พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกสำนวนคดีแพ่งกับการพิจารณาคดีแรงงาน ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร ไม่ผูกมัดผลคำพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้องของโจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่ายอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุนยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่าศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651-3654/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการอ้างพยานเอกสาร อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้นำสำนวนคดีอื่นซึ่งได้อ้างเป็นพยานไว้แล้วมาผูกติดกับคดีนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า "นำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับคดีนี้" แต่คู่ความมิได้ยอมรับกันว่าให้ศาลพิพากษาคดีโดยถือตามผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าว คำร้อง ของ โจทก์จึงมีความหมายเพียงว่า โจทก์ขออ้างถ้อยคำสำนวนตามที่ระบุในคำร้องในฐานะที่เป็นพยานเอกสารในคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานบุคคลของโจทก์จำเลยประกอบพยานเอกสารที่โจทก์อ้างแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยประสบการขาดทุน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อลดค่าใช้จ่าย อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำเลยมิได้ประสบการขาดทุน ยังสามารถจ้าง โจทก์ทั้งสี่ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดว่า ศาลในส่วนแพ่งที่พิพากษาในคดีหลังจำต้องถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ได้พิพากษาไปก่อนแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่คดีแพ่ง: เหตุจำเป็นต้องตรวจสอบสำนวนคดี และความล่าช้าที่เกิดจากจำเลย
ในการขอให้พิจารณาใหม่จำเป็นที่ต้องตรวจดูสำนวนคดีเพื่อทราบคำฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีตลอดจนคำพิพากษาของศาลเสียก่อน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า การได้รับสำเนาสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานศาลล่าช้า ทำให้ไม่สามารถตรวจดูสำนวนคดีคำฟ้องและกระบวนพิจารณาตลอดจนคำพิพากษาของศาลได้ ถือได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ วันที่ 6 สิงหาคม 2530 อ้างว่าจำเลยรู้ว่าถูกยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 รุ่งขึ้นจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด และกลับถึงบ้านวันที่ 19 กรกฎาคม 2530 วันที่ 20 กรกฎาคม 2530 จำเลยติดต่อขอคัดสำเนาสำนวนคดี เจ้าพนักงานศาลถ่ายสำเนาคดีให้จำเลยได้ภายใน 8 วัน และเกี่ยวกับทะเบียนบ้านเจ้าหน้าที่เขตก็สามารถตรวจสอบแจ้งให้จำเลยทราบผลภายใน 3 วัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยไปต่างจังหวัดเสีย 11 วัน จำเลยก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ทันภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าถูกยึดทรัพย์การที่จำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด แม้จะเป็นความจริงก็หาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ไม่ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นความบกพร่องของจำเลย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ วันที่ 6 สิงหาคม 2530 อ้างว่าจำเลยรู้ว่าถูกยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 รุ่งขึ้นจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด และกลับถึงบ้านวันที่ 19 กรกฎาคม 2530 วันที่ 20 กรกฎาคม 2530 จำเลยติดต่อขอคัดสำเนาสำนวนคดี เจ้าพนักงานศาลถ่ายสำเนาคดีให้จำเลยได้ภายใน 8 วัน และเกี่ยวกับทะเบียนบ้านเจ้าหน้าที่เขตก็สามารถตรวจสอบแจ้งให้จำเลยทราบผลภายใน 3 วัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยไปต่างจังหวัดเสีย 11 วัน จำเลยก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ทันภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าถูกยึดทรัพย์การที่จำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด แม้จะเป็นความจริงก็หาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ไม่ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นความบกพร่องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่ต้องอาศัยสำนวนคดี การเดินทางไปต่างจังหวัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ในการขอให้พิจารณาใหม่จำเป็นที่ต้อง ตรวจ ดู สำนวนคดีเพื่อทราบคำฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีตลอดจนคำพิพากษาของศาลเสียก่อนดังนั้น เมื่อปรากฏว่า การได้รับสำเนาสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานศาลล่าช้า ทำให้ไม่สามารถตรวจ ดู สำนวนคดีคำฟ้องและกระบวนพิจารณาตลอดจนคำพิพากษาของศาลได้ ถือได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ วันที่ 6 สิงหาคม 2530อ้างว่าจำเลยรู้ว่าถูก ยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 รุ่งขึ้นจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด และกลับถึงบ้านวันที่ 19 กรกฎาคม 2530วันที่ 20 กรกฎาคม 2530 จำเลยติดต่อ ขอคัดสำเนาสำนวนคดีเจ้าพนักงานศาลถ่าย สำเนาคดีให้จำเลยได้ ภายใน 8 วัน และเกี่ยวกับทะเบียนบ้านเจ้าหน้าที่เขตก็สามารถตรวจสอบแจ้งให้จำเลยทราบผลภายใน 3 วัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยไปต่างจังหวัดเสีย 11 วัน จำเลยก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ทันภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ วันที่ทราบว่าถูก ยึดทรัพย์ การที่จำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด แม้จะเป็นความจริงก็หาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ไม่ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นความบกพร่องของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลส่งสำนวนคดีอาญาให้ศาลอุทธรณ์แม้จำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ และการวินิจฉัยความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่5จำคุกตลอดชีวิตและจำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา245เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำนวนเกี่ยวกับจำเลยที่5ไปศาลอุทธรณ์โดยตรงแต่ส่งไปเพราะจำเลยที่1ถึงที่5อุทธรณ์หากศาลอุทธรณ์ตรวจพบก็มีอำนาจหยิบยกคดีส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่5ขึ้นวินิจฉัยไปพร้อมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์ได้แต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเพียงว่าจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์คดียุติหาได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่5กระทำความผิดตามฟ้องเพียงใดหรือไม่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและการฟ้องคดีอาญา: การส่งสำนวนระหว่างพนักงานสอบสวนและการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและพระราชบัญญัติศุลกากร เดิมพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุเป็นผู้สอบสวน ต่อมากรมตำรวจได้แต่งตั้งให้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้แต่ฝ่ายเดียว พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอรับสำนวนการสอบสวน จากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดาหลายครั้ง แต่ไม่สามารถรับสำนวนการสอบสวนมาได้ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสะเดากลับส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง พนักงานอัยการโดยมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงติดต่อขอสำนวนการสอบสวนคืนจากพนักงานอัยการ ซึ่งขณะนั้นยังมิได้มีคำสั่งให้ฟ้องหรือไม่ฟ้อง จำเลยที่ 1 พนักงานอัยการได้คืนสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้แก่พนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนต่อไป โดยสอบ บุคคลอื่นเป็นผู้ต้องหาอีกหลายคนซึ่งมีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วยภายหลังพนักงานอัยการได้แนะนำให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามคืนสำนวนการสอบสวน และต่อมามีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามสอบสวนเพิ่มเติมทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้น กรณีเช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามยังมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้อยู่การสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าว หาขัดกับบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139ถึง มาตรา 143 ไม่ การสอบสวนของ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงชอบด้วยกฎหมาย และพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 และที่ 2 ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน: ศาลรับฟังคำเบิกความในสำนวนคดีอาญาได้ หากโจทก์อ้างพยานเอกสารทั้งสำนวน
สำนวนคดีเรื่องอื่นเป็นพยานเอกสารที่คู่ความมีสิทธิอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
โจทก์อ้างสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3645/2520 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นพยานทั้งสำนวน ซึ่งมีคำเบิกความของนางสาว บ. อยู่ในสำนวนนั้นด้วยศาลรับฟังคำเบิกความของนางสาว บ. ในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวประกอบคำพยานโจทก์ ในคดีนี้ได้ เพราะถือว่าโจทก์ได้ระบุอ้างคำเบิกความของนางสาว บ. ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา88,90 แล้ว
โจทก์อ้างสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3645/2520 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นพยานทั้งสำนวน ซึ่งมีคำเบิกความของนางสาว บ. อยู่ในสำนวนนั้นด้วยศาลรับฟังคำเบิกความของนางสาว บ. ในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวประกอบคำพยานโจทก์ ในคดีนี้ได้ เพราะถือว่าโจทก์ได้ระบุอ้างคำเบิกความของนางสาว บ. ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา88,90 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารในสำนวนคดีล้มละลายเป็นเอกสารในสำนวนคดีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ไม่ต้องส่งสำเนา
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 (1)
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 (1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างสำนวนคดีถึงที่สุดประกอบการพิจารณาคดีใหม่ ศาลมีอำนาจรับฟังได้เมื่อคู่ความยอมรับและเสียค่าอ้าง
เมื่อศาลสอบถาม คู่ความต่างยอมรับว่าทางพิพาทตามที่โจทก์ฟ้องนี้เคยพิพาทกันมาแล้ว 2 คดี และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโจทก์ขออ้างสำนวนทั้งสองและได้เสียค่าอ้างแล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำนวนนั้นๆ มาประกอบการพิจารณาคดีได้แม้โจทก์จะมิได้ยื่นระบุพยานอ้างสำนวนนั้นอีกก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติม: การเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา
คดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วการที่ศาลชั้นต้นเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา ก็เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมนั่นเอง ย่อมมีอำนาจโดยพลการเรียกมาประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228