พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกเรือยนต์ของกลาง ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนได้หากไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
ตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนาย ด. เป็นหัวหน้าครอบครัว นาง จ. เป็นภรรยา ส่วนผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด. กับนาง จ. สำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าข้อความตามที่ได้ระบุไว้นั้นไม่ถูกต้อง จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด.
เมื่อนาย ด. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนาย ด. อันมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นทายาทผู้หนึ่งที่มีสิทธิได้รับมรดกเรือยนต์ของกลาง แม้จะปรากฏว่านาย ด. มีบุตรอื่นอีกหลายคน ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกร่วมเป็นเจ้าของเรือยนต์ของกลางด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเรือยนต์ของกลางได้
เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดโดยนำเรือประมงเข้าไปจับปลาในเขตหวงห้าม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือประมงที่ใช้ในการกระทำความผิดมิได้เป็นของจำเลยทั้งสองแต่เป็นของผู้ร้องและผู้ร้องก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้คืนเรือของกลางได้
เมื่อนาย ด. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนาย ด. อันมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นทายาทผู้หนึ่งที่มีสิทธิได้รับมรดกเรือยนต์ของกลาง แม้จะปรากฏว่านาย ด. มีบุตรอื่นอีกหลายคน ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกร่วมเป็นเจ้าของเรือยนต์ของกลางด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเรือยนต์ของกลางได้
เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดโดยนำเรือประมงเข้าไปจับปลาในเขตหวงห้าม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือประมงที่ใช้ในการกระทำความผิดมิได้เป็นของจำเลยทั้งสองแต่เป็นของผู้ร้องและผู้ร้องก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้คืนเรือของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงมีสิทธิแม้โอนกรรมสิทธิ์ก่อนคดีถึงที่สุด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบไม่จำกัดเฉพาะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะมีการกระทำความผิดเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมมีอำนาจจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนได้ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางยังไม่ทำให้รถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็น ของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากมีการฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ควรริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ในระหว่างที่คดีอยู่ในการพิจารณาของศาลฎีกา เจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบ และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางที่แท้จริงและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี และเมื่อผู้ร้องและ ส. เจ้าของเดิมของรถจักรยานยนต์ของกลางขณะที่จำเลยนำไปใช้ในการกระทำความผิด มิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งสิทธิขอคืนภาษีอากรและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลย ต่อมาจำเลยได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนพบว่า โจทก์ได้รับค่าภาษีอากรเกินไปจำนวน5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่งคืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน แต่กรณีเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3)แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบค.10 โดยจำเลยได้ทำการพิจารณาคำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรแล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงมีสิทธิยื่นคำร้องระหว่างพิจารณาคดี แม้ ป.อ.มาตรา 36 จะกำหนดกรอบเวลาไว้
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้น ป.อ.มาตรา 36เพียงแต่บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดีอาญา: สิทธิการขอคืนเมื่อไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่2และสั่งริบรถยนต์ของกลางจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ริบรถยนต์ของกลางและคดีถึงที่สุดแล้วอีกทั้งจำเลยที่1มิใช่บุคคลภายนอกจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7691/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนของกลางสงวนไว้สำหรับเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงขณะยื่นคำร้อง ตาม ป.อ. มาตรา 36
เดิมผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันของกลาง ได้ให้ ส.เช่าซื้อ ต่อมา ส.ผิดสัญญา ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่ยังไม่ได้รับรถยนต์คืนในระหว่างนั้นจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของ ส. นำรถยนต์ไปกระทำความผิดจึงถูกจับดำเนินคดี แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่ริบรถยนต์คันของกลาง ผู้ร้องได้รับรถยนต์คืนจาก ส.แล้วนำไปขายให้ ว. ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ริบรถยนต์คันของกลาง ผู้ร้องจึงมาร้องขอคืนรถยนต์คันของกลาง ดังนี้ ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางผู้ร้องได้ขายรถยนต์ให้แก่ ว.ไปแล้ว ผู้ร้องจึงมิได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันของกลางในขณะที่ยื่นคำร้อง ตาม ป.อ. มาตรา 36 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์คันของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7691/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ให้เช่าซื้อ เมื่อรถยนต์ถูกใช้กระทำผิดและเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ
เดิมผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันของกลางได้ให้ส.เช่าซื้อต่อมาส.ผิดสัญญาผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแต่ยังไม่ได้รับรถยนต์คืนในระหว่างนั้นจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของส. นำรถยนต์ไปกระทำความผิดจึงถูกจับดำเนินคดีแต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่ริบรถยนต์คันของกลางผู้ร้องได้รับรถยนต์คืนจากส. แล้วนำไปขายให้ว. ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ริบรถยนต์คันของกลางผู้ร้องจึงมาร้องขอคืนรถยนต์คันของกลางดังนี้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางดังนี้ขณะที่ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางผู้ร้องได้ขายรถยนต์ให้แก่ว.ไปแล้วผู้ร้องจึงมิได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงของรถยนต์คันของกลางในขณะที่ยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์คันของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือและของกลาง: สิทธิการขอคืนของกลางของผู้เสียหายจากการกระทำผิดของผู้อื่น
ใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตรให้ใช้อวนทำการประมงและใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่าซึ่งมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้น โจทก์มิได้นำสืบปฏิเสธความเท็จจริงและถูกต้อง ต้องสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เรือพร้อมเครื่องยนต์และอวนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของผู้ไม่รู้เห็นเป็นใจในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนรถ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 35มิได้มุ่งหมายให้ริบทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่มิได้รู้เห็น เป็นใจในการกระทำผิดด้วย เมื่อคดีฟังได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบ: เจ้าของกรรมสิทธิ์ ณ เวลาที่กระทำผิดเป็นผู้มีสิทธิ
ขณะจำเลยกระทำความผิด ผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางยังไม่ใช่เจ้าของผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืน. (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1578/2522).