหลัง จำเลยจะอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทตอนเหนือโดยปรปักษ์จะได้กรรมสิทธิ์แล้ว และจะขอนำพยานสืบประกอบในข้อนี้หาได้ไม่เพราะข้อพิพาทอันนี้ได้ระงับไปโดยสัญญายอมในคดีก่อนแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและห้องแถว ในคำขอท้ายฟ้องมีว่า ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งแยกกันได้ ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง โดยโจทก์ตีราคาที่ดินและห้องแถวส่วนที่ขอแบ่งมาในฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้คดีและจำเลยเสนอมาในคำให้การด้วยว่า เพื่อตัดความยุ่งยาก จำเลยยอมให้เงิน 20,000 บาท แก่โจทก์ เท่าที่โจทก์ตีราคามาในฟ้องแทนการต้องแบ่งที่รายนี้ เมื่อโจทก์ไม่ยอมตกลงด้วย ข้อเสนอของจำเลยนี้จึงเท่ากับเสนอขอซื้อที่ส่วนได้ของโจทก์ด้วยราคา 30,000 บาท นั่นเอง เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมด้วยและตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ชดใช้เงินทำนองนั้นด้วย แม้จะเป็นที่เห็นอยู่ว่า จำเลยอาจต้องเสียหายและเดือดร้อนเพราะการแบ่งแยกก็จริง ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะพึงบังคับให้ได้ตามข้อเสนอของจำเลย อนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ตั้งเป็นประเด็นไว้ด้วยว่า เพื่อมิให้เสียหายและเดือดร้อนแก่จำเลยควรแบ่งกันอย่างไร โดยทดแทนเงินกันเพียงใด จึงจะสมควรตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1364 จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความระงับข้อพิพาทแล้วย่อมเป็นยุติ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเจตนาในคดีหลัง ศาลไม่อาจบังคับให้ชดใช้เงินตามข้อเสนอ
ในคดีก่อน โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันในที่ดินแปลงพิพาทและจำเลยยอมรับว่า ได้อาศัยอยู่ในที่ดินนี้ตอนเหนือจนกว่าโจทก์จำเลยจะได้ทำการแบ่งที่ดินกันศาลพิพากษาตามยอม เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินรายนี้ในคดีหลัง จำเลยจะอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทตอนเหนือโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้วและจะขอนำพยานสืบประกอบในข้อนี้หาได้ไม่เพราะข้อพิพาทอันนี้ได้ระงับไปโดยสัญญายอมในคดีก่อนแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและห้องแถว ในคำขอท้ายฟ้องมีว่าถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งแยกกันได้ ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันคนละครึ่งโดยโจทก์ตีราคาที่ดินและห้องแถวส่วนที่ขอแบ่งมาในฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้คดีและจำเลยเสนอมาในคำให้การด้วยว่าเพื่อตัดความยุ่งยาก จำเลยยอมให้เงิน 30,000 บาท แก่โจทก์ เท่าที่โจทก์ตีราคามาในฟ้องแทนการต้องแบ่งที่รายนี้เมื่อโจทก์ไม่ยอมตกลงด้วยข้อเสนอของจำเลยนี้จึงเท่ากับเสนอขอซื้อที่ส่วนได้ของโจทก์ด้วยราคา30,000 บาทนั่นเองเมื่อโจทก์ไม่ยินยอมด้วยและตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้ชดใช้เงินทำนองนั้นด้วย แม้จะเป็นที่เห็นอยู่ว่าจำเลยอาจต้องเสียหายและเดือดร้อนเพราะการแบ่งแยกก็จริงก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะพึงบังคับให้ได้ตามข้อเสนอของจำเลยอนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ตั้งเป็นประเด็นไว้ด้วยว่าเพื่อมิให้เสียหายและเดือดร้อนแก่จำเลยควรแบ่งกันอย่างไรโดยทดแทนเงินกันเพียงใดจึงจะสมควรตามนัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1364 จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919-920/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ฟ้องซ้ำเมื่อมีสิทธิจากสัญญาเดิมแล้วย่อมไม่ได้
ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แล้วผู้ซื้อเข้าไปปลูกเรือนลงในที่ดินนั้น ต่อมาเจ้าของที่ดินนำที่ดินและเรือนไปขายฝากผู้อื่น ผู้ซื้อที่ดินจึงมาฟ้องผู้ขายและผู้รับซื้อฝากขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ในที่สุดยอมความกัน โดยให้ผู้ขายทำการไถ่ถอนที่ดินและเรือนคืนเพื่อไปโอนขายให้แก่ผู้ซื้อที่ดิน ดังนี้ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องเดิมสิ้นไป คงได้สิทธิตามสัญญายอมความและเป็นการรับรองการขายฝากนั้นเมื่อครบกำหนด ผู้ขายไม่ไถ่และผู้ซื้อที่ดินไม่เข้าสรวมสิทธิ ที่ดินและเรือนจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝาก และกรณีเช่นนี้ผู้ซื้อที่ดินจะมาฟ้องเรียกค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ ทั้งจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919-920/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความระงับสิทธิเดิม ฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษาตามยอม
ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แล้วผู้ซื้อเข้าไปปลูกเรือนลงในที่ดินนั้น ต่อมาเจ้าของที่ดินนำที่ดินและเรือนไปขายฝากผู้อื่น ผู้ซื้อที่ดินจึงมาฟ้องผู้ขายและผู้รับซื้อฝากขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝาก ในที่สุดยอมความกันโดยให้ผู้ขายทำการไถ่ถอนที่ดินและเรือนคืน เพื่อไปโอนขายให้แก่ผู้ซื้อที่ดินดังนี้ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องเดิมสิ้นไป คงได้สิทธิตามสัญญายอมความและเป็นการรับรองการขายฝากนั้น เมื่อครบกำหนด ผู้ขายไม่ไถ่และผู้ซื้อที่ดินไม่เข้าสวมสิทธิ ที่ดินและเรือนจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝาก และกรณีเช่นนี้ผู้ซื้อที่ดินจะมาฟ้องเรียกค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ ทั้งจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับตามสัญญายอมความหลังมรณะ คดีนี้มิใช่การฟ้องมรดกจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี
คดีเดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์แทนผู้ร้องฟ้องจำเลยผู้เป็นบิดาของผู้ร้อง ที่สุดจำเลยกับผู้ร้องทำสัญญายอมความกัน ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ถ้าหากจำเลยตาย จะจัดการแบ่งที่ดินพร้อมด้วยเรือนให้
ต่อมาจำเลยตาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้แบ่งแยกที่ดินและเรือนตามสัญญายอมซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว
คำร้องในชั้นนี้ไม่ใช่เรื่องฟ้องคดีมรดก จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับตามสัญญายอมความหลังมรณะ ไม่ใช่คดีมรดก
คดีเดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์แทนผู้ร้องฟ้องจำเลยผู้เป็นบิดาของผู้ร้อง ที่สุดจำเลยกับผู้ร้องทำสัญญายอมความกันใจความสำคัญตอนหนึ่งว่าถ้าหากจำเลยตายจะจัดการแบ่งที่ดินพร้อมด้วยเรือนให้
ต่อมาจำเลยตาย ผู้ร้องจึงร้องขอให้แบ่งแยกที่ดินและเรือนตามสัญญายอมซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วคำร้องในชั้นนี้ไม่ใช่เรื่องฟ้องคดีมรดก จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความรื้ออาคารไม่ผูกพันผู้เช่าที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่เจ้าของที่ดินและอาคารได้รับคำสั่งจากเทศบาลให้รื้อและเลิกใช้อาคาร และอัยการได้ฟ้องเจ้าของที่ดินเป็นคดีให้รื้อและเลิกใช้อาคาร เจ้าของที่ดินทำยอมไว้ต่อศาลว่า ตนและบุคคลที่ได้รับสิทธิจากตนยอมรื้อและยอมเลิกใช้อาคาร ดังนี้สัญญายอมความนี้ไม่ผูกพันผู้เช่าอาคารอยู่อาศัย ผู้เช่าอาคารอยู่อาศัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ เป็นปกติ แต่ถ้าอาคารหมดอายุจะเป็นภัย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจตามพ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญายอมความรื้ออาคาร: ไม่ผูกพันผู้เช่า, คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า, เจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจตามกฎหมาย
การที่เจ้าของที่ดินและอาคารได้รับคำสั่งจากเทศบาลให้รื้อและเลิกใช้อาคาร และอัยการได้ฟ้องเจ้าของที่ดินเป็นคดีให้รื้อและเลิกใช้อาคาร เจ้าของที่ดินจึงทำยอมไว้ต่อศาลว่า ตนและบุคคลที่ได้รับสิทธิจากตนยอมรื้อและยอมเลิกใช้อาคาร ดังนี้ สัญญายอมความนี้ไม่ผูกพันผู้เช่าอาคารอยู่อาศัย ผู้เช่าอาคารอยู่อาศัยยังคงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯเป็นปกติ แต่ถ้าอาคารหมดอายุจะเป็นภัย เจ้าหน้าที่ก็ยังมีอำนาจตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5-6/96)
of 5