คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งเปลี่ยนเจตนาการยึดถือ หากไม่แจ้งสิทธิครอบครองเดิมยังคงอยู่
เดิมจำเลยถูก ม. ฟ้องเป็นคดีแพ่งและยึดที่ดินมีหลักฐานน.ส.3 ของจำเลยออกขายทอดตลาด และ ม. เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินทั้งแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวมาก่อนย่อมทราบดีว่า ม. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแล้ว การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวต่อมาจึงเป็นการยึดถือที่ดินไว้แทน ม. เท่านั้น หาใช่ยึดถือเพื่อตนเองไม่หากจำเลยจะยึดถือเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 คือบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง ม. จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม: ศาลยืนตามสิทธิเดิม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือนจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวแม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1578/28โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346-1377/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: การครอบครองปรปักษ์ไม่อาจล้มล้างสิทธิเดิมได้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของ ร. ตลอดไปพินัยกรรมของ ร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่ายซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมและมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของ ร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมพระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1และบรรพ4เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้นไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใดข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีพิพาทที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเดิม และการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแจ้งการครอบครองเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อที่ดินอำเภอในที่พิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ที่ดินอำเภอ และปลัดอำเภอตามลำดับเป็นผู้รับผิดชอบและมีอำนาจออกเอกสารใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินในเขตอำนาจ ย่อมทราบดีว่าที่ดินแปลงใดเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสรรออกใบจอง และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่พิพาทให้จำเลยที่ 4 กับทำนิติกรรมโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 4 กับที่ 6ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องฟังผลคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลได้มีคำพิพากษาในประเด็นข้อนี้แล้วว่าไม่เป็นฟ้องซ้อน ปัญหาข้อนี้จึงยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 4 บางส่วนได้ออกทับที่ดินของโจทก์ เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์คลาดเคลื่อนอันกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โจทก์จะขอให้เพิกถอนทั้งหมดหาได้ไม่
ปัญหาว่า ที่พิพาทคดีนี้เป็นคนละแปลงกับที่ดินซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นที่ของโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในเงินกองทุนสงเคราะห์ – การแก้ไขข้อบังคับกระทบสิทธิเดิม – สิทธิเดิมยังคงใช้บังคับ
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต่อเนื่องและการโต้แย้งสิทธิเดิมทำให้เกิดอายุความ
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จำเลยได้ลงชื่อรับรองแนวเขตที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งเป็นการยอมรับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วก็ตาม แต่อีกสองเดือนถัดมาจำเลยก็ได้คัดค้าการที่ทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท และจำเลยได้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนภายใน 1 ปีย่อมหมดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่นาของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายให้ผู้อื่น แม้กฎหมายเดิมถูกยกเลิก สิทธิเดิมยังคงมีผล
ขณะที่ผู้ให้เช่าโอนขายนาพิพาทให้จำเลยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาพิพาทย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัตินี้ จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยได้แม้ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อน
กรณีดังกล่าวแม้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจะให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยตามราคาที่คณะกรรมการกำหนดก็ไม่มีผลลบล้างสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 ที่จะซื้อนาพิพาทคืนในราคาที่ผู้ให้เช่าขายให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่นาของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายให้ผู้อื่น แม้กฎหมายเดิมถูกยกเลิก สิทธิเดิมยังคงมีผล
ขณะที่ผู้ให้เช่าโอนขายนาพิพาทให้จำเลยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาพิพาทย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัตินี้ จึงมีสิทธิซื้อนาพิพาทคืนจากจำเลยได้แม้ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อน
กรณีดังกล่าวแม้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจะให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยตามราคาที่คณะกรรมการกำหนดก็ไม่มีผลลบล้างสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 ที่จะซื้อนาพิพาทคืนในราคาที่ผู้ให้เช่าขายให้แก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเดิม การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาจึงสิ้นสุดลง
คดีนี้ถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำนวน 9 ส่วนใน 21 ส่วน ในระหว่างบังคับคดีโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยศาลชั้นต้นรับรู้เป็นผู้ทำให้มีข้อตกลงกันไม่ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนี้และให้ยุติคดีทุกคดีทั้งคดีที่พิพากษาแล้วและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินกันใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสี่ได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อหน้าศาลแล้ว จึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 โดยมีผลทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การบังคับคดีนี้และมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปโจทก์ จำเลยทั้งสี่จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยตามสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจะกลับมาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมูลหนี้ระงับไปแล้วหาได้ไม่
of 5