คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินรางวัลพิเศษและข้อจำกัดการแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน
ตามหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษระบุว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษโดยมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษ ดังนั้น แม้โจทก์จะลาออกไปในภายหลัง โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี & ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายตามสิทธิ แม้นายจ้างมีข้อบังคับ
แม้จำเลยที่ 1 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดสิ้นภายในปีนั้นๆ ไม่สามารถสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปสมทบในปีต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างได้กำหนดวันที่จะให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีหรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่โจทก์สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2543 จำนวน 4 วันแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2543 ครบตามที่กฎหมายกำหนด จึงต้องนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2543 มารวมคำนวณจ่ายเป็นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีด้วย
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ในวันที่ 6 มีนาคม 2544 จึงมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือ วันที่ 30 เมษายน 2544 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และ ป.พ.พ. มาตรา 582 เมื่อจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2544 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างที่โจทก์ควรจะได้รับนับแต่วันที่ 6 มีนาคม 2544 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2544 แต่โจทก์ขอมาเพียง 1 เดือน 24 วัน จึงให้ตามที่โจทก์ขอ
โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 5 วัน แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายแก่โจทก์เพียง 1 วัน ย่อมไม่ชอบ แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงให้จำเลยที่ 1 จ่ายในส่วนที่ขาดอีก 4 วัน แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ แม้ไปทำงานที่เดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในการเลิกจ้างและค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถ โดยบางครั้งทำงานที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร บางครั้งต้องปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างตามคำสั่งของจำเลยในจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2543 จำเลยได้ออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี เมื่อจำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 แม้โจทก์จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวันก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โดยเลิกจ้างโจทก์นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2543 เป็นต้นไปก็ตาม แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว นายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถในสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างที่จังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานที่จังหวัดนนทบุรี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2543 แม้โจทก์ยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ในระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวัน ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่มากกว่าสามวันตั้งแต่วันที่3 มกราคม 2543 เป็นต้นไป แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ได้ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากนายจ้างที่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ไม่ได้ทำงานต่อเนื่อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลยแม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ตอนหนึ่งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อทำลายและกำจัดโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน อีกทั้งจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121(2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้วยังรับคนอื่นเข้ามาทำงานแทนโจทก์ เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนตามมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก่อน กรณีไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่: สิทธิการเลิกจ้างและค่าจ้างระหว่างช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 สามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ ดังนั้น คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ไปทำงานในโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการดังกล่าวแม้จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทุกวัน ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(5)
สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ทุกวัน ระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อชำระหนี้ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและสิทธิลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดแม้จะอยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนไปเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินจำนวน 47,647.22บาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของโจทก์จากบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 23,24 และยังเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 จำเลยที่ 1จึงต้องคืนเงินที่หักไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาออก และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนในกรณีเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนดังกล่าวจะพึงมีได้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง และลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119เท่านั้น หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องชดใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการลาออกโดยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกตามส่วนตามมาตรา 67
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7106/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ยินยอมลูกจ้างเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ชอบธรรม และการสอบถามสิทธิเป็นสิทธิลูกจ้าง
จำเลยมิได้จัดทำข้อตกลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นหนังสือ แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันจ่ายค่าจ้างจำเลยจะจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา ตั้งแต่ปี 2533 ตลอดมาโดยลูกจ้างของจำเลยไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน จึงถือได้ว่ากำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างระหว่างเวลา 15 ถึง 17 นาฬิกา เป็นสภาพการจ้างที่มีผลผูกพันจำเลยกับลูกจ้างของจำเลยทั้งหมดการที่จำเลยเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างมาเป็นระหว่างเวลา 12 ถึง 13 นาฬิกา ย่อมมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าสภาพการจ้างเดิมจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20
การที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานของผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรการของจำเลยเพื่อสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างและขอใบอนุญาตผ่านออกจากอาคารที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานไปเจรจากับฝ่ายการเงินที่อยู่ในอีกอาคารหนึ่งเพื่อให้จ่ายค่าจ้างในเวลาเดิมตามสภาพการจ้างที่ปฏิบัติกันมาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ มิใช่กรณีที่ลูกจ้างจะต้องร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสอง แม้ขณะที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าไปในห้องทำงานดังกล่าวจะเป็นเวลาการทำงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำด้วยสาเหตุดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย และการใช้สิทธิฟ้องร้องของลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายซึ่งคำนวณแล้วเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายเพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท แต่ต้องถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดไม่เคลือบคลุม
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
of 17