คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สาระสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้มีการแก้ไขเล็กน้อย ไม่กระทบสาระสำคัญ และการขีดฆ่าคำบางส่วนไม่มีผลทำให้เป็นโมฆะ
การขีดฆ่า คำว่า "ดังนี้" ในพินัยกรรมออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกไปแล้วพิมพ์ใหม่เป็นว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" การขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรม เพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าคำดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรมมิใช่เป็นผู้รับมอบ การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่ต้องมีการลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8431/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีอาญา และผลต่อการต่อสู้คดีของจำเลย หากข้อแตกต่างไม่ใช่สาระสำคัญ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม มีสาระสำคัญว่า ถ้าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้อง เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าแตกต่างกับข้อสาระสำคัญ ดังนั้น แม้ว่าทางพิจารณาจะปรากฏว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แตกต่างจากฟ้องที่ว่าเหตุเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ก็ถือว่าข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญ อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แล้ว จำเลยซึ่งได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแล้วก็ยังคงให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่ได้ระบุเงินดาวน์ เพราะเงินดาวน์ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุค่าเช่าซื้อจำนวน 2,878,504.80 บาท นั้น จำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้ว การระบุค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้วก็เพื่อการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวดเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์แม้จะมิได้ระบุในสัญญาก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องระบุจำนวนเงินดาวน์ไว้ จึงเป็นเพียงข้อเท็จจริง ที่คู่ความอาจนำสืบได้ เอกสารสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามกฎหมายและเจตนาของคู่สัญญา การชำระหนี้ล่าช้าไม่ถือเป็นการผิดนัดหากคู่สัญญามิได้ถือเป็นสาระสำคัญ
การบอกเลิกสัญญาจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 คือ จำเลยจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดเวลานั้น ถ้าโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ จึงจะถือว่าโจทก์ผิดนัดและจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแม้สัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที โดยไม่คำนึงว่าจำเลยเคยผ่อนผันการผิดสัญญาเช่นนั้นมาก่อนก็ตาม แต่การผ่อนผันการผิดสัญญาตามข้อสัญญาดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาผ่อนผันการผิดสัญญาครั้งก่อนๆ โดยมิได้ยินยอมให้มีการผิดสัญญาในครั้งต่อๆ ไปได้ด้วย แต่การที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาโดยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงหาใช่กรณีที่จำเลยยอมผ่อนผันการผิดสัญญาให้แก่โจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิที่จะยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์ การที่จำเลยไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่กำหนด แต่จำเลยก็ยินยอมรับค่าเช่าซื้อตลอดมา โดยมิได้เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการชำระล่าช้า จนถือได้ว่าคู่สัญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่ถือว่าโจทก์ทำผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิจะคิดค่าปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้าจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คที่หาย: 'เนื้อความเดียวกัน' หมายถึง สาระสำคัญใช้บังคับได้ ไม่ใช่ข้อความเหมือนเดิมทุกประการ
คำว่า "เนื้อความเดียวกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1011 มิได้หมายความว่าจะต้องมีข้อความเหมือนเดิมทุกประการมิฉะนั้น วรรคสองของมาตราเดียวกันนี้คงไม่บัญญัติว่า หากผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้นอาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้ ซึ่งการบังคับดังกล่าว เป็นกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล หากจะต้องลงวัน เดือน ปี เหมือนเดิมทุกประการตั๋วเงินอาจขาดอายุความหรือไม่สามารถบังคับด้วยเหตุอื่น กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์เช่นนั้น คำว่าเนื้อความเดียวกัน จึงมีความหมายแต่เพียงว่า จะต้องมีสาระสำคัญใช้บังคับได้เช่นตั๋วเงินฉบับเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากผิดนัดจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ระบุข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2.2 ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เมื่อเช็คฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายนไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญามาครั้งหนึ่งแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือเอาข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเช็คชำระดอกเบี้ยในงวดที่ 2โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: กำหนดเวลาการก่อสร้างเป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญาเมื่อก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทโดยมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์จากการใช้สอยและยังมั่นใจว่าโครงการจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและตามคำโฆษณาของจำเลย ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา การที่จำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญาเนื่องมาจากผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการล่าช้าจนต้องจัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาดำเนินการแทนนั้น จำเลยในฐานะเจ้าของโครงการขนาดใหญ่และเป็นผู้คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมจะต้องจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความสามารถและควบคุมกวดขันให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ต่อโจทก์การที่จำเลยทราบว่าผู้รับเหมาก่อสร้างล่าช้า แต่จำเลยกลับไม่รีบ ดำเนินการแก้ไขเพื่อให้อาคารชุดที่ก่อสร้างเสร็จทันภายในกำหนดและ สามารถส่งมอบห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อได้ ความล่าช้าในการ ก่อสร้างจึงถือว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่กรณีมีเหตุจำเป็น ที่จะเป็นเหตุให้จำเลยขยายกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา ออกไปได้
ที่จำเลยอ้างว่า แม้จำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนดโจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองห้องชุดพิพาทได้เนื่องจากต้องรอการจดทะเบียนอาคารชุดและโอนกรรมสิทธิ์ก่อนนั้นการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ดี ล้วนเป็นข้อกำหนดในสัญญาอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกันกับกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา จะนำมาเกี่ยวพันกันหาได้ไม่ การที่จำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาท
เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องที่ผิดพลาดจากการแปลภาษา: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญคดี
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง จึงไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26
of 25