พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายก่อนสัญญาประนีประนอม: โจทก์มีสิทธิเหนือผู้รับโอนจากสัญญาประนีประนอม
การที่จำเลยที่ 1,2 ซึ่งเป็นสามีภริยากันยินยอมทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้แล้วแต่ต่อมาจำเลยที่ 1,2 กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ถึง 5 บุตรของตนเสียย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1,2 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 1,2 ไว้ก่อนที่จะได้มีการทำสัญญายอมความนั้น จึงอยู่ในฐานที่จะได้รับโอนที่พิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3 ถึง 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ผิดแปลงจากสิทธิซื้อขาย: การกระทำเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้ซื้อสิทธิมา
ซื้อสิทธิการทำไม้หวงห้ามมาจากผู้รับใบอนุญาต แต่กลับไปทำไม้ ผิดตำบลกับที่ปรากฎในใบอนุญาต ดังนี้ย่อมเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป่าไม้ ต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อที่ดินก่อนการยึดและการเพิกถอนสัญญายอมความ ต้องดำเนินการผ่านการฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
โจทก์นำยึดนามีโฉนดของจำเลย ขอให้ศาลประกาศขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาท้ายยอม ปรากฏว่านารายนี้จำเลยได้ทำสัญญาขายให้ผู้ร้องไปครอบครองปีกว่าแล้ว แต่ยังติดขัดโอนโฉนดกันยังไม่ได้ เมื่อเกิดมีคดีระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น ผู้ร้องจึงยื่นฟ้องจำเลยบ้างขอให้โอนที่นาพิพาทแก่ผู้ร้อง และเมื่อนาพิพาทถูกโจทก์ยึดดังกล่าว ผู้ร้องจึงร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมความระหว่างโจทก์จำเลยตามคำพิพากษาท้ายยอมและให้ถอนการยึด ดังนี้ วินิจฉัยว่า ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิจะมาร้องขอให้ถอนการยึดได้ และการขอให้จำเลยทำลายสัญญายอมความและคำพิพากษาท้ายยอม ก็ต้องทำเป็นฟ้องไม่ใช่ทำเป็นคำร้อง แม้ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนนาพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลจะได้พิพากษาในภายหลังให้จำเลยโอนนาพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายก็ดี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการบังคับคดีนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมผูกพันตามคดีแบ่งแยกที่ดินเดิม
การที่โจทก์ได้สิทธิความเป็นเจ้าของรวมในที่ดินในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 10 ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 10 โอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 แก่โจทก์ ย่อมหมายความว่า สิทธิในที่ดินของจำเลยที่ 10 มีอยู่ในขณะที่จะขายเป็นต้นไปเพียงใด โจทก์ย่อมรับโอนสิทธิของจำเลยที่ 10 มาเพียงนั้น ซึ่งรวมถึงหน้าที่ของจำเลยที่ 10 ในฐานะเจ้าของรวมที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 10 ครอบครองเป็นส่วนสัดให้แก่จำเลยที่ 1 และเจ้าของรวมคนอื่นตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 ของศาลชั้นต้นด้วย ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิของจำเลยที่ 10 ที่ต้องผูกพันตามผลของคดีดังกล่าว
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 และถือเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 10 หยิบยกข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 10 มิได้ตกลงยินยอมให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันมากล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยทบทวนอีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อนกับข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าว และมีผลให้ขัดแย้งกับกระบวนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วในคดีดังกล่าว เป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปและถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 และถือเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 10 หยิบยกข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 10 มิได้ตกลงยินยอมให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันมากล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยทบทวนอีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อนกับข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าว และมีผลให้ขัดแย้งกับกระบวนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วในคดีดังกล่าว เป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปและถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5537/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป สิทธิซื้อขายที่ดินของรัฐ ผู้เสียหายทางอาญา
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แล้วกรมป่าไม้มอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จัดสรรให้เกษตรกรทำกินตามกฎหมาย ดังนั้น หากเป็นกรณีที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่นตามที่กล่าวอ้างก็เป็นการซื้อขายที่ดินของรัฐ ไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้ และหากประสงค์จะขอเข้ารับการจัดสรรที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) และมาตรา 36 ทวิ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดินรวมทั้งได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 ไม่ จึงเป็นกรณีที่จะต้องมีการพิจารณาต่อไปว่าผู้ใดอยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)