คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิที่ดินพิพาทเมื่อผู้ครอบครองไม่ได้แสดงเจตนาเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมและทายาท
คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเจ้าของเดิมและโจทก์ไม่เคยแสดงการเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์อาศัยต่อไป โจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทำประโยชน์ที่ดินต่อเนื่องและการโต้แย้งสิทธิ การฟ้องคืนสิทธิที่ดินต้องทำภายใน 1 ปี
จำเลยเป็นฝ่ายเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียว แม้จำเลยได้ลงชื่อรับรองแนวเขตที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งเป็นการยอมรับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่อีกสองเดือนถัดมาจำเลยก็ได้คัดค้านการที่ทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท เช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนภายใน 1 ปี ย่อมหมดสิทธิฟ้องร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสิทธิที่ดิน: คำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
ในคดีอาญาที่โจทก์ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทและเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทยังโต้เถียงสิทธิกันอยู่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของใคร แม้จำเลยจะเข้าไปไถที่ดินพิพาท ก็ขาดเจตนาบุกรุกจำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก ดังนี้ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของใครข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาจึงไม่มีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การพิพาทสิทธิที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดและขัดขวางการครอบครอง
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าว โดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาทขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตก ต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ดิน: จำเลยต้องฟ้องแย้งใหม่เพื่อขอที่ดินคืน แม้จะชำระหนี้ได้
มารดาจำเลยกู้เงินบิดาโจทก์ และมอบที่พิพาทให้บิดาโจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยบิดาโจทก์และมารดาจำเลยต่างถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทโดยมิได้ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ โจทก์จึง ฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษาให้ขับไล่คดีถึงที่สุดแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกจำเลยมาศาล บังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จำเลยมาศาลจำเลยขอชำระต้นเงินพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้โจทก์และขอที่ดินคืน โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิทำเช่นนั้นขอให้บังคับคดีต่อไปเช่นนี้เมื่อคดีเดิมจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับเงินและคืนที่พิพาทให้แก่จำเลย ผลคำพิพากษาจึงมีแต่เพียงให้ขับไล่จำเลยออกจาก ที่พิพาท ส่วนการจะขอชำระเงินและขอที่พิพาทคืนนั้น จำเลยจะต้อง ฟ้องโจทก์เป็นคดีขึ้นใหม่แต่อย่างไรก็ดี การที่จะงดการบังคับคดีไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 เป็นอำนาจและ ดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลจึงงดการบังคับคดีไว้ ชั่วคราวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิที่ได้จากการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดและการสืบสิทธิของผู้ซื้อต่อ
ว. เป็นผู้ซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต สิทธิของ ว. ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 จำเลยจะกล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของ ท. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ที่พิพาทต้องตกเป็นของ ว. โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาทจาก ว. อีกต่อหนึ่งแม้การซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ว. ไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ ถือว่าโจทก์ได้สืบสิทธิของ ว. ซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 1330 (เกี่ยวกับอำนาจฟ้องวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกที่ดิน: ศาลอาญาต้องฟังตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัย และประเด็นสิทธิที่ดินเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งมีราคา 6หมื่นกว่าบาท และทำลายทรัพย์สินในที่ดินนั้น ขอให้ลงโทษและขับไล่จำเลยจำเลยปฏิเสธว่ามิได้บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ กับต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยกระทำผิดจริง พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 363 และ 358ปรับ 550 บาท และให้ขับไล่จำเลยกับให้ใช้ค่าเสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะว่าให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 363 แต่บทเดียวปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้นี้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิที่ดินที่พิพาทในทางแพ่งมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องไม่เป็นการบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญาเพราะขาดเจตนานั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลล่างฟังมาแล้วว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาในทางแพ่งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประเด็นนี้ ในคดีส่วนอาญา ศาลล่างก็ฟังเป็นยุติแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นนั้นด้วย ไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าว: สิทธิที่ดินเป็นโมฆะหากไม่เป็นไปตามกฎหมาย แม้ได้รับสัญชาติไทยภายหลัง
พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 ก็ดี ประมวลกฎหมายที่ดินหมวด 8 ก็ดี มุ่งหมายบัญญัติว่าคนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินมิได้ เว้นแต่จะเข้ากฎเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฉะนั้น คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินมิได้จึงเป็นหลัก และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น หาใช่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามเด็ดขาดมิให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วถือเป็นเหตุในการวินิจฉัยว่าคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เมื่อได้กรรมสิทธิ์แล้วก็มีสิทธิตั้งตัวแทนใส่ชื่อตัวแทนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ เพราะการวินิจฉัยเช่นนั้นมีผลทำให้ความมุ่งหมายของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไร้ผลไปโดยสิ้นเชิง การที่คนต่างด้าวกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินโดยใส่ชื่อตัวแทนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่มีผล ตกเป็นโมฆะ และย่อมมีผลเป็นการทั่วไปทั้งแก่รัฐและเอกชนหาใช่เป็นเรื่องระหว่างรัฐกับคนต่างด้าวไม่ และแม้คนต่างด้าวนั้นจะได้รับสัญชาติไทยมาในภายหลัง ก็หาทำให้การอันเป็นโมฆะแต่เริ่มแรก กลับฟื้นคืนดีขึ้นมาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087-1090/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน ย่อมมีสิทธิเหนือผู้ครอบครองปรปักษ์ แม้ครอบครองก่อนนานกว่า 10 ปี หากการโอนต่อๆ มาไม่ถึง 10 ปี
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้ที่ครอบครองที่ดินนั้นมาโดยปรปักษ์กว่า 10 ปี ถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อมาเป็นทอดๆ อีกไม่ถึง 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มานี้จะรู้หรือไม่รู้ถึงการครอบครองโดยปรปักษ์ ก็มีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครอง (อ้างฎีกาที่ 1015/2485)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิที่ดิน: การจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตมีผลเหนือสิทธิที่ยังมิได้จดทะเบียน แม้ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์
สิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ที่ยังมิได้จดทะเบียน ท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
สิ่งใดที่จำเลยมิได้ต่อสู้ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสิน
ค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 3