คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิผู้ซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต่างจากคำให้การไม่กระทบประเด็นครอบครองปรปักษ์ หากเป็นการอ้างสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
แม้ทางนำสืบของจำเลยจะแตกต่างกับคำให้การของจำเลยในเรื่องจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือซื้อจาก ย. ผ่าน ก. แต่ประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือไม่ ข้อที่โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันคือ จำเลยเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ก. หรืออาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะซื้อที่พิพาทจาก ย. โดยชำระเงินผ่าน ก. หรือ ก. ซื้อที่ดินจาก ย. แล้วแบ่งที่พิพาทขายให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่จำเลยนำสืบอ้างว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทเช่นกัน การนำสืบของจำเลยจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้ ส่วนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น การรับผิดของผู้ขายและสิทธิของผู้ซื้อ
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476
จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไป พร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยเจตนาไม่สุจริตของผู้ขายเดิมและผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
โจทก์รู้เห็นยินยอมในการที่ ม.นำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ม.โดยถือตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์จะอ้างว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ม.ไม่สมบูรณ์เนื่องจากการซื้อขายครั้งก่อน ๆ ฝ่าฝืนข้อกำหนดห้ามโอน และโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กับขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทหาได้ไม่ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการส่งอุทธรณ์และการบังคับคดีตามคำสั่งศาล: สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาว่าเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเลยขึ้นตอนของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งใดๆอีกแต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งดังกล่าวโดยมิใช่ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งนั้นเมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วให้มีหนังสือเปิดผนึกตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอซึ่งก็มีผลเท่ากับให้โอนที่ดินทั้ง4แปลงที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์และตามที่อุทธรณ์แล้วฎีกาข้อนี้ของผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดของจำเลยที่1ไปแล้วและไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามกฎหมายมีอย่างไรคงมีอยู่อย่างนั้นไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องมีคำพิพากษารับรองให้อีกชั้นหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอน น.ส.3 ก. และการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังยึดทรัพย์ – สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด
แม้ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) อ้างว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สูญหาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน และต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายแต่อย่างใด กรณีต้องถือว่าการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว ตาม ป.ที่ดินมาตรา 61
พฤติการณ์ของโจทก์ตั้งแต่โจทก์ทราบว่า ส.ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โจทก์ก็ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนี-ประนอมยอมความและอายัดที่ดิน แต่เมื่อ ส.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ ต่อมา ส.ผิดนัด โจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมา แม้ขณะที่โจทก์นำยึดที่ดินพิพาท หากจำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส.แล้ว จำเลยชอบที่จะร้องขัดทรัพย์ แต่จำเลยก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใด จนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด กรณีฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อน และจำเลยซึ่งจดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: การบังคับคดีไม่กระทบสิทธิของผู้ร้อง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนด ดังนี้การที่ ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าว หาใช่ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่ แต่เป็นการที่ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: ทายาทผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีส่งมอบทรัพย์: สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จากจำเลยเมื่อมีการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบและจดทะเบียนโอนห้องพิพาทให้โจทก์จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทและส่งมอบให้โจทก์เข้าครอบครองแล้วซึ่งการส่งมอบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ตรีเพื่อจัดการให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ไม่ใช่เป็นการยึดเพื่อนำออกขายทอดตลาดตามความในมาตรา288กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา288ที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องพิพาทจากจำเลยจะมาร้องขอให้ปล่อยห้องพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, ที่ดินสาธารณะ, สิทธิของผู้ซื้อเมื่อที่ดินไม่ครบตามสัญญา
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า จำเลยทั้งสองผู้ขายตกลงขายที่ดินเนื้อที่ดิน 285 ตารางวา เป็นเงิน 7,267,500 บาท แสดงว่า คู่สัญญาได้ระบุที่ดินที่จะซื้อขายมีเนื้อที่ 285 ตารางวาไว้ชัดเจนในหนังสือสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสาระสำคัญ และยึดถือเป็นหลักในการคิดราคาที่ดินที่ซื้อขาย มิใช่เป็นการขายเหมาโดยประมาณ จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องโอนหรือส่งมอบที่ดินจำนวนเนื้อที่ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วน
การที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนทั่วไปใช้ถนนซอยสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปี ย่อมถือได้ว่าได้อุทิศที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นถนนซอยดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้ว ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา1304 (2) ทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์
เมื่อจำนวนเนื้อที่ดินขาดไปจากจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเกินกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ทั้งหมดที่จะซื้อขายกัน โจทก์ผู้ซื้อจึงชอบที่จะขอใช้ราคาลดลงตามส่วนหรือบอกปัดเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคแรก เมื่อโจทก์ได้ต่อรองขอลดราคาลงเพื่อใช้ราคาตามส่วนกับจำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอม โจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดเสียได้ จำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ สิทธิของผู้ซื้อที่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากนาง จ. ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้นาง จ.จะสละสิทธิครอบครองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สิทธิครอบครอง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน โดยถือหลักว่า ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากนางจ. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3
of 7