คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิร่วมกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินร่วมกันและอำนาจฟ้องขับไล่: การฟ้องขับไล่ต้องคำนึงถึงสิทธิครอบครองร่วมกันของผู้ถูกฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน แม้จำเลยที่ 1 ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ไปยื่นคำขอออก น.ส.3 ก.ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินทั้งแปลงย่อมเป็นการลบล้างสิทธิครอบครองของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ด้วย และแม้จำเลยที่ 1 จะเช่าที่ดินส่วนของโจทก์และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ได้เพราะเป็นการขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เองด้วยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่อยู่จริงหรือไม่เพียงใด สมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าร่วมกันของสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน5 คน ทุกคน อยู่ในห้องเช่าพิพาทโดยน้องชายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมแบ่งให้อาศัยทำมาค้าขาย ต่อมาน้องชายจำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์จำเลย แต่จำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ โจทก์จำเลยได้สิทธิการเช่ามาในฐานะเจ้าของร่วมกัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม: เอกสารระบุเจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้วถือเป็นพินัยกรรมได้ การระบุสิทธิร่วมกันชัดเจน ไม่เป็นเหตุให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
เอกสารพินัยกรรม นอกจากมีหัวข้อข้างบนระบุว่าเป็นหนังสือพินัยกรรมแล้วยังมีข้อความว่า "ขอทำพินัยกรรม" อีกด้วย ย่อมเข้าใจว่าเจตนายกทรัพย์สมบัติให้เมื่อตายแล้ว การยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปหาใช้คำว่าพินัยกรรมไม่ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
บุคคลสองคนมีกรรมสิทธ์ร่วมกันในที่ดิน แสดงว่ามีสิทธิ์ฝ่ายละครึ่ง ต่างฝ่ายมีสิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินส่วนของตนออกมาได้ ฉะนั้น การที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมผู้หนึ่งทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้ผู้อื่น จึงไม่ใช่กรณีที่ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจจะทราบแน่นอนได้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังนี้หาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกและการจัดการมรดกเมื่อมีสิทธิร่วมกัน ศาลไม่ชี้ขาดส่วนแบ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาทรัพย์เป็นของตนทั้งหมดคำขอของโจทก์ตามฟ้องนั้น เพื่อจะได้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ตายในที่ดินและตึกพิพาท ศาลก็ต้องยกฟ้อง คดีชนิดนี้ศาลไม่สมควรที่จะชี้ขาดว่าฝ่ายใดควรได้ส่วนแบ่งเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในมรดก: ทายาทผู้ครอบครองและผู้ถือโฉนดมีสิทธิร่วมกัน
ทายาทซึ่งควรได้รับมรดกด้วยกัน คนหนึ่งครอบครองที่นามรดกอีกคนหนึ่งยึดโฉนดนามรดกจนได้โอนใส่ชื่อมาแล้วเช่นนี้แม้จะเกิน 1 ปีผู้ครอบครองก็จะเอานาเป็นของตนผู้เดียวไม่ได้ต้องแบ่งไปคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิร่วมกัน แม้ทำสัญญาในนามฝ่ายเดียว ก่อนหย่าขาด เมื่อยังอยู่ร่วมกันและไม่ได้ตกลงเรื่องสิทธิเช่า
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัสญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญาเช่านี้ จึงเป็นสิทธิร่วมกันระหว่างสามีภรรยา เมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่า ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมกันในสัญญาเช่าหลังหย่า: สัญญาทำก่อนหย่า สิทธิยังคงเป็นของทั้งสองฝ่ายหากไม่มีข้อตกลงแยก
ภรรยาเกิดระหองระแหงกับสามี จึงแยกไปทำสัญญาเช่าตึกในนามของภรรยา และอยู่ในตึกรายนี้ แต่ต่อมาได้คืนดีกัน และสามีได้มาอยู่รวมในตึกรายนี้ด้วย ภายหลังจึงได้ตกลงทำหนังสือหย่าขาดจากกัน แต่สามีก็ยังคงอยู่ในตึกรายนี้ด้วยตลอดมา ดังนี้ แม้สัญญาจะทำในนามของภรรยา แต่ขณะนั้นยังมิได้หย่าขาดจากกัน และการทำสัญญาเช่าก็ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยา ฉะนั้นสิทธิตามสัญญาเช่านี้จึงเป็นสิทธิรวมกันระหว่างสามีภรรยาเมื่อตกลงทำสัญญาหย่ากัน มิได้ตกลงในเรื่องสิทธิการเช่ารายนี้ประการใดแล้ว และทั้งสองฝ่ายยังครอบครองอยู่ด้วยตลอดมา จึงยังเป็นสิทธิร่วมกันอยู่ ภรรยาจะมาฟ้องขับไล่สามีให้ออกไปจากตึกเช่ายังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผ่านทางจำเป็น: ที่ดินแบ่งแยกจากแปลงเดียวกันมีสิทธิใช้ทางจำเป็นร่วมกัน แม้มีการฟ้องร้องเรียกทางเพิ่มเติม
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 319 เป็นที่ดินแปลงใหญ่ ต่อมามีการแบ่งแยกออกไปรวม 8 แปลง โดยที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงต่างแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 ด้วย ส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกมีโจทก์ที่ 2 และนาย ล. กับพวกอีก 6 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และโฉนดที่ดินของนาย ล. ที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 แปลงใหญ่ เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเดียวกับที่ดินโจทก์ทั้งสาม เมื่อนาย ล. ผ่านที่ดินจำเลยซึ่งล้อมอยู่ออกไปสู่ทางสาธารณะคลองคอกกระบือและถนนเอกชัยได้ โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 319 ย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นได้เช่นเดียวกับนาย ล. จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นทางจำเป็นได้อีกต่อไป และถือว่าโจทก์ทั้งสามมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินแปลงอื่นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7800/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางร่วมในหมู่บ้านจัดสรร: ที่ดินนอกโครงการไม่มีสิทธิใช้ทางสาธารณะของโครงการ
หมู่บ้านจัดสรรของจำเลยได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย แสดงว่ามีการจัดทำแผนผังโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินหรือประโยชน์เกี่ยวกับสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง มีหลักเกณฑ์และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว สิ่งก่อสร้าง ถนน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลใดจะทำให้เสื่อมค่าทำให้ขาดประโยชน์ หรือผิดแผกไปจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้
of 2