คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำนักงานใหญ่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ: หักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการในไทยโดยตรง
รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
รายจ่ายอันเป็นเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงพนักงานโจทก์สำนักงานใหญ่ค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ ค่าเครื่องเขียน แบบพิมพ์ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง เป็นรายจ่ายที่โจทก์ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์แก่สาขาต่าง ๆ ทั่วโลก โจทก์คิดเฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวให้สาขาต่าง ๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยอาศัยการคำนวณเฉลี่ยรายจ่ายของสาขาทั่วโลกตามรายได้ของแต่ละสาขา รวมทั้งสาขาในประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เพียงแต่อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่า รายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมาเป็นราย-จ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยทั้งหมดและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ถ้าผู้เสียภาษีหลีก-เลี่ยงหรือเสียไม่ถูกต้อง เมื่อทำการประเมินผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22 เมื่อประเมินแล้วไม่เสียภายในกำหนดก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ตามมาตรา 27 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาบริษัทตามที่จดทะเบียนสำคัญกว่าการย้ายสำนักงานจริง การส่งหมายเรียกที่สำนักงานใหญ่ที่จดทะเบียนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตราบใดที่จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงถิ่นที่ตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยไปตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งอื่นก็ต้องถือว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ถิ่นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ได้จดทะเบียนไว้การที่โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ณ ถิ่นที่ตั้ง สำนักงานแห่งใหญ่ จึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อจำเลย มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบังคับไว้ ต้องถือว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2493/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลตเตอร์ออฟเครดิต: การชำระเงินผ่านสำนักงานใหญ่ และการแก้ไขเงื่อนไขสัญญา
เงื่อนไขในการชำระราคาสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยทำไว้กับสาขาโจทก์มีว่า ผู้ขายอาจเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากสาขาโจทก์หรือสำนักงานใหญ่ของโจทก์ หรือผู้ขายจะออกตั๋วแลกเงินเรียกเก็บเงินจากจำเลยโดยตรงก็ได้ดังนั้น การที่ผู้ขายออกตั๋วแลกเงินจำนวนเงินตามราคาสินค้าส่งมอบให้สำนักงานใหญ่ของโจทก์พร้อมด้วยเอกสารต่างๆ ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต และสำนักงานใหญ่ของโจทก์รับซื้อตั๋วแลกเงินและเอกสารดังกล่าวไว้โดยจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายไป ย่อมถือได้ว่าผู้ขายได้เรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากสำนักงานใหญ่ของโจทก์และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าสินค้าแทนจำเลยไปถูกต้องตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตที่จำเลยทำไว้กับสาขาโจทก์แล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยขอแก้เงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ทำไว้กับสาขาโจทก์ โจทก์ได้จัดการขอแก้ไขกับผู้ขายตามที่จำเลยต้องการแล้วแต่ผู้ขายไม่ยินยอม จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์จำเลยจะยกเป็นเหตุอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาเจ้าหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สำนักงานใหญ่เป็นหลัก
กำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 นั้น ต้องถือเอาที่อยู่ของเจ้าหนี้เป็นสำคัญว่าอยู่นอกหรือในราชอาณาจักร ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าอยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน ส่วนสัญชาติของเจ้าหนี้หรือสถานที่ที่หนี้เกิดขึ้นไม่เป็นข้อสำคัญ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 ให้ถือเอาที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่เป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น ส่วนที่ตั้งของสำนักงานสาขาจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาได้มีเฉพาะแต่กิจการซึ่งจะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานสาขาเท่านั้น เมื่อการขอรับชำระหนี้รายนี้จะต้องทำ ณ ที่สำนักงานใหญ่ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยกภูมิลำเนาของสาขาต่างประเทศขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: สำนักงานใหญ่ vs. สาขาต่างประเทศ
กำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 นั้น ต้องถือเอาที่อยู่ของเจ้าหนี้เป็นสำคัญว่าอยู่นอกหรือในราชอาณาจักร ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าอยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน ส่วนสัญชาติของเจ้าหนี้หรือสถานที่ที่หนี้เกิดขึ้นไม่เป็นข้อสำคัญ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นนิติบุคคลซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานครประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 ให้ถือเอาที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่เป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น ส่วนที่ตั้งของสำนักงานสาขาจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาได้ก็เฉพาะแต่กิจการซึ่งจะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานสาขาเท่านั้น เมื่อการขอรับชำระหนี้รายนี้จะต้องทำ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยกภูมิลำเนาของสาขาต่างประเทศขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างประเทศที่ตั้งสาขาในไทยเพื่อคำนวณภาษีเงินได้
บริษัทต่างประเทศมีสาขาในประเทศไทย สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเช่าที่ทำการ โจทก์จ่ายค่าแรงเป็นค่าธรรมเนียมเลขานุการจะจ้างคนงานเองหรือจ้างบริษัทอื่นก็เป็นการเปิดดำเนินกิจการค้าค่าเช่าสำนักงาน ค่าเครื่องเขียนค่าโทรศัพท์ ฯลฯ เป็นค่าใช้จ่ายปกติหักออกจากรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้เมื่อส่งกำไรออกนอกประเทศไม่ได้
ภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2500 ถึง 31 มีนาคม 2501 โจทก์ยื่นรายการเมื่อ 22 กันยายน 2501ตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งเมื่อ 13 กันยายน 2511 ยังไม่ขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษี: ถือว่าแจ้งแล้วเมื่อส่งถึงสำนักงานใหญ่และเจ้าหน้าที่รับ
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษาากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513 นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด 30วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทยให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือรายจ่ายต้องห้ามและเป็นการจำหน่ายกำไร
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทย ให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนน้ำมันระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา ไม่ถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการต่างสถานะ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรกำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการคำนวณภาษีซื้อและภาษีขายตามมาตรา 82/3 ต้องมีสถานะเป็นบุคคลตามมาตรา 77/1 (1) ซึ่งภาษีซื้อและภาษีขายย่อมต้องเกิดขึ้นจากการขายระหว่างผู้ประกอบการกับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (17) และ (18) เมื่อสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาต่างเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อันอยู่ในฐานะเป็นบุคคลเดียวกัน การโอนน้ำมันจากสำนักงานใหญ่ไปยังสำนักงานสาขาจึงเป็นเพียงการจัดการกิจการภายในของโจทก์เอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่สำนักงานใหญ่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่สำนักงานสาขา และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8)
of 3