คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมจำกัดสิทธิ: การเปลี่ยนแปลงภารยทรัพย์ต้องได้รับความยินยอมและค่าทดแทนจากเจ้าของที่ดิน
ที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้เป็นทางคนเดินผ่านที่ดินนั้นไปออกทางสาธารณะเท่านั้น. การปักเสาไฟฟ้า วางสายไฟฟ้า วางท่อประปาบนทางภารจำยอมนั้นย่อมเป็นการทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์. ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายสายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตาม แต่มาตรานี้ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เจ้าของที่ดินต้องยอมต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควร และเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อน หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินเป็นผู้เสนอไม่ เมื่อผู้ที่จะวางไม่ได้เสนอค่าทดแทน เจ้าของที่ดินมีสิทธิคัดค้านได้ เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบที่จะทำได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดการไถ่ถอนขายฝาก: สิทธิเจ้าหนี้จำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้ศาลสั่งอายัดผู้รับซื้อฝากไม่ให้รับไถ่ถอนการขายฝากจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ได้ เพราะผู้รับซื้อฝากเป็นบุคคลภายนอกเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะขอให้ศาลห้ามเป็นการตัดรอนสิทธิที่เขามีอำนาจจะรับเงินของเขาที่ได้เสียไปในการรับซื้อฝากนั้นคืน และเจ้าหนี้จะขอให้ศาลสั่งยึดสิทธิที่จำเลยมีสิทธิจะไถ่ถอนการขายฝากคืน ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะขณะนั้นผู้รับซื้อฝากยังไม่ต้องส่งมอบที่ดินและตึกที่ขายฝากมายังจำเลยแต่ประการใด
เจ้าหนี้จะอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282(2)หรือข้ออื่นๆ มาใช้บังคับไม่ได้ สำหรับมาตรา 310,315 ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเมื่อได้มีการยึดแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วม: ผู้ร้องสอดมีสิทธิจำกัดเท่าจำเลย ไม่สามารถใช้สิทธิเหนือกว่าได้
การที่มีผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้น ผู้ร้องสอดมีสิทธเท่าจำเลยเท่านั้น จะใช้สิทธินอกเหนือไปกว่าจำเลยหาได้ไม่
การที่สามีร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมกับภริยา จะปฏิเสธสัญญาที่จำเลยได้ทำไว้กับโจทก์ว่าไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยตกเป็นโมฆะนั้น ซึ่งภริยาผู้ร้องสอดมิได้ต่อสู้ไว้ เช่นนี้ไม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอย่างอื่นนอกไปจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามมาตรา 58 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการครอบครองทำประโยชน์: สิทธิจำกัดเฉพาะพื้นที่ทำประโยชน์จริงเมื่อใบเหยียบย่ำหมดอายุ
ที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ขาดอายุ ทำประโยชน์ไม่เต็มคงได้สิทธิฉะเพาะเท่าที่ทำประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972-6973/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมจำกัดเฉพาะคดีที่ยื่นคำร้องเข้าร่วม แม้ศาลรวมพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน โดยโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะสำนวนคดีแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยเท่านั้น มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยด้วย แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งสองรวมกันก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการเป็นโจทก์ร่วมในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลย อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ร่วมมิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 4 เป็นจำเลย โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคดีในส่วนของจำเลยที่ 4 คดีในส่วนของจำเลยที่ 4 ต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในส่วนของจำเลยที่ 4 ด้วย ก็เป็นการไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ร่วม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้าจำกัดเฉพาะการใช้กับสินค้าที่จดทะเบียน การใช้ชื่อนิติบุคคลไม่ละเมิด
ตามหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 นั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ เท่ากับว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วมีสิทธิที่จะหวงกันมิให้บุคคลอื่นนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนไปใช้กับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลและดวงตรานิติบุคคลของจำเลย ซึ่งไม่ใช่เป็นการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้โดยตรง โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างสิทธิตามที่มีในเครื่องหมายการค้าเพื่อที่จะขอบังคับจำเลยเช่นนี้ได้ โจทก์จะต้องใช้สิทธิตามช่องทางของกฎหมายนั้น ๆ ในการขอให้ศาลบังคับตามคำฟ้องของโจทก์
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 นั้น บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป และผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว แต่ความเสียหายจากการไม่จดทะเบียนชื่อนิติบุคคลก็ดี หรือความเสียหายจากการไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิตามที่กล่าวอ้างก็ดียังไม่ใช่ความเสียหายที่จะกล่าวอ้างในการห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลของตน แม้การใช้ชื่อนิติบุคคลจะคล้ายกัน แต่เป็นเรื่องของสิทธิในการใช้ชื่อของบุคคล เมื่อคำว่า "SUN" และ "SWEET" เป็นคำสามัญทั่วไป ไม่ใช่คำประดิษฐ์คิดขึ้นเอง ดังนั้นบุคคลทั่วไปรวมทั้งจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะใช้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าหลักของโจทก์คือลูกพรุนและน้ำลูกพรุนในขณะที่สินค้าหลักของจำเลยเป็นข้าวโพด จึงฟังไม่ได้ว่าธุรกิจของจำเลยแข่งขันโดยตรงกับธุรกิจของโจทก์จนกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของโจทก์ อันจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนกรณีที่สาธารณชนอาจสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเกี่ยวข้องกับโจทก์นั้น ไม่เป็นสาเหตุเพียงพอที่โจทก์จะใช้สิทธิห้ามจำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงิน ความเป็นเจ้าของ และการฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้ที่จำกัด
โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบเป็นสมาชิกกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ โดยมีเงินฝากออมทรัพย์ฝากไว้กับกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ดังกล่าวรวมเป็นเงิน 8,443,700 บาท จึงเป็นสัญญาฝากเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งเงินคืนเป็นเงินอันเดียวกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิที่จะเอาเงินนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝาก ผู้รับฝากคงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนนั้นเท่านั้น เงินที่ฝากไว้และจำเลยยักยอกไปมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามมาตรา 420 จำเลยไม่มีความผูกพันเป็นหนี้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2) โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบจึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย
of 2