พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสิทธิอาศัยไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องกรรมสิทธิ์
สัญญาสิทธิอาศัยมีข้อความว่า "ถ้าผู้อาศัยและบริวารไม่ประสงค์จะอาศัยอยู่ในห้องชุดต่อไป ผู้อาศัยจะโอนสิทธิอาศัยให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยผู้รับโอนสิทธิและฐานะเช่นเดียวกับผู้อาศัยทุกประการ หรือถ้าหากผู้อาศัยหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่ผู้อาศัยกำหนดให้ ประสงค์จะซื้อห้องชุดดังกล่าว ผู้อาศัยก็มีสิทธิจะซื้อห้องชุดดังกล่าวได้ในราคาเท่ากับค่าตอบแทนในข้อ 1 และไม่จำต้องชำระราคาให้แก่ผู้ให้อาศัยอีกนอกจากค่าธรรมเนียมของทางราชการในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท่านั้น แต่ให้ถือเอาค่าตอบแทนในข้อ 1 เป็นค่าราคาของห้องชุดที่ผู้อาศัยได้ชำระแล้ว" ตามข้อความในสัญญาดังกล่าวผู้อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด คงมีเฉพาะสิทธิอายัดเท่านั้นผู้อาศัยจึงไม่มีสิทธิทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของห้องชุดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยในที่ดิน: สัญญาไม่จดทะเบียนเป็นบุคคลสิทธิ ไม่สร้างทรัพยสิทธิสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยโดย ม. เจ้าอาวาส ทำหนังสือสัญญาตกลงยอมให้โจทก์ปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยอยู่อาศัยตลอดชีวิตของโจทก์ และลูกหลานเหลนลื้อ และตกลงจะไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิดังกล่าว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะปลูกสร้างบ้านและห้องแถวในที่ดินของจำเลยได้ตามข้อตกลงแต่ข้อกล่าวอ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยในทรัพย์มรดก: สิทธิของบุตรและผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของอ.ที่เคยให้จำเลยอยู่อาศัยจำเลยให้การต่อสู้ว่าตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับสามี ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าตึกพิพาทเป็นของอ.หรือของจำเลย ที่ศาลยกเอาสิทธิอาศัยของบุตรจำเลยที่ได้มาโดยพินัยกรรมตามที่พิจารณาได้ความมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ดี ข้อที่ว่า อ.ยกตึกพิพาทให้บุตรจำเลยอยู่อาศัยและการที่จำเลยได้อยู่ร่วมด้วยกับบุตรเป็นความสุขในครอบครัว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247ว่าจำเลยมีสิทธิอาศัยในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุตรจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหน้าที่ผู้อาศัย - ความรับผิดในความเสียหายจากเพลิงไหม้ - สิทธิอาศัยไม่สมบูรณ์
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะบรรยายว่าจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว ยังบรรยายด้วยว่า จำเลยทั้งสามทำผิดหน้าที่ผู้อาศัยเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่อาศัยเสียหาย คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยด้วยว่า จำเลยทั้งสามในฐานะผู้อาศัยจะต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดเพลิงไหม้แก่ห้องแถวของโจทก์หรือไม่
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า โจทก์ให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยในห้องแถวของโจทก์โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เพราะจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 3 และเป็นมารดาจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเห็นได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยดังกล่าวมิใช่เป็นสิทธิอาศัย ทั้งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่อาจนำบทบัญญัติบรรพ 4ลักษณะ 5 ว่าด้วยสิทธิอาศัยมาใช้บังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ได้.
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า โจทก์ให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยในห้องแถวของโจทก์โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เพราะจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 3 และเป็นมารดาจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเห็นได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยดังกล่าวมิใช่เป็นสิทธิอาศัย ทั้งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่อาจนำบทบัญญัติบรรพ 4ลักษณะ 5 ว่าด้วยสิทธิอาศัยมาใช้บังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะการอยู่อาศัยที่มิได้ทำสัญญาเช่าหรือจดทะเบียนสิทธิอาศัย ไม่อาจใช้บทบัญญัติสิทธิอาศัยบังคับได้
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะบรรยายว่าจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว ยังบรรยายด้วยว่า จำเลยทั้งสามทำผิดหน้าที่ผู้อาศัยเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่อาศัยเสียหาย คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยด้วยว่า จำเลยทั้งสามในฐานะผู้อาศัยจะต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดเพลิงไหม้แก่ห้องแถวของโจทก์หรือไม่ โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า โจทก์ให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยในห้องแถวของโจทก์โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เพราะจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 3 และเป็นมารดาจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ซึ่งเห็นได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยดังกล่าวมิใช่เป็นสิทธิอาศัย ทั้งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่อาจนำบทบัญญัติบรรพ 4ลักษณะ 5 ว่าด้วยสิทธิอาศัยมาใช้บังคับให้จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, สิทธิอาศัยที่ไม่จดทะเบียน, และอำนาจฟ้องขับไล่
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทน แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไปเพราะได้รับยกเว้นตาม ป. รัษฎากร
จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย
ข้อตกลงที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบกโดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นเข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้.
จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย
ข้อตกลงที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบกโดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นเข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งเมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโอนตามที่ราชพัสดุ สิทธิอาศัยไม่บริบูรณ์ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่กระทรวงในรัฐบาลแต่งตั้งบุคคลให้ฟ้องคดีแทนแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ไม่ทำให้เสียไป เพราะได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร จำเลยปลูกบ้านบนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในราชการกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก บ้านย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน เมื่อกองทัพบกโอนที่ดินให้โจทก์จึงเท่ากับโอนบ้านให้แก่โจทก์ด้วย ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับกองทัพบกที่ว่า จำเลยยกบ้านพิพาทให้แก่กองทัพบก โดยกองทัพบกตกลงให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทได้ตลอดไปจนกว่ากองทัพบกจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เข้าลักษณะสิทธิอาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ได้จดทะเบียนทรัพยสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ ใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องปราศจากนิติกรรมหรือสิทธิอื่นใด หากมีสิทธิอาศัยย่อมไม่เกิดการครอบครองปรปักษ์
บิดาโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโจทก์ครอบครองสืบสิทธิต่อจากบิดาในฐานะผู้อาศัยเจ้าของที่ดินได้ขอออกโฉนดและโอนกรรมสิทธิ์ต่อมาจนถึงจำเลยซึ่งยังคงปล่อยให้โจทก์อยู่ต่อมาเป็นเรื่องของการให้อยู่อาศัยในฐานะเป็นญาติตามที่เคยเป็นมาสมัยบิดาโจทก์ตราบใดที่โจทก์ไม่บอกกล่าวไปยังเจ้าของที่พิพาทว่าไม่ยึดถือที่พิพาทแทนผู้เป็นเจ้าของอีกต่อไปโจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์เหนือที่พิพาทยันจำเลยไม่ได้ที่พิพาทไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินโดยสิทธิอาศัยไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมซึ่งได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ถนนสาธารณะมาราว 40ปี จนได้ภารจำยอมแล้วจึงขายให้โจทก์ ต่อมาจำเลยปิดทางภาระยอมนั้นเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเปิดได้ความว่าเดิมที่ดินแปลงของจำเลยกับแปลงของโจทก์เป็นที่ดินมรดกแปลงเดียวกัน เมื่อได้รับมรดกมาแล้วทายาทได้แบ่งโฉนดกันที่แปลงของโจทก์อยู่ข้างใน ส่วนแปลงของจำเลยอยู่ติดถนนสาธารณะมีบ้านมรดกอยู่ในที่ดินแปลงของจำเลยหนึ่งหลัง เจ้าของที่ดินเดิมแปลงของโจทก์ได้อาศัยอยู่ในบ้านมรดกหลังนี้ตลอดมา เพิ่งออกไปตอนขายที่ดินให้โจทก์แล้ว ดังนี้ การที่เจ้าของที่ดินเดิมอยู่ในบ้านมรดกนั้นเป็นการอยู่โดยใช้สิทธิอาศัยที่ดินจำเลยฉะนั้น การเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะย่อมเป็นการเดินโดยใช้สิทธิอาศัยจำเลย ไม่ใช่โดยปรปักษ์แม้จะใช้เดิน ติดต่อกันมาถึง 40 ปี ก็ไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความโจทก์เองเพิ่งใช้ทางเดินผ่านที่ดินแปลงของจำเลยเมื่อได้รับโอนมายังไม่ถึงสิบปี ที่ดินแปลงของจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัย vs. ภารจำยอม: การใช้ทางเดินผ่านที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ได้สิทธิโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมซึ่งได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ถนนสาธารณะมาราว 40ปี จนได้ภารจำยอมแล้วจึงขายให้โจทก์ ต่อมาจำเลยปิดทางภารจำยอมนั้นเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเปิดได้ความว่าเดิมที่ดินแปลงของจำเลยกับแปลงของโจทก์เป็นที่ดินมรดกแปลงเดียวกัน เมื่อได้รับมรดกมาแล้วทายาทได้แบ่งโฉนดกันที่แปลงของโจทก์อยู่ข้างใน ส่วนแปลงของจำเลยอยู่ติดถนนสาธารณะ มีบ้านมรดกอยู่ในที่ดินแปลงของจำเลยหนึ่งหลัง เจ้าของที่ดินเดิมแปลงของโจทก์ได้อาศัยอยู่ในบ้านมรดกหลังนี้ตลอดมา เพิ่งออกไปตอนขายที่ดินให้โจทก์แล้ว ดังนี้ การที่เจ้าของที่ดินเดิมอยู่ในบ้านมรดกนั้นเป็นการอยู่โดยใช้สิทธิอาศัยที่ดินจำเลยฉะนั้น การเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะย่อมเป็นการเดินโดยใช้สิทธิอาศัยจำเลย ไม่ใช่โดยปรปักษ์ แม้จะใช้เดิน ติดต่อกันมาถึง 40 ปี ก็ไม่ได้ภารจำยอมโดยอายุความโจทก์เองเพิ่งใช้ทางเดินผ่านที่ดินแปลงของจำเลยเมื่อได้รับโอนมายังไม่ถึงสิบปี ที่ดินแปลงของจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงของโจทก์