คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิผู้เช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ดินสิ้นสุดเมื่อ ส.ป.ก.จัดซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินฯ แม้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
เมื่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจัดซื้อที่ดินแล้วสิทธิของผู้เช่าที่ดินตาม สัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาต้องสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา32โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เช่าจะเป็นใครหรือเช่าอยู่ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่านาหรือไม่ กรณีคู่ความนำสืบข้อเท็จจริงเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย ประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่นำสืบนั้นได้แต่เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาลย่อมมีอำนาจให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ดินสิ้นสุดเมื่อมีการซื้อขายที่ดินเพื่อปฏิรูปที่ดิน การเพิกถอนนิติกรรมเมื่อทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
เมื่อสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์จัดซื้อที่ดินแล้วสิทธิของผู้เช่าที่ดินตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517ต้องสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518มาตรา32ซึ่งเป็นผลของกฎหมายโดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้เช่าจะเป็นใครหรือเช่าอยู่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาหรือไม่เมื่อจำเลยที่1และท. ผู้ตายบุตรของจำเลยที่2ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้วก็ถือว่าสัญญาเช่าที่ดินที่มีอยู่ระหว่างจำเลยที่1และท. กับจำเลยที่2ได้สิ้นสุดลงแล้วจำเลยที่1และท. ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่3ผู้เช่าซื้อที่ดินก่อนส่วนพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524เป็นกฎหมายที่บัญญัติสืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517ซึ่งถูกยกเลิกหาได้มีผลกระทบถึงพระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518ไม่ผู้เช่าย่อมอยู่ในบังคับที่จะต้องปฎิบัติตามมาตรา32จำเลยที่3จึงไม่อาจอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มายันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช่าที่ดินต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว หากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 56 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคณะ-กรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีก ผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้น จึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้น แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วย จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ สิทธิของผู้เช่าในการซื้อคืน
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาท พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อคชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน 15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่รู้ว่า พ. โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ถูกรอนสิทธิจากการถูกรุกล้ำพื้นที่เช่า การฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบพื้นที่
โจทก์เช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีบ้านพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยปลูกรุกล้ำอยู่ แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทด้วยความยินยอมของจำเลย แต่โจทก์มิได้เข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในบ้านพิพาทหรือที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนา หาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ ที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่า ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับผู้ให้เช่าให้ส่งมอบที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าถูกรอนสิทธิจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ผู้เช่าฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าช่วงส่งมอบที่ดิน
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เดิมบิดาโจทก์จำเลยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนามาแล้วปลูกบ้านพิพาทมานานประมาณ50 ปี โดยโจทก์จำเลยอยู่กับบิดามารดาในบ้านนี้ ต่อมาบิดาตาย โจทก์จำเลยจึงไปขอแบ่งเช่าที่ดินที่ตั้งบ้านพิพาทจากกรมการศาสนาเนื้อที่คนละ 9 ตารางวา ปรากฏว่าบ้านพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในเขตที่ดินที่โจทก์เช่ามา แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทแต่ขณะฟ้องโจทก์มิได้ครอบครองบ้านพิพาทหรือครอบครองที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านพิพาท การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนาหาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาเป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์สินที่เช่า ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 การที่จำเลยไม่ยอมรื้อบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2902/2528).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง - การเช่าที่ดิน - การโอนกรรมสิทธิ์ - ข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย - สิทธิของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เช่าทำนา นาย ป. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1ตกลงจะขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพียงแต่ตกลงกันให้โจทก์ไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เอง ต่อมาจำเลยที่ 2ขออายัดที่ดินพิพาท และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำ ตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และการที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ยังเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53วรรคหนึ่ง ที่ต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบถึงการจะขายนาและให้ผู้เช่านาได้แสดงความจำนงจะซื้อนาก่อนอีกด้วย และเมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทยังมิใช่เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายและขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าช่วงและการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์: สิทธิของผู้เช่าช่วงรายใดมีน้ำหนักมากกว่า
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาทได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่กระทรวงการคลังโดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจากกระทรวงการคลังเป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังโดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1อีก ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่า จำเลยที่ 1จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการกรณีดังกล่าวนี้ใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและกระทรวงการคลังให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3 เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากัน ทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าขึ้นศาลฎีกาชอบด้วยวิธีพิจารณา และสิทธิผู้เช่าที่ดินตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาให้โจทก์ เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เมื่อจำเลยไม่เห็นด้วย ก็ชอบที่จะคัดค้านต่อ ศาลฎีกาได้ การที่โจทก์ยื่นคำขอขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาโดย ทำเป็นคำแถลง มิใช่การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่ง เป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โจทก์มีความประสงค์เพียงว่า ขอให้ศาลชั้นต้นใช้ อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาให้ใหม่ และศาลชั้นต้นก็ได้ กำหนดเวลาให้โจทก์ได้มีโอกาสวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาได้ ต่อมาโจทก์ได้ วางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาจนครบภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาและสั่งรับฎีกาของโจทก์ภายหลังที่โจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย วิธีพิจารณา ในขณะที่จำเลยที่ 2 โอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ยังมีผลใช้ บังคับอยู่ โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยที่ 2 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัตินี้ แม้ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวถูก ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 ก็ไม่ลบล้างสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2โอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของตน ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทั้งสี่ทราบพร้อมทั้งราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงิน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิซื้อ ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 คืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ ในราคาและตาม วิธี การชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ได้ ขายให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ตาม มาตรา 41วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านา, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้เช่า, อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดิน, การลงมือทำประโยชน์
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติว่า คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล และคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง โดยไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่าไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่าประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี โดยคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และมีผลใช้บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ได้บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้องปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่านาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน 1 ปีและจำเลยแสดงความจำนงจะเช่านา ซึ่งโจทก์จะต้องให้จำเลยเช่านาเว้นแต่โจทก์จะร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก่อนสิ้นกำหนด 1 ปี เพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่จำเลยร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลขอเช่าทำนาของโจทก์หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปีและไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของจำเลยเนื่องจากพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใดให้อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่
of 9