คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเหนือกว่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสน โจทก์ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร"F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร"C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว"F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเป็นเจ้าของและสิทธิเหนือกว่าเมื่อมีการใช้เครื่องหมายที่คล้ายคลึงกัน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1)เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่แต่ตามสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)เป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่กล่าวข้างต้นการฟ้องคดีของโจทก์จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อนโดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศ ฝรั่งเศสใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2506และประเทศอื่นๆเกือบทั่วโลกตั้งแต่พ.ศ.2517สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆในประเทศไทยการที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C" เมื่อพ.ศ.2523โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษรโรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE" หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
ฟ้องโจทก์มิได้โต้เถียงเรื่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับของจำเลยหรือไม่ซึ่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วแต่โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1) ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงมิได้วินิจฉัยปัญหาอื่นศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาได้เลยโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ พฤติการณ์ที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นอักษรโรมันคำเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเป็นการจงใจให้ผู้อื่นหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"POLO"มาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อขายจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเหนือกว่าสิทธิของผู้ซื้อเดิมที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ได้กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปดังที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามมาตรา 456 แม้จำเลยกับพวกเป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดอ. ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยกับพวก กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
แม้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ในประเทศไทยก่อนโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTIขึ้นใช้กับสินค้าของตนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ โจทก์ได้ขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยหลายปี ทั้งบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการอยู่ก็เคยรับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์มาขายในประเทศไทยด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ดีกว่าจำเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในชั้นชี้สองสถานว่า คำให้การของจำเลยเรื่องอายุความไม่ชัดแจ้ง จึงไม่กำหนดเป็นประเด็นให้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นเรื่องอายุความอีกทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินก่อนการจดทะเบียนขาย สิทธิของผู้ซื้อที่ดินรายแรกย่อมเหนือกว่า
ป. ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ให้แก่จำเลยก่อนแล้ว โดยให้จำเลยเข้าครอบครองและมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้จำเลย จึงเป็นการโอนการครอบครองให้แก่จำเลยไปแล้ว ป. ไม่มีสิทธินำที่ดินไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่โจทก์อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท จำเลยมีสิทธิดีกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลังแต่มีสิทธิเหนือกว่าจากความเป็นเจ้าของเดิมและการเลียนแบบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ไว้ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 19 เบญจ คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN กับสินค้าของโจทก์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปีแล้วรวมทั้งในประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ที่ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศและส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเรื่อยมาก่อนที่จำเลยจะมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง แม้จดทะเบียนถูกต้อง
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า Mita มาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 20 เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การจดทะเบียนซ้ำและการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทำให้สิทธิเหนือกว่า
บิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ม. ซึ่งได้จดทะเบียนขายให้ในวันเดียวกับที่ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จากนั้นฝ่ายโจทก์ก็เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกฉบับหนึ่งซึ่งจำเลยได้รับจดทะเบียนโอนมาจาก ม. เช่นกันนั้นได้มาโดย ม. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซ้ำในที่ดินที่ได้ขายให้แก่บิดาโจทก์ไปแล้ว ซึ่ง ม. ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จำเลยซึ่งได้รับโอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับหลังมาจาก ม. จึงไม่มีสิทธิใด ๆในที่พิพาทเช่นกัน โจทก์ครอบครองที่พิพาทและหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อบิดาโจทก์อยู่ จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตราบใดที่โจทก์ครอบครองและถือสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมมี สิทธิดีกว่าผู้อื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน และสิทธิเหนือกว่าจากการใช้ก่อน
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้ โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1ใช้ เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้.
of 4