พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การลดขนาดทางภาระจำยอมกระทบสิทธิเจ้าของสามยทรัพย์
ทางภาระจำยอมที่พิพาทมีความกว้างมากกว่า 3 เมตร การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ย้ายทางภารจำยอมไปอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยให้ทางภารจำยอมเหลือความกว้างเพียง 1 เมตรนั้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสองแต่ก็ทำให้จำเลยทั้งสามได้ใช้ทางภารจำยอมแคบลงกว่าเดิม อันเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ในอันที่จะใช้ทางภารจำยอมนั้นลดน้อยลง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และมาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมไปยังส่วนอื่นของที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินและการรังวัดเขต - การล้อมรั้วลำเหมืองสาธารณะประโยชน์ละเมิดสิทธิ
ตามสภาพและตำแหน่งของที่ดินโจทก์ โจทก์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้สะดวกที่สุดก็โดยผ่านลำเหมืองพิพาทซึ่งเป็นลำเหมืองสาธารณะ การที่จำเลยล้อมรั้วลำเหมืองพิพาทย่อมทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดือดร้อนและเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนรั้วดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ถือเป็นการละเมิด เจ้าของสิทธิไม่สละสิทธิจากการเสียภาษี
โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินอำเภอเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วได้อ่านข้อความให้ฟังจำเลยบอกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการทำสัญญาจำนองไม่ต้องการทำสัญญาขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่าทำสัญญาขายฝากก็เหมือนสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยได้ปรึกษากับสามีแล้วจึงได้ตกลงทำสัญญาขายฝาก ดังนี้ การทำสัญญาขายฝากดังกล่าวจึงเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากนี้หาใช่เป็นนิติกรรมอำพรางไม่ การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรก และจำเลยไม่เคยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง ดังนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทต่อมาอีกนานเท่าใดก็ตามโจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของโรงเรือนบนที่ดินขายฝาก: การขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิ และการฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านที่รับซื้อฝาก ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งตามฟ้องซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยโดยผู้ร้องสอดได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ปลูกสร้างในระหว่างสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่คืนเป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องสอดโดยไม่ใช้ค่าโรงเรือนไม่ได้ ขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอด หากจะขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินก็ให้โจทก์จ่ายค่าโรงเรือนดังกล่าวเป็นเงิน 50,000 บาท แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ หากความจริงเป็นดัง ที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างในคำร้อง บ้านเลขที่ ดังกล่าวย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์อาจต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน ที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้ร้องสอด หรือผู้ร้องสอดอาจมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนนั้นไปก็ได้จึงเป็นการ จำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อ ยังให้ได้รับ ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ชอบที่ศาลชั้นต้น จะ อนุญาตอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และประโยชน์ต่อที่ดิน
โจทก์มีบ้านให้บุคคลอื่นเช่าในที่ดินของโจทก์ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแม้หากผู้เช่าสามารถเดินเข้าออกที่ดินพิพาทได้โดยเป็นภาระจำยอมแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์จากการเก็บค่าเช่ามากขึ้นทั้งทำให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมและรื้อถอนรั้วที่ปิดกั้นระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทล้อมรั้วที่ดินพิพาทโดยด้านหน้ามีไม้กั้นติดข้อความว่า "ที่หวงห้าม ห้ามผ่าน" ด้านหลังใช้เสาไม้อันเดียวปักไว้มีป้ายติดข้อความว่า "ที่ส่วนตัวห้ามเดิน" และด้านข้างปักป้ายมีข้อความว่า "ที่สงวนลิขสิทธิ์" แต่ต่อมาในเดือนเดียวกันมีผู้รื้อถอนไม้ที่ใช้กั้นที่ดินพิพาทออก โจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และผู้ที่เคยใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกก็ยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกต่อมาอีก การกั้นรั้วไม้ดังกล่าวไม่มีผลให้รับฟังว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้ที่ดินพิพาทโดยความไม่สงบหรือมิได้ใช้ติดต่อกันมาเกิน 10 ปี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และมาตรา 1393 แสดงว่าสิทธิการใช้ที่ดินพิพาทอันตกเป็นภาระจำยอมกฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์หาได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ ทั้งตกติดไปยังผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์นั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกจากที่ดินของตนไปสู่ทางสาธารณะ แม้ต่อมาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จะได้โอนขายที่ดินของตนแก่บุคคลอื่น ก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ 2ระงับไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: สิทธิเจ้าของในการเรียกค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา และลักษณะของข้อตกลงเบี้ยปรับ
สัญญาเช่าซื้อที่กำหนดให้เจ้าของมีสิทธิโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลใด ก็ได้ และที่สัญญามิได้ระบุกำหนดให้ ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อได้ ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตาม ที่กำหนดไว้ในสัญญาหาทำให้สัญญาเช่าซื้อกลายเป็นสัญญาอย่างอื่นไปไม่ ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า "ถ้า ผู้ซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ก็ดี กระทำผิดสัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ...ถือ ว่าสัญญาเลิกกันทันทีโดย เจ้าของไม่ต้องบอกกล่าว ...ถ้า เจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ไปแล้วยังไม่คุ้ม ราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตาม สัญญานี้กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญาย่อมใช้บังคับกันได้ ไม่มีกฎหมายห้าม ดังนี้ เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเจตนาครอบครองปรปักษ์และการยอมรับสิทธิเจ้าของเดิม ทำให้ไม่สามารถอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้อีก
ระหว่างที่ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่พิพาท ผู้คัดค้านได้ ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ในที่สุดผู้ร้องยอมให้ผู้คัดค้านเข้าทำนาในที่พิพาทต่อไป ซึ่ง แสดงว่าผู้ร้องตัดสินใจไม่เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท พฤติการณ์ของผู้ร้องแสดงว่าได้ สละเจตนาครอบครองโดย ปรปักษ์และยอมรับสิทธิของผู้คัดค้านซึ่ง มีชื่อ ในโฉนดที่ดินพิพาทแล้ว ผู้ร้องจะมาอ้างสิทธิครอบครองโดย ปรปักษ์อีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งแยกที่ดินร่วมกัน แม้มีการร้องขอที่ดินคืนจากเจ้าของเดิมก็ไม่เป็นอุปสรรค
โจทก์จำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงพิพาทร่วมกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินแปลงพิพาทได้ เว้นแต่ในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ในการที่โจทก์จะให้เช่าที่ดินแปลงพิพาทถือได้ว่าเป็นโอกาสอันควรที่โจทก์จะขอแบ่งแยก ส่วนการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนเดิมร้องขอที่ดินคืนจากโจทก์ ก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าของเดิมกับโจทก์เท่านั้น ไม่กระทบกระเทือนถึงจำเลย จำเลยจะอ้างว่าไม่เป็นโอกาสอันควรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินแทนกัน สิทธิครอบครอง vs. สิทธิเจ้าของ และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย การที่จำเลยได้ไปยื่นขอรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทเมื่อปี พ.ศ. 2520 และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2520 เจ้าหน้าที่จึงมิได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการถือที่พิพาทโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าตนไม่เจตนาที่จะยึดถือที่พิพาทไว้แทนโจทก์อีกต่อไปดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จึงต้องถือว่าจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์อยู่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตัดต้นตาลของโจทก์ 6 ต้นเป็นเงิน 3,000 บาท โจทก์เบิกความลอย ๆ ว่าเวลานี้เหลือต้นตาลเพียง 4 ต้นในที่พิพาท ไม่ทราบว่าใครตัดไป 8 ต้น น้องสาวโจทก์บอกโจทก์ว่าจำเลยตัดไปทำบ้าน ตามคำของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนตัด ที่โจทก์อ้างว่าน้องสาวโจทก์บอกว่าจำเลยเป็นคนตัดก็เป็นพยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้ โจทก์จึงเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตัดต้นตาลของโจทก์ 6 ต้นเป็นเงิน 3,000 บาท โจทก์เบิกความลอย ๆ ว่าเวลานี้เหลือต้นตาลเพียง 4 ต้นในที่พิพาท ไม่ทราบว่าใครตัดไป 8 ต้น น้องสาวโจทก์บอกโจทก์ว่าจำเลยตัดไปทำบ้าน ตามคำของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนตัด ที่โจทก์อ้างว่าน้องสาวโจทก์บอกว่าจำเลยเป็นคนตัดก็เป็นพยานบอกเล่ารับฟังไม่ได้ โจทก์จึงเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของเดิมยังมีสิทธิ
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยผู้ร้องทราบว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มิใช่ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับโจทก์ จึงถือได้ว่าผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทไว้โดยไม่สุจริต สิทธิของผู้ร้องในการซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บ้านพิพาทจึงเป็นของจำเลยที่ 2 และผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ในคดีที่โจทก์นำยึดบ้านพิพาทบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2