คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิยื่นคำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นคำร้องถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย และต้องเกิดขึ้นหลังครบกำหนดเวลาที่ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่งอ้างเหตุเพียงประการเดียวว่า ผู้ร้องไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในเวลาอันสมควร ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 บัญญัติว่า "ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีและแบ่งปันมรดกให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728" แสดงว่า ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการแบ่งปันมรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี หากไม่ดำเนินการในเวลาดังกล่าวอาจถูกศาลถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายในหนึ่งปี การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกก่อนที่จะครบกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1732 ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องกระทำผิดหน้าที่ไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอันจะเป็นเหตุให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 และจะถือว่าผู้ร้องไม่มีความสามารถตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 (2) อันจะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ผู้คัดค้านยื่นร้องขอ จึงยังไม่มีเหตุตามคำร้องขอ ที่จะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือจำต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาผู้ร้องยังไม่แบ่งทรัพย์มรดกก็เป็นเหตุการณ์ภายหลังอันจะถือว่าเป็นเหตุตามคำร้องขอหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7928/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวิธีการคุมขังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 สงวนไว้สำหรับผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 บัญญัติว่า "ในกรณีมีเหตุจำเป็น เมื่อพนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้จำคุกผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามที่ระบุไว้ในหมายศาลที่ออกตามคำพิพากษานั้น หรือไม่น้อยกว่าสิบปี ในกรณีต้องโทษจำคุกเกินสามสิบปีขึ้นไป หรือจำคุกตลอดชีวิต โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้..." บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุก เป็นผู้ร้องขอ มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดจึงมิใช่บุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อฟื้นคดีอาญา: สามีขอรื้อฟื้นคดีแทนภรรยาที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ และอำนาจศาลในการสั่งรับคำร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขั้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 (4)
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8440/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: การประกาศรายชื่อผู้สมัครและการเพิกถอนการสมัคร
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้แล้ว แต่ต่อมาก่อนวันเลือกตั้งปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 และผู้คัดค้านได้ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือถึงผู้ร้องแจ้งว่าผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภายหลัง จึงมิใช่กรณีที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องตามความในมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงเป็นผู้ที่ผู้คัดค้านประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้ต้องรับโทษหรือผู้เกี่ยวข้อง ไม่รวมโจทก์/ผู้เสียหาย
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า และตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับสำนวนการไต่สวนและความเห็นแล้ว ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยมิได้ส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 9 วรรคสาม และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 บัญญัติเกี่ยวกับบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ คือ บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องรับโทษอาญาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยไม่ปรากฏว่า กฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์แต่อย่างใด แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เนื่องจากผู้ร้องได้ใช้สิทธิในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องคดี มีโอกาสนำเสนอพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างตามข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาตามสิทธิได้ต่อไป มิใช่ว่าเมื่อพบพยานหลักฐานใหม่ก็จะมาใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ กฎหมายมิได้บัญญัติให้สิทธิดังกล่าวแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีของผู้ร้องในฐานะโจทก์ก็ย่อมไม่มีวันจบสิ้น
of 2