พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นและการไม่จดทะเบียนสมรส: จำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ พิจารณาจากพฤติการณ์และเจตนาของคู่สมรส
การที่โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะไม่ปรากฏว่าได้พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่กับโจทก์เพียงคืนเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อ้างว่าเหนื่อยขอผัดเป็นวันรุ่งขึ้นครั้นวันรุ่งขึ้นโจทก์ต้องช่วยนำสิ่งของที่ใช้ในงานแต่งงานส่งคืนเจ้าของ ไม่มีเวลาว่าง จึงให้จำเลยที่ 1 นำชุดสากลไปคืนที่ร้านในเมือง จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่กินกับโจทก์อีกโดยไม่ปรากฏสาเหตุโจทก์ได้ออกตามหาตลอดมา แต่ไม่พบจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 เคยแสดงท่าทีไม่อยากกลับไปแต่งงานกับโจทก์พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาหมั้นจากเหตุผลที่ไม่สมเหตุผล จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันคืนของหมั้น
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์
จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาหมั้น: จำเลยมีหน้าที่คืนของหมั้น แม้จะมอบให้จำเลยอื่น และไม่มีเหตุฟังได้ว่าโจทก์มีสติไม่บริบูรณ์
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด: เหตุผลเรื่องสติสัมปชัญญะไม่พอฟัง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากฝ่ายหนึ่งประพฤติเสื่อมเสียมีภรรยาอื่น สิทธิในการคืนของหมั้น
โจทก์ได้หญิงรับใช้ในบ้านโจทก์เป็นภริยามาเป็นเวลานาน ถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาอยู่ จึงมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่โจทก์ทำให้จำเลยซึ่งเป็นคู่หมั้น ของโจทก์ไม่สมควรสมรสกับโจทก์ จำเลยมิใช่เป็นฝ่ายผิด สัญญาหมั้น จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาหมั้น, การคืนของหมั้นสินสอด, ค่าใช้จ่ายเตรียมสมรส, หักกลบลบหนี้, ความเสียหายจากสัญญา
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกร้องของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส
เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจากแต่งงานแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย
หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่ จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้
หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน
เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจากแต่งงานแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย
หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่ จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้
หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด: การคืนของหมั้น สินสอด ค่าทดแทนความเสียหาย และการพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิง หลังจากแต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้ หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผิดสัญญาหมั้น: สิทธิเรียกคืนสินสอดของฝ่ายชาย
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี มิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี มิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีผิดสัญญาหมั้น: ผู้ให้สินสอดมีสิทธิเรียกร้องคืนได้แม้ไม่ใช่คู่หมั้นโดยตรง
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีมิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีมิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่สมรส: ต้องมีสัญญาหมั้นจึงจะฟ้องได้ตามกฎหมาย
เมื่อชายหญิงมิได้ทำการหมั้นต่อกัน ฝ่ายหญิงจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนต่อความเสียหายที่ได้รับ จากการที่ชายมิได้เข้าพิธีสมรสกับหญิงตามประเพณี เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 และ 1440 บัญญัติให้เรียกค่าทดแทนจากฝ่ายผิดสัญญาได้เฉพาะที่มีสัญญาหมั้นต่อกันเท่านั้น