คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีภรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าต้องมีเหตุอันสมควร การละทิ้งร้างและตั้งเงื่อนไขที่ไม่ชอบธรรมไม่อาจเป็นเหตุหย่าได้
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลยแล้วย้ายออกจากบ้านจำเลยที่เคยอยู่กินร่วมกันมาแต่แรกเป็นเวลาถึง 8 ปีเศษ เป็นการที่โจทก์ละทิ้งร้างจำเลยไปเอง หากโจทก์ประสงค์จะคืนดีกับจำเลยก็ชอบที่จะกลับไปอยู่กับจำเลยที่บ้านจำเลย แต่โจทก์กลับตั้งเงื่อนไขให้จำเลยย้ายไปอยู่กับโจทก์ที่บ้านโจทก์ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่เคยอยู่ร่วมกันมาก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงอาศัยเหตุที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์มาเป็นเหตุฟ้องหย่า โดยอ้างว่าจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยามิได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่า: การละทิ้งร้างและการไม่ขวนขวายหาที่อยู่ร่วมกัน ไม่ถือเป็นการจงใจละทิ้ง
จำเลยเคยขอให้โจทก์หาที่พักต่างหากจากที่อาศัยอยู่กับเพื่อนในค่ายทหารที่จังหวัดนครพนม แต่โจทก์ไม่ดำเนินการใด ฉะนั้นการที่จำเลยยังคงทำงานและพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจึงเป็นเพราะโจทก์ไม่ขวนขวายหาที่พักอันเหมาะสม เพื่อโจทก์จำเลยจะได้อยู่ร่วมกันส่อเจตนาว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยไปอยู่ร่วมกัน กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่า การที่จำเลยมีหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาของโจทก์ขอค่าเลี้ยงดูจากโจทก์ตามคำแนะนำของนายทหารพระธรรมนูญซึ่งผู้บังคับบัญชาของโจทก์ผู้แนะนำให้ไปหารือด้วยนั้นเป็นการดำเนินการไปตามข้อบังคับทหารว่าด้วยการปกครองครอบครัว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินควรจากการกระทำดังกล่าวของจำเลยแต่กลับได้ความว่าโจทก์ได้เลื่อนยศตามลำดับตามการร้องเรียนของจำเลยจึงไม่ถึงขนาดทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสามีภรรยาเป็นของทั้งสองคน และอายุความมรดกสะดุดเมื่อมีผู้จัดการมรดก
ค.เป็นผู้ปกครองเด็กชายท. ตามคำสั่งศาล มีอำนาจฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกให้แก่เด็กชาย ท. ได้ โจทก์ระบุในหน้าฟ้องว่า ค.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชายท.แต่เมื่อข้อความตามที่โจทก์ระบุไว้หน้าฟ้องดังกล่าวและตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้แทนเด็กชาย ท.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชาย ท. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของ บ.เจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่เด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้วไม่จำเป็นต้องระบุเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คน และเป็นผู้ใดหากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่า จำนวนทายาทของเจ้ามรดกหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องให้การต่อสู้คดีไว้ ส่วนที่ฟ้องโจทก์ระบุวันที่ ส.ถึงแก่กรรมผิดไป แต่ตามภาพถ่ายใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องได้ระบุว่าส. ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่เท่าไร ซึ่งเมื่ออ่านฟ้องโจทก์ประกอบกับใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาดที่ถูกต้องเป็นวันที่ตามใบมรณบัตรที่แนบมาท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม มรดกที่มีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทจึงไม่จำต้องฟ้องเรียกให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สินสมรส, และสินเดิมระหว่างสามีภรรยาหลังการเสียชีวิตของภรรยา
คดีก่อนที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรของ ส. และ น. หรือไม่ กับมีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. และน. หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทเป็นเรื่องโจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดกของ ส. จากจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.และน.กับเรียกมรดกของส. คืนจากจำเลยทั้งสองที่รับโอนไปโดยมิชอบคนละประเด็นกับที่ได้วินิจฉัยในคดีก่อน จึงมิใช่เป็นการรื้อฟ้องร้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ล. เป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. เจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(3) เมื่อ ล.ตายก่อน ส. โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ ล. จึงมีสิทธิรับมรดกของ ส. แทนที่ ล. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ที่ดินแปลงที่ น. ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากับ ส.ก่อนจดทะเบียนสมรสกันย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมกันคนละส่วน เมื่อ น.ตายก่อน ส. ส่วนที่เป็นของ น. จึงเป็นมรดกตกได้แก่จำเลยที่ 1บิดาของ น. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม และ ส. คนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635(2) ส. จึงมีส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว 3 ใน 4 ส่วน เมื่อ ส. และ น. ต่างฝ่ายต่างมีสินเดิม การแบ่งเงินฝากในธนาคารซึ่งเป็นสินสมรสจึงต้องแบ่งกันคนละส่วน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1625(1) ประกอบมาตรา 1517(เดิม) ส่วนของ น. ย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 1 และ ส.คนละกึ่งหนึ่งส. จึงมีส่วนในเงินฝาก3 ใน 4 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินจากธนาคารไปทั้งหมด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแบ่งเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส.3 ใน 4 ส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากธุรกิจครอบครัว: การยินยอมและเจตนาในการทำสัญญา
การที่จำเลยที่ 2 สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยผู้ร้องยินยอมและให้ผู้ร้องสามารถเบิกจ่ายจากบัญชีได้และจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่โจทก์ ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อนำเงินมาลงทุนทำการค้าขายพืชไร่ร่วมกัน ถือว่าเป็นหนี้ร่วมอันเกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490(3)จำเลยที่ 2 กับผู้ร้องต้องร่วมกันรับผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องจากทรัพย์พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการทำธุรกิจร่วมกัน และสิทธิในการกันส่วนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีทรัพย์พิพาทจำนองเป็นประกันโดยผู้ร้องยินยอมและให้ผู้ร้องมีสิทธิเบิกจ่ายเงินจากบัญชีได้เพื่อนำเงินมาลงทุนทำการค้าขายพืชไร่ร่วมกัน ถือว่าเป็นหนี้ร่วมอันเกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(3) ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องจากทรัพย์พิพาทที่ขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการทำธุรกิจร่วมกัน และสิทธิในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของภรรยา
การที่จำเลยที่ 2 สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยผู้ร้องยินยอมและให้ผู้ร้องสามารถเบิกจ่ายจากบัญชีได้ และจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่โจทก์ ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อนำเงินมาลงทุนทำการค้าขายพืชไร่ร่วมกัน ถือว่าเป็นหนี้ร่วมอันเกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(3) จำเลยที่ 2 กับผู้ร้องต้องร่วมกันรับผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องจากทรัพย์พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้ทำสัญญากัน การไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามป.พ.พ. บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้นกรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 และเป็นกรณีตามมาตรา 1484เป็นการอ้างข้อเท็จจริง นอกคำฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1484.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่าขาด ไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 และไม่อาจจัดการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สินสมรส เพราะไม่มีทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่โจทก์ได้สินสมรสมา การกระทำของจำเลยเป็นการถ่วงความเจริญงอกงามที่จะเกิดแก่สินสมรสของโจทก์จำเลยนั้น เป็นการฎีกาอ้างข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องของโจทก์เอง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการกู้เพื่อเกษตรกรรม และการรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม
การที่จำเลยที่ 2 ได้ให้คำรับรองต่อธนาคารผู้ให้กู้ว่าจำเลยที่ 2 ทำงานเกษตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีและรับผูกพันว่าเงินที่จำเลยที่ 1 กู้นั้นเป็นเงินที่นำไปเพื่อใช้ในการเกษตร หนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้อันเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน จำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ลงชื่อในหนังสือกู้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม
เมื่อโจทก์ซึ่งมีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารผู้ให้กู้ที่มีต่อจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย
of 13