พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน, การบอกเลิกสัญญา, และสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกค่าเช่าค้างชำระ
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดเวลา 6 ปี แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 แต่หลังจากครบ 3 ปีแล้ว จำเลยยังคงเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีกโดยโจทก์มิได้ทักท้วง จึงต้องถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งโจทก์จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 566 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่ครบ 2 เดือน ไม่ถูกต้องตามมาตรา 566 การเลิกสัญญาของโจทก์จึงไม่ชอบ แต่นอกจากโจทก์จะตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าสัญญาเช่าครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ยังตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าอีกด้วย ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในข้อนี้ไว้ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าและโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแล้ว นับถึงวันฟ้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามมาตรา 560 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่เช่าและเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างและสิทธิในการริบหลักประกัน กรณีลูกหนี้ไม่เริ่มทำงานตามสัญญา
ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบหินคลุกให้แก่เจ้าหนี้เลย เจ้าหนี้จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้เจ้าหนี้คงมีสิทธิ ริบหลักประกันและเรียกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ตามสัญญาข้อ 20 เท่านั้น หาใช่กรณีลูกหนี้ทำงานตามสัญญาแล้ว ส่งมอบงานล่าช้าที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิปรับเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนด: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้ นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมาก ของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อ นำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่ โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์ จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีลูกหนี้ร่วม - ไม่จำเป็นต้องบังคับพร้อมกัน
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาอยู่ด้วยคนหนึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้สิ้นเชิงหรือ แต่โดยส่วนก็ย่อมได้เพราะเป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้บังคับคดีมรดกได้ แม้ยังมิได้ตั้งผู้จัดการมรดก
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดกหรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลก็ตาม กรณีก็หาใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 292 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์สินจากบังคับคดี กรณีทรัพย์สินเป็นสินสมรส แม้มีการขายทอดตลาดหลายครั้ง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่1แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภรรยากันผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง6รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1และที่2ถือว่าจำเลยที่1มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1กับที่2อยู่ด้วยผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสี่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินระยะเวลา14วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม6รายการซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม4รายการในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สองดังนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมดผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกแม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่2ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่2ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1หมดไปเพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: ขอบเขตการคุ้มครองจนถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน กรณีจึงต้องด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตาา 100 ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์หลังมีคำพิพากษาและการเพิกถอนคำสั่งอายัดโดยศาลที่ชอบด้วยกฎหมาย
ระหว่างส. ยังมีชีวิตได้ซื้อที่ดินจากจำเลยและว่าจ้างจำเลยสร้างตึกแถว6ห้องบนที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนส.ได้ชำระค่าที่ดินและค่าจ้างให้จำเลยครบถ้วนแล้วระหว่างรอโอนขายให้ลูกค้าโดยตรงส.ถึงแก่ความตายจำเลยโอนขายที่ดินและตึกแถว2ห้องให้แก่บุคคลภายนอกส่วนที่ดินและตึกแถวที่เหลือจำเลยกำลังจะขายให้โจทก์ผู้ร้องในฐานะเป็นภริยาและผู้จัดการมรดกของส. จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไว้ชั่วคราวศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีระหว่างผู้ร้องดำเนินการบังคับคดีศาลชั้นต้นคดีนี้มีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดที่ดินและตึกแถวดังกล่าวและให้จดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ดังนี้ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมและเมื่อถึงวันนัดคู่ความทุกฝ่ายมาศาลศาลได้สอบถามและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วจึงมีคำสั่งถือว่าศาลได้ให้โอกาสโจทก์จำเลยโต้แย้งคัดค้านคำร้องของผู้ร้องแล้วเพราะโจทก์จำเลยสามารถแถลงคัดค้านคำร้องของผู้ร้องในระหว่างที่ศาลออกนั่งพิจารณาได้ คำสั่งอายัดชั่วคราวในคดีอื่นแม้จะสั่งโดยศาลชั้นต้นเดียวกันศาลชั้นต้นคดีนี้ก็มิอาจก้าวล่วงไปสั่งเพิกถอนเพราะทำให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเมื่อความปรากฏต่อศาลชั้นต้นคดีนี้การที่ศาลชั้นต้นคดีนี้ทำการตรวจสอบและฟังคำแถลงของคู่ความทุกฝ่ายแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้เพิกถอนการอายัดชั่วคราวและมีคำสั่งใหม่เพื่อแก้ไขให้ที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกลับคืนสู่การอายัดชั่วคราวตามเดิมเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27แล้ว