คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิบัตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำขอสิทธิบัตรและการยื่นคำขอใหม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โจทก์สามารถดำเนินการตามข้อ 22 ของกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว โจทก์อาจขออนุญาตต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ในคดีนี้ โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2535 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลใด กรณีหาใช่ว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใหม่ซึ่งมีข้อถือสิทธิต่างไปจากเดิม กระบวนการตรวจสอบจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด ข้ออ้างที่ว่าการขอรับสิทธิบัตรใหม่เป็นการขอเพื่อเพิ่มเติมคำขอเดิมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิจากเจ้าของสิทธิบัตร
บริษัทโจทก์ไม่เคยยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสิทธิบัตรดังกล่าวจึงย่อมได้รับความคุ้มครองเฉพาะภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นที่มีกฎหมายยอมรับบังคับให้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรดังกล่าวจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ดังกล่าวไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบด้วยมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 85

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต่างประเทศ: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียนภายในประเทศ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรและมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หรือขาย มีไว้เพื่อขาย หรือเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ไม่รวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศไทย โจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 เพราะผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 38 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผู้ทรงสิทธิบัตรที่ออกโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่พึงจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 33, 63 ประกอบมาตรา 65 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ใหม่ต้องไม่เคยปรากฏหรือใช้แพร่หลายมาก่อน ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์การใช้งานก่อนยื่นคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยโดยกล่าวอ้างว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ใหม่เนื่องจากเหมือนกับการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ และเหมือนกับการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ที่โจทก์ได้นำออกจำหน่ายอยู่ก่อนแล้วก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตร เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ในสาระสำคัญ การประดิษฐ์ที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรจึงไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้วตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสอง (3)
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 เหมือนกับการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลย แต่โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ในนิตยสารก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร หาใช่โฆษณาจำหน่ายการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ไม่ ทั้งการโฆษณาดังกล่าวก็ไม่มีผลทำให้การประดิษฐ์ที่โฆษณาเป็นการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า โจทก์นำการประดิษฐ์ตามวัตถุพยานหมาย จ. 28 ออกจำหน่ายโดยแพร่หลายก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร อันจะทำให้วัตถุพยานหมาย จ. 28 เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 65 ทศ ประกอบด้วยมาตรา 6 วรรคสอง (1) การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยจึงเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรยา: การประดิษฐกรรมวิธีต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และการพิจารณาจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปไม่ผูกมัด
พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 9 (1) บัญญัติให้การประดิษฐ์ยาหรือสิ่งผสมของยาซึ่งเป็นตัวผลิตภัณฑ์ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้กรรมวิธีการผลิตยาเป็นการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
แม้โจทก์จะเคยได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลักษณะเดียวกันนี้จากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปแล้วก็ตาม ก็หาได้เป็นข้อจำกัดในการตรวจสอบการประดิษฐ์โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกระบวนการและวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่งอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ: เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่าในกรณีที่อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ บุคคลที่กล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตร หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตามมาตรา 65 นว ซึ่งถือเป็นกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิของอนุสิทธิบัตรซึ่งโจทก์ก็ได้ดำเนินการฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4808/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรไม่ได้รับการจดทะเบียนในไทย ไม่อาจได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แม้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิ
บริษัทที่อนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิไม่เคยยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ผู้ทรงสิทธิบัตรจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 63 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4808/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรต้องได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยเพื่อได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย การได้รับอนุญาตใช้สิทธิไม่ใช่ปัจจัยเพียงพอ
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทที่อนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิไม่เคยยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ผู้ทรงสิทธิบัตรจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 63 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครองและขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7769/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: การออกแบบร่วม การเลียนแบบ และสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่แล้วยังต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ด้วย ช. พี่โจทก์เป็นผู้เริ่มคิดออกแบบ ส่วนรูปแบบโครงสร้างรูปแปดเหลี่ยมนั้นโจทก์กับ ช. ช่วยกันกำหนดโครงสร้างภาพจำลองเสาอากาศโจทก์กับ ช. ร่วมกันเขียนขึ้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและมีองค์ประกอบอันเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองแบบผลิตภัณฑ์นั้นว่าสามารถใช้รับสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุได้หรือไม่และเป็นการยืนยันว่าโจทก์กับ ช. ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์ในส่วนดังกล่าว ซึ่งการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นสามารถร่วมกันกระทำในส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งเป็นส่วนอันเป็นสาระสำคัญในการออกแบบนั้นก็ได้ จึงฟังได้ว่า โจทก์กับ ช. ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์แผงสายอากาศเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุตามคำขอรับสิทธิบัตร จึงมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรร่วมกัน แต่ ช. ไม่ยอมร่วมไปขอรับสิทธิบัตรกับโจทก์ด้วยเพราะไม่ทราบขั้นตอนรายละเอียดในการดำเนินการและติดต่อเจ้าหน้าที่ โจทก์ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมจึงมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำร่วมกันนั้นในนามของตนเองได้ตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 15 วรรคสอง โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
of 10