คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดียึดทรัพย์มรดก เกินกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี
ผู้ร้องมีชื่อในโฉนดโดยถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยผู้แพ้คดีโจทก์บังคับคดียึดที่ดินนี้ได้ แม้เกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนาย, การกันส่วน, สิทธิบังคับคดี: ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอกันส่วนโดยอาศัยมาตรา 287 ว.พ.พ.
ในสำนวนอีกคดีหนึ่งซึ่งผู้ร้องคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องฮ. (ภรรยาจำเลยคดีนี้) ให้ชำระหนี้เงินเกี่ยวกับการเล่นแชร์ ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายความส. จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,62 ดังนั้น การที่ ส. ทนายความมายื่นคำร้องเพื่อขอกันส่วน และแยกสินสมรสของ ฮ. จำเลยในอีกคดีหนึ่งดังกล่าวออกจากทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นของจำเลยและโจทก์นำยึดไว้ในคดีนี้. จึงมีอำนาจทำได้โดยไม่ต้องแต่งทนายใหม่. และแม้ ส. จะยื่นคำร้องขอกันส่วนจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดคดีนี้มาครั้งหนึ่งแล้วถอนไปก็ตาม ก็อาจร้องขอกันส่วนใหม่ได้โดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายใหม่ เพราะกรณีนี้ทนายความในคดีเดิมมีอำนาจทำได้ดังกล่าวมาแล้ว
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ ฮ. ในอีกคดีหนึ่งย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ฮ. ได้เมื่อทรัพย์ที่โจทก์ยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นทรัพย์ที่ ฮ. มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมกระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกที่จะร้องขอกันส่วนของ ฮ. เพื่อบังคับคดีได้ด้วยสิทธิของผู้ร้องเองตามบทบัญญัติในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องของ ฮ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา233,234 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้: เจตนาโกงสำคัญกว่าสิทธิบังคับคดี แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของผู้อื่นก็ผิดได้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ไม่จำต้องกระทำต่อเจ้าหนี้ของตนเท่านั้น แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นก็มีความผิดฐานนี้ได้ และการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับโอนจากบิดามารดาของตนซึ่งโจทก์จะขอเพิกถอนการโอนเพื่อบังคับชำระหนี้ต่อไปให้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ก็อยู่ในความหมายแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ด้วย แม้ว่าการโอนที่ดินดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้หมดไปก็ตามก็เป็นความผิดฐานนี้ได้หากฟังได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ กล่าวคือ กฎหมายมุ่งถึงเจตนาของจำเลยที่จะโกงเจ้าหนี้ โดยไม่คำนึงว่าสิทธิการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ที่มีต่อลูกหนี้ ของตนจะยังมีอยู่หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่ตรงกับลักษณะข้ออ้าง และผลของการยอมความ
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้นแต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา 57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่ หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่ แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้วจึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้วเป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาด: ผู้มีส่วนได้เสียต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยนาที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาก็ตาม คำร้องดังกล่าวก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาให้ยกเสียในชั้นที่สุด โดยวินิจฉัยไม่เชื่อว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ถูกยึด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการบอกล้างสัญญากู้โดยสามีต่อภรรยา: สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินส่วนตัว
ภรรยาทำสัญญากู้เงินของเขามาและสามีได้บอกล้างสัญญาแล้วแม้การบอกล้างของสามีจะเป็นผลทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะได้ก็แต่เฉพาะเพียงเท่าที่ผูกพันสินบริคณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 เท่านั้น หาได้กระทำให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ เพราะหญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วนิติกรรมที่ทำขึ้นจึงยังสมบูรณ์ผูกพันในทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาตาม มาตรา 37 ประกอบด้วย มาตรา 1479ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินส่วนของภรรยาได้
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืมเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่าที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่ทำหนังสือ/จดทะเบียน สิทธิบังคับคดีมีจำกัด
เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี โดยมิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนนั้น แม้ไม่ได้ฟ้องร้องเป็นแต่เพียงจำเลยอ้างเพื่อขอบังคับเกิน 3 ปีก็ไม่ได้เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตกทอดแก่ทายาท: เมื่อโจทก์มรณะหลังศาลตัดสินคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิในการบังคับคดีจะตกทอดไปยังทายาทโดยธรรม
โจทก์มรณะภายหลังจากศาลพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีย่อมตกทอดมายังทายาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าทำประโยชน์ที่ดินพิพาทระหว่างคดี: สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์จำเลยต่างแย่งกันเป็นเจ้าของนาพิพาทจนคดีถึงศาล โดยฝ่ายจำเลยอ้างว่าโจทก์เอาที่พิพาทตีชำระหนี้แก่จำเลยแต่โจทก์ปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชะนะ จำเลยจึงเข้าทำนาพิพาทรายนี้ ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าทำโดยมีสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลจังหวัดได้อยู่ในเวลานั้น แม้ภายหลังศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับให้โจทก์ชะนะ และคดีถึงที่สุดเพียงนั้น ก็จะถือว่าการที่จำเลยเข้าทำนารายนี้เป็นการผิดกฎหมายอันจะประกอบให้เป็นการกระทำฐานละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 ไม่ได้ โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอาศัยมูลละเมิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15677/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์จำนอง แม้คำขอท้ายฟ้องระบุเฉพาะการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้และประสงค์จะบังคับทรัพย์จำนองซึ่งเป็นหลักประกัน แม้ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุเพียงว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้ จำเลยตกลงชำระหนี้ส่วนที่ขาดจำนวนจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยให้แก่โจทก์จนครบ ตามหนังสือสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องเช่นเดียวกัน แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ข้อ 4 จะระบุเพียงว่า หากจำเลยผิดนัดข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าจำเลยผิดนัดทั้งสิ้น และยินยอมให้โจทก์บังคับได้ทันที แต่สัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กล่าวไว้ว่าหากจำเลยผิดนัดแล้วให้โจทก์บังคับคดีได้แต่เฉพาะทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นประกันเท่านั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นนอกเหนือจากทรัพย์จำนองซึ่งเป็นหลักประกันตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันด้วย ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 5 ที่ว่า โจทก์และจำเลยตกลงตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 และไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดอีกนั้น ก็หมายความแต่เพียงว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องเงินนอกเหนือไปจากจำนวนเงินหรือหนี้ที่ตกลงกันไว้ในข้อ 1 ถึงข้อ 4 เท่านั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
of 3