พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนด
แม้จะมีเหตุขัดข้องทำให้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยไม่ได้อย่างไร โจทก์ก็จะเพิกเฉยไม่แจ้งเหตุและขออนุญาตขยายระยะเวลาเพื่อนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยหาได้ไม่ คำร้องของโจทก์ที่ยื่นขอส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจแจ้งเหตุและขออนุญาตขยายระยะเวลาเพื่อนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยไม่ได้ก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว การที่โจทก์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 เสมียนทนายจำเลยลงชื่อในตรายางซึ่งประทับในฎีกามีความว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"เมื่อศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยและกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา 1 วัน ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ระยะเวลาสิ้นสุดที่จำเลยจะต้องนำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นคือวันที่ 7 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534ว่าจำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดนั้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ขัดแย้ง แม้ให้การต่างกันได้ หากมีเหตุผลที่สมควร และสัญญากู้ยืมเป็นสำเนาที่กรอกข้อมูล
แม้จำเลยให้การตอนแรกว่าเคยทำสัญญากู้ยืมเงิน 1 ฉบับให้โจทก์นำไปกู้เงินจากผู้มีชื่อซึ่งเป็นหัวหน้าของโจทก์แต่ต่อมาให้การว่าสัญญากู้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้จะเป็นฉบับเดียวกับที่จำเลยทำให้โจทก์เพื่อกู้ยืมเงินจากผู้มีชื่อหรือไม่จำเลยไม่ขอรับรองก็ตาม เมื่อพิเคราะห์สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องปรากฎว่าเป็นสำเนาเอกสารที่กรอกข้อความในช่องว่างทุกช่องรวมทั้งช่องลายมือชื่อผู้เกี่ยวข้องด้วยตัวพิมพ์ดีด จำเลยย่อมไม่อาจทราบได้ว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยเคยทำกับผู้มีชื่อดังกล่าวหรือไม่ การที่จำเลยให้การเช่นนั้นจึงมีเหตุผลไม่ถือว่าขัดแย้งกันจนทำให้ไม่มีประเด็นนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา (วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ ศาลไม่ถือว่าผิด หากไม่ได้ใช้ประกอบการวินิจฉัย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลกำหนดเพียงว่า จำเลยมีความรับผิดต้องชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ส่วนข้อเท็จจริงตามเอกสารที่โจทก์ใช้ประกอบคำเบิกความของพยานมิได้เป็นประเด็นโต้เถียง กันในคดี ทั้งตามคำพิพากษาของศาลที่วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงมา ไม่ปรากฏว่าได้อ้างถึงหรือนำเอกสารที่จำเลยคัดค้านว่ามิได้ส่งสำเนาให้จำเลยมาใช้ในการวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่จำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้คู่ความ
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน ปรากฏว่าส่งสำเนาฎีกาให้ทนายผู้ร้องไม่ได้ ต่อมาโจทก์แถลงขอให้ส่งสำเนาฎีกาแก่ผู้ร้องอีกครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ส่งสำเนาฎีกาให้ตัวผู้ร้อง หากไม่พบตัวผู้ร้องและไม่มีผู้ใดรับแทนโดยชอบให้ปิด คำสั่ง ศาลชั้นต้นครั้งหลังเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องมาจากคำสั่งเดิมนั่นเอง โจทก์จึงต้องนำส่งสำเนาฎีกาให้ตัวผู้ร้องภายในระยะเวลาอันสมควร การที่โจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้ร้องแก้ตามคำสั่งศาลชั้นต้นครั้งหลังจนล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึง 2 เดือนเศษ และหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ติดต่อให้ส่งสำเนาฎีกาแก่ผู้ร้องแต่อย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1774(2), 247 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสาร: การส่งต้นฉบับต่อศาลและรับคืนโดยส่งสำเนา ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หากคู่ความไม่คัดค้าน
การที่โจทก์นำสืบเอกสารโดยส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวต่อศาลและขอรับคืนไปโดยขอส่งสำเนาไว้แทนเมื่อจำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบเอกสารนั้นโดยเหตุที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับย่อมต้องฟังว่าต้นฉบับเอกสารนั้นมีอยู่แท้จริงและถูกต้องและรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลต้องส่งเอง โจทก์ไม่ต้องส่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลมีหน้าที่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยโดยตรงจะให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหาชอบไม่ และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสองประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับให้โจทก์เป็นผู้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ก็หาได้ไม่ เพราะได้มีบทบัญญัติเรื่องการส่งสำเนาอุทธรณ์ไว้ในมาตรา 200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารต้นฉบับ-สำเนา: ศาลรับฟังได้หากไม่มีข้อโต้แย้งความถูกต้องและมีเหตุผลในการขอคืน
ในการนำสืบพยานโจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ขอรับต้นฉบับเอกสารคืนไปโดยอ้างเหตุจำเป็นต้องนำไปใช้ในคดีอื่น และขอส่งสำเนาไว้แทนดังนี้ จะถือว่าโจทก์ไม่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานมิได้ชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้องหรือสำเนาเอกสารไม่ตรงกับต้นฉบับทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร ดังนี้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามข้อความในสำเนาเอกสารนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ถือเป็นการทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์
การที่โจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยอุทธรณ์คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จะเป็นโดยจงใจหรือหลงลืมพลั้งเผลอย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม และมาตรา 229 กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ ฉะนั้น การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่จะละเว้นเสียมิได้และบทบัญญัติแห่งมาตรา 174(2) ย่อมนำมาใช้บังคับในชั้นพิจารณาขอศาลอุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม และมาตรา 229 กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ ฉะนั้น การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่จะละเว้นเสียมิได้และบทบัญญัติแห่งมาตรา 174(2) ย่อมนำมาใช้บังคับในชั้นพิจารณาขอศาลอุทธรณ์ได้