คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเจ้าของที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินเดิม vs. การได้มาโดยครอบครองปรปักษ์ & การโอนสิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลก็ได้มีคำสั่งตามคำร้องนั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 3ที่ 4 จะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4ไม่สุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 ผู้โอน ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ โจทก์ผู้ที่มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงเป็นบุคคลภายนอก มีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดินจากการกีดขวางการใช้ถนนส่วนกลาง และการก่อสร้างปิดกั้นแสงลม
ถนนทุกสายในหมู่บ้านรวมทั้งถนนซอย ที่จำเลยสร้างประตูเหล็กปิดกั้นเป็นถนนที่เจ้าของที่ดินผู้จัดสรรสร้างไว้เพื่อเป็นที่สาธารณูปโภคแก่เจ้าของที่ดินและบ้านในหมู่บ้านทุกแปลง โจทก์เคยใช้ถนนซอย ดังกล่าวเป็นที่กลับรถยนต์มาก่อนที่จำเลยจะสร้างประตูเหล็กปิดกั้น เมื่อถนนซอย นี้ติดกับด้านข้างที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ในการกลับรถยนต์ได้ ถนนซอย ดังกล่าวจึงมิใช่มีไว้เพียงเพื่อเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยทำประตูเหล็กปิดกั้นจึงทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้กลับรถยนต์ได้ แม้ประตูเหล็กไม่ได้ใส่กุญแจโจทก์สามารถที่จะเปิดประตูกลับรถยนต์ได้ แต่การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการสะดวก การที่จำเลยทำประตูเหล็กปิดกั้นถนนซอยจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สะดวกในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อประตูเหล็กออกไปได้ แม้ลักษณะของอาคารที่จำเลยสร้างจะเป็นการสร้างหลังคาคลุมถนนซอย มีความสูงเหนือกำแพงรั้วด้านข้างของบ้านโจทก์ก็ตาม แต่เป็นการสร้างติดกับรั้วบ้านโจทก์ หลังคาของอาคารเกือบจะติดกับหลังคาบ้านโจทก์ซึ่งเป็นบ้านชั้นเดียวแม้จะมีช่องว่างระหว่างรั้วบ้านโจทก์กับหลังคาอาคารเพื่อให้แสงสว่างและลมผ่านไปได้ แต่แสงสว่างและลมก็ไม่สามารถผ่านไปได้ตามปกติเหมือนอย่างเช่นที่ไม่มีหลังคาอาคาร การที่จำเลยสร้างอาคารคลุมถนนซอย สาธารณะโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ ปิดบังทางของแสงสว่างและลมที่จะเข้าไปในบ้านของโจทก์ได้ตามปกติย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงได้รับความเสียหายหรืออย่างน้อยก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นได้ตามปกติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้ออาคารออกไปจากถนนซอย สาธารณะได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและการรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและผู้รุกล้ำ
การที่ ส. และจำเลยที่ 2 มีข้อตกลงกับบริษัท ท. ว่าบริษัทท. ยอมให้อาคารเลขที่ 390/8 และ 390/9 ชั้นที่ 3 และ 4รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 40581 ของบริษัท ท. คงเป็นอยู่ตามเดิม โดย ส. และจำเลยที่ 2 ต้องยอมให้บริษัท ท. ติดตั้งป้ายโฆษณาที่ด้านหน้าของอาคารดังกล่าว ชั้น 3 และ 4 ในส่วนที่รุกล้ำเป็นการแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่เป็นการที่เจ้าของทรัพย์ยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือรับประโยชน์ในตัวทรัพย์ หากแต่เป็นเพียงการยอมให้รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์เท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นการชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดตลอดจนมิได้มีค่าเช่าอีกด้วย กรณีไม่เข้าลักษณะเช่าทรัพย์
กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่อสังหาริมทรัพย์แปลงหนึ่งต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้อง ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ข้อตกลงนี้จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิ เมื่อส. และบริษัท ท. มิได้จดทะเบียนหนังสือข้อตกลงดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวนั้นจึงไม่โอนมายังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับโอน
ผู้ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมและไม่ว่าผู้รับโอนภารยทรัพย์จะรับโอนมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องปราศจากสิทธิของเจ้าของที่ดิน แม้ครอบครองเกิน 10 ปีก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์ และการได้รับอนุญาตคนอนาถายังต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้ร้องเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดย อาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินแม้ครอบครองเป็นเวลาเกิน 10 ปี ก็หาได้ กรรมสิทธิ์โดย การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ การได้ รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดย ไม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีในศาลนั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้อง ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทน คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ผู้ร้องจะได้ รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่ เมื่อผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษา ให้ผู้ร้องใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้คัดค้านได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
การที่จำเลยใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 มีคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งออกทับที่สาธารณประโยชน์นั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อจุดประสงค์ในการสงวนและรักษาไว้ซึ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมหาใช่เป็นการใช้สิทธิอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดดังกล่าว
เอกสารที่จำเลยยื่นต่อศาลเพื่อส่งสำเนาให้แก่โจทก์ เป็นพยานที่เกี่ยวกับประเด็นอันสำคัญในคดี แม้จะยังมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน เพราะความพลั้งเผลอของเจ้าหน้าที่ศาล แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินเช่า-ซื้อขายบ้านพิพาทโมฆะ-การรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
แม้บ้านพิพาทจะปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์บางส่วนและบนที่ดินของกรมธนารักษ์บางส่วนซึ่งโจทก์เป็นผู้เช่ามาจากกรมธนารักษ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมที่ไม่มีสิทธิเข้าอยู่ในที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาได้ โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องแทนกรมธนารักษ์แต่อย่างใด และแม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทให้แก่ทายาทไปก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่มูลคดีที่พิพาทกันได้เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง โจทก์มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยและจำเลยร่วมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด รวมตลอดถึงการบังคับคดีไปตามผลของคำพิพากษาด้วย จำเลยร่วมซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยในลักษณะเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายบ้านพิพาทย่อมเป็นโมฆะ บ้านพิพาทยังเป็นของจำเลย จำเลยซึ่งปลูกบ้านพิพาทบนที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาโดยไม่มีสิทธิจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนบ้านพิพาทและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ และการที่จำเลยร่วมได้เข้ายึดถือครอบครองบ้านพิพาทโดยได้จัดให้ผู้อื่นเช่าและเข้าอยู่ในบ้านพิพาท เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แม้การซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมจะเป็นโมฆะ จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ ก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางโดยอาศัยสิทธิเจ้าของที่ดิน มิใช่การได้มาซึ่งภาระจำยอมตามอายุความ
ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่มีมาอยู่แต่เดิมแล้วก่อนที่โจทก์จะใช้เป็นทางผ่านเข้าออกโจทก์เริ่มใช้ทางพิพาทเข้าออกขณะพี่ชายโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนั้นแทนคณะพ่อค้า และโจทก์เป็นคณะกรรมการดูแลที่ดินคนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยการถือวิสาสะมิใช่เป็นการใช้สิทธิปรปักษ์ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ และขอบเขตการใช้สิทธิในที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิเหนือพื้นดินโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสร้างรางน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยและจำเลยมีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์สอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยรื้อรางน้ำดังกล่าวโดยเชื่อว่าได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิในที่ดินตามสมควรแก่การสร้างตึกแถวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยระบุราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ศาลคุ้มครองสิทธิเจ้าของที่ดินที่ได้มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
โจทก์ซื้อที่ดินราคา 15,000 บาท แต่ระบุจำนวนเงินในสัญญาซื้อขายเพียง 10,000 บาท โดยซื้อตามเนื้อที่ในโฉนด รู้แนวเขตคร่าว ๆ ไม่ได้ไปดูที่ดิน พฤติการณ์ดังนี้ไม่พอถือว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างติดกัน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและหน้าที่ในการป้องกันความเสียหาย
ตึกของโจทก์และจำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตรช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้ การที่ฝาผนังตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจำเลยนี้ โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจำเลยในที่ดินของจำเลยอาจจะไปติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้ การที่จำเลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้โดยไม่ปรากฏว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่
of 5