พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายอนุญาตระเบิดหินเป็นโมฆะ, เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่ เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลย ระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไป ดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไป ทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิด และย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิ ตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การออกเช็คพิพาท เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำ ของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และส่งผลถึงสัญญาขายฝากที่ทำภายหลัง
จำเลยที่ 1 กับพวกวางแผนทำทีติดต่อขอซื้อที่ดินจากโจทก์ แล้วขอยืมโฉนดที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเอาไปถ่ายเอกสารแล้วทำโฉนดที่ดินพิพาทปลอมขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง พร้อมทั้งหลอกโจทก์ให้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินและเอกสารต่าง ๆ นำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนามาแต่ต้นว่าจะซื้อที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ไปทำสัญญาขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม จึงต้องถือเสมือนว่ามิได้มีการซื้อขายกันเกิดขึ้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิม และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาขายฝากกับจำเลยที่ 2 ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาขายฝากนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2648/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งขัดแย้งกับคำให้การ: สัญญาโมฆะไม่อาจบังคับได้
จำเลยให้การว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ฉะนั้นที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินให้จำเลยตามสัญญาดังกล่าวจึงขัดกับคำให้การของจำเลย และหากจำเลยชนะคดีก็ไม่อาจบังคับตามคำขอได้ ถือได้ว่าฟ้องแย้งดังกล่าวไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ยินยอมให้กรอกข้อความเพิ่มเติม ถือเป็นเอกสารปลอมและทำให้สัญญาที่ทำขึ้นโดยอาศัยเอกสารนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์เพียงแต่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจเพียงชื่อเดียวโดยมิได้กรอกข้อความหรือยินยอมให้ผู้อื่นกรอกข้อความใดๆลงไปเมื่อมีการกรอกข้อความโดยที่มิได้รับความยินยอมจากโจทก์จึงเป็นการปลอมเอกสารหนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยใบมอบอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิมไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินหวงห้ามเป็นโมฆะ การคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราช-กฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโมฆะ: สิทธิเรียกร้องจากสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ล้วนมาจากเหตุที่จำเลยผิดสัญญาการร่วมจัดหางานที่ทำไว้กับโจทก์ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อสัญญาการร่วมจัดหางานดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ตามสัญญาดังกล่าวเพื่อบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจัดหางานโมฆะ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้เกิดความเสียหายจากสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ล้วนมาจากเหตุที่จำเลยผิดสัญญาการร่วมจัดหางานที่ทำไว้กับโจทก์ทั้งสิ้นดังนั้นเมื่อสัญญาการร่วมจัดหางานดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆตามสัญญาดังกล่าวเพื่อบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงเพื่อนำไปจำนอง สัญญาเป็นโมฆะและต้องคืนที่ดิน
การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ยืมที่ดินไปจำนองธนาคาร โดยจดทะเบียนโอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตกลงว่าเมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 จะโอนคืนโจทก์นั้น การโอนขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยเจตนาลวง ไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อให้จำเลย
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นที่ราชพัสดุและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำที่ดินพิพาทไปให้จำเลยเช่าซื้อ เพราะต้องห้ามมิให้โอนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เพราะมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย โจทก์จึงต้องคืนค่าเช่าซื้อให้จำเลยเพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ตามมาตรา 406 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินสัญญาโมฆะแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกมัดจำจากสัญญานั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.