คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัตยาบัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: การให้สัตยาบันและการพิพากษาเพิกถอน
ก่อนมีการจดทะเบียนสมรสโจทก์ถูกจำเลยกับพวกใช้กำลังบังคับขู่เข็ญให้จำต้องนั่งรถยนต์ไปกับจำเลยจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีจำเลยกับพวกอย่างน้อย 2 คน คอยควบคุมตัวไว้มิให้หลบหนี ทั้งยังถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราระหว่างพักที่บ้านญาติจำเลยด้วย โจทก์ซึ่งเป็นหญิงคนเดียวอยู่ในกลุ่มพวกจำเลยย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้านจะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์ การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง ตามคำให้การจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้อย่างชัดแจ้งแต่อย่างใดเลยว่ามีการให้สัตยาบันการสมรสที่เป็นโมฆียะ จำเลยให้การเพียงว่ามีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บิดามารดาโจทก์ไปจำนวน 100,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ตลอดจนตัวโจทก์ยอมให้อภัยในการกระทำของจำเลย รวมทั้งยอมถอนแจ้งความที่แจ้งไว้ยังสถานีตำรวจต่าง ๆ เท่านั้น ฉะนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ให้สัตยาบันการสมรสที่เป็นโมฆียะนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประกันภัยไม่จดทะเบียน: สัญญาผูกพัน, มีมูลหนี้, สัตยาบัน, ข่มขู่ไม่มีผล
จำเลยที่ 1 หารถยนต์มาเอาประกันภัยกับโจทก์โดยได้รับบำเหน็จตอบแทนในอัตราร้อยละ 12 โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำกรมธรรม์ไปส่งให้แก่ลูกค้าและรับเบี้ยประกันภัยจากลูกค้ามามอบให้โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์แล้วแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอันมีผลให้การกระทำของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2534 มาตรา 31(13)และมาตรา 63 ก็ตามก็เป็นเรื่องที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการแก่โจทก์และจำเลยที่ 1แต่ในระหว่างตัวแทนกับตัวการด้วยกัน ตัวแทนจะอ้างบทกฎหมายดังกล่าวเพื่อไม่ต้องรับผิดคืนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับไว้จากลูกค้าของโจทก์หาได้ไม่ และการเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยหาใช่การที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่สัญญาตัวแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับผิดชำระเบี้ยประกันแทนลูกค้าให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับสำหรับกิจการที่ตัวแทนไปทำกับบุคคลภายนอกแทนตัวการเท่านั้น มิได้ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทระหว่างตัวการ กับตัวแทน จำเลยทั้งสองจึงอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมิได้และการที่โจทก์ขู่ว่าจะกลั่นแกล้งลูกค้าที่จำเลยที่ 1 หามาเพื่อบังคับให้จำเลยลงชื่อทำสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกันนั้น หาใช่การข่มขู่อันจะมีผลให้การแสดงเจตนาต้องเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 1ได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้อีกรายการหนึ่งตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้และค้ำประกัน ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่สมบูรณ์แล้วด้วย จำเลยทั้งสองจะอ้างข่มขู่ให้พ้นความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัตยาบันสัญญาโมฆียะ และการอนุญาตศาล
แม้ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตามแต่ในช่วงระยะเวลาที่ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นเป็นเวลาภายหลังที่ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ทั้งจ.ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขายแทนส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของจ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่ สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา: ความยินยอมทำนิติกรรมถือเป็นการให้สัตยาบันหนี้
หนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1สามีจำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส แม้หนี้ตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1และสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองจะเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่หนังสือให้ความยินยอมของจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือที่ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงินและจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภริยาในหนี้ค้ำประกัน: การสัตยาบันและหนี้ร่วม
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมคู่สมรส ถือเป็นการสัตยาบันหนี้ร่วมค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิ, การบอกล้าง/สัตยาบัน, และความรับผิดของคู่กรณี
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8338/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันการซื้อขายโดยการรับสินค้า และการยอมรับการมอบหมายให้สั่งซื้อสินค้า
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลานั้นสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยของทนายโจทก์คนเดิม โดยโจทก์มีแพทย์ ผู้ตรวจร่างกายทนายโจทก์คนเดิมเบิกความยืนยันโดยโจทก์ไม่จำต้องนำเอกสารประวัติคนไข้มาสืบประกอบและเมื่อศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานแล้ว เห็นว่าทนายโจทก์คนเดิมป่วยจริง ความบกพร่องไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และข้ออ้างของทนายโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานของ โจทก์ไว้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ทวิ วรรคสองซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดิน ของอาคารบ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างขึ้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัทม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ก.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน 200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ. เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการ ของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้ สัตยาบันแก่การนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบหลังจำเลยให้สัตยาบันต่อการบังคับคดีแล้ว ถือเป็นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่2ยื่นคำร้องอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและคำบังคับณภูมิลำเนาของจำเลยที่2กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลตามกฎหมายเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27แต่การเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองบังคับอยู่ในตัวว่าคู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้วจำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วขอให้ถอนการยึดและจำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาจำเลยที่2จึงยื่นคำแถลงนี้ถือได้ว่าก่อนยื่นคำแถลงจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ คำร้องขอของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังจำเลยชำระหนี้แล้ว และการให้สัตยาบันต่อการผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่2เพื่อบังคับชำระหนี้เมื่อจำเลยที่2อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะจำเลยที่2ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่2ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่แต่จำเลยที่2ก็หาได้กระทำไม่จำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่2ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วมีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์จำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบจึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาลและจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเนื่องจากจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ ตามคำร้องของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นดังนั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247
of 12