คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิทางศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้ต้องระบุชัดว่าเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกทรัพย์คืน
การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าจ้าง ว่าความแก่โจทก์ถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ โจทก์ทวงถาม จำเลยที่ 1 หลบหน้า ต่อมาโจทก์จึงรู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 และขายที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการโอนโดยเจตนาทุจริต ประสงค์มิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งที่ตะหนักดีว่าโจทก์ ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอน เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มี ทรัพย์สินใดพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ มิได้ระบุว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำ ทั้งที่ตระหนักดีว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอนเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำไปทั้งที่คาดหมายว่าโจทก์ ฟ้องบังคับคดี ส่วนตัวโจทก์เองจะฟ้องร้องหรือไม่โจทก์ ไม่ได้กล่าวถึง คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญ ไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องครอบครองที่ดินและการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิดหากกระทำโดยสุจริตและใช้สิทธิทางศาล
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) และมาตรา 3 ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฎิบัติงานของพนักงานสอบสวนเองหากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ แม้คดีก่อนหน้าได้วินิจฉัยแล้ว ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีเดิมมีประเด็นว่า ผู้คัดค้านทั้งสองฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องได้หรือไม่ แม้ผู้ร้องจะให้การสู้คดีว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โดยอาศัยข้อวินิจฉัยจากผลของคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเพื่อจะได้นำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คดีของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลสั่งให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้เคยมีคดีขับไล่มาก่อน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้ร้องเป็นจำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาท ประเด็นแห่งคดีมีว่าผู้คัดค้านฟ้องขับไล่ผู้ร้องได้หรือไม่ แม้ผู้ร้องจะให้การต่อสู้คดีว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งศาลก็ได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีดังกล่าวโดยฟังว่าจำเลยหรือผู้ร้อง ในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงประเด็นที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นแห่ง คดีดังกล่าว ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้ สิทธิทางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยอาศัยข้อวินิจฉัยจากผลของคำพิพากษาในคดีก่อน ขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเพื่อจะได้นำคำสั่งศาลไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ร้องที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่มารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้ วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอม หรือการใช้สิทธิทางศาล ไม่เป็นละเมิด
การปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือการใช้สิทธิฟ้องหรือต่อสู้คดีทางศาลรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. ไม่เป็นการทำละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว และโจทก์ขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดและเพิกถอนการบังคับคดีตลอดจนอุทธรณ์คำสั่งศาลในกรณีดังกล่าวการกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ส่วนที่กรณีดังกล่าวทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไปก็เป็นความจำเป็นซึ่งจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จะอ้างเอาเป็นเหตุเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลย่อมไม่เป็นการละเมิด แม้จะทำให้การบังคับคดีล่าช้า
การปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการใช้สิทธิฟ้องหรือต่อสู้คดีทางศาลรวมทั้งการอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่เป็นการทำละเมิด โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วและโจทก์ขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดและเพิกถอนการบังคับคดีตลอดจนอุทธรณ์คำสั่งศาลในกรณีดังกล่าวการกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ส่วนที่กรณีดังกล่าวทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไปก็เป็นความจำเป็นซึ่งจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่กฎหมายบังคับไว้โจทก์จะอ้างเอาเป็นเหตุเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตของเจ้าของรวม ไม่เป็นการทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
of 7