คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาไม่เป็นโมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสวนยางเล็ก: สัญญาไม่เป็นโมฆะ, การครอบครองหลังหมดอายุ = เช่าต่อ, ฟ้องค่าเช่าค้างชำระได้เกิน 3 ปี
ทำสัญญาเช่าสวนยาว โดยผู้เช่ารู้ว่าต้นยางยังเล็กกรีดยางยังไม่ได้นั้น ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเช่าเป็นโมฆะทำสัญญาเช่าสวนกันเองมีกำหนด 1 ปี เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าถือว่าเช่ากันต่อไปตามสัญญาเดิม ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระมีจำนวนเกินกว่า 3 ปีได้ผู้ให้เช่าเรียกดอกเบี้ยในเงินค่าเช่าค้างชำระได้ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันผู้เช่าผิดสัญญาส่งค่าเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างทำไม้: อำนาจฟ้อง, สัญญาไม่เป็นโมฆะ, อายุความ 10 ปี
โจทก์ตั้งสิทธิฟ้องเรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องจากการที่จำเลยผิดสัญญาจ้างทำไม้ต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะต้องถูกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียกร้องค่าปรับ ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า ไม่ใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิที่โจทก์ต้องชำระค่าปรับก่อนแล้วจึงจะใช้สิทธิฟ้องบังคับเอาจากจำเลยได้ แม้ปรากฏว่าเคยมีมติคณะรัฐมนตรีไม่ให้หน่วยงานราชการฟ้องร้องกันก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการด้วยกันที่มีต่อกันระงับไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าปรับจากจำเลย
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยทำไม้โดยจำเลยผู้รับจ้างได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่โจทก์ผู้ว่าจ้างขายไม้ที่จำเลยทำได้นั้นให้จำเลยตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งถือเป็นสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการทำไม้แก่จำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ใช่การขาย ให้เช่า มอบให้หรือโอนไปด้วยประการใดๆ ซึ่งสิทธิอันได้มาตามสัมปทานให้แก่จำเลย ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่เป็นโมฆะ
สัญญาจ้างทำไม้ระบุว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากกรมป่าไม้ได้กำหนดจำนวนเงินเบี้ยปรับการทำผิดของผู้รับจ้างและได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าจ้างนำเงินเบี้ยปรับไปชำระ ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินเบี้ยปรับไปชำระแทนภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง โจทก์ได้รับแจ้งให้นำเงินค่าปรับไปชำระเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 โจทก์จึงอาจทวงถามให้จำเลยนำเงินค่าปรับไปชำระได้ในวันนั้น และจำเลยต้องนำเงินค่าปรับไปชำระภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2532 หากจำเลยไม่นำเงินค่าปรับไปชำระภายในกำหนด จึงจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญานับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดให้จำเลยต้องชำระซึ่งถือเป็นวันเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/13 เมื่อนับแต่วันเริ่มนับอายุความคือวันที่ 11 สิงหาคม 2532 ถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาไม่เป็นโมฆะหากผู้รับทราบแหล่งเงินช่วยเหลือและสิทธิอุทธรณ์
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคู่ฉบับจะมีข้อความว่า "1.ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมร่วมกันว่า โรงพยาบาล ฯ จ่ายเงิน จำนวน 280,000 บาท... ให้แก่ ศ. ผู้รับสัญญา เป็นค่าเยียวยาและมนุษยธรรม..." ซึ่งไม่ตรงตามข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อมารดาโจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 3 เขตนครราชสีมา เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และได้รับแจ้งผลการพิจารณารวมถึงสิทธิในการยื่นอุทธรณ์แล้ว ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนรับเงินจากจำเลยที่ 1 มารดาโจทก์ได้อ่านข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความ และลงชื่อโดยไม่มีการบังคับขู่เข็ญใด ๆ ทั้งเมื่อพิจารณาใบสำคัญรับเงินก็มีข้อความระบุว่าเงินที่โจทก์ได้รับเป็นเงินของจำเลยที่ 3 สอดคล้องกับสำเนาเช็คที่ระบุชื่อจำเลยที่ 3 และระบุว่าเป็นการจ่ายเงินตามมติประชุมอนุกรรมการ มาตรา 41 จำนวนเงินก็สอดคล้องกับที่มารดาโจทก์ได้รับแจ้ง ทั้งภาพถ่ายก็ปรากฏว่าผู้ที่ถือป้ายที่เหน็บเช็คไว้ด้านบนเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในป้ายมีข้อความว่า สปสช. มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรา 41 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า มารดาโจทก์ทราบดีว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่ 3 การที่ระบุข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโรงพยาบาลเป็นผู้จ่ายเงินจึงยังไม่อาจถือได้ว่าทำให้โจทก์เสียหาย เนื่องจากมารดาโจทก์ทราบถึงสิทธิของตนว่ายังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อขอเงินเพิ่มและใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับพวกในข้อหาละเมิดได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดเป็นอีกคดีหนึ่งก่อนฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 2