คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิโดยไม่สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในสัญญา การปล่อยเวลาให้หนี้ดอกเบี้ยทบเพิ่มโดยไม่บังคับชำระ
โจทก์อาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมศาลฎีกาเห็นควรสั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ
ผู้ร้องในฐานะผู้ให้เช่าซื้อร้องขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลางที่ศาลสั่งริบเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เพื่อให้ผู้เช่าซื้อได้รับรถยนต์บรรทุกของกลางคืนไปหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องเองไม่ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของผู้ให้เช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการขอคืนรถเช่าซื้อที่ถูกนำไปใช้กระทำผิด
ส. บิดาจำเลยเป็นทั้งผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางและผู้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องคดีนี้จากผู้ร้องผู้ให้เช่าซื้อเมื่อ ส. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้วผู้ร้องมิได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางที่เช่าซื้อคืน จนกระทั่งจำเลยนำไปใช้กระทำความผิดในคดีนี้ และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 10 ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นทั้งยังได้ความว่า ส.กับผู้ร้องตกลงกันว่าหากส.นำรถจักรยานยนต์ของกลางคืนให้แก่ผู้ร้องได้ ผู้ร้องยินดีจะขายให้แก่ ส. โดยคิดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้นและไม่ประสงค์จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่การที่ผู้ร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้นก็เพื่อประโยชน์ของ ส.ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ถือได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะพยายามชำระหนี้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีจำเลยชำระค่าเช่าแต่โจทก์ไม่ยอมรับ
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาเช่า และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์ที่เช่าแต่จำเลยไม่ยอมออกจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยขนย้ายออกไปคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2533 เป็นต้นมา จนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้อง ถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียด เกี่ยวกับวันผิดนัดจริง หากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง การที่จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธ ไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็น ผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่า ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม 2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลา ดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่า ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเองส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากลูกจ้าง-สิทธิโดยไม่สุจริต-ไม่ต้องรับผิดชอบค่าขาดราคา
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซิ้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อได้นำเช็คฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง แต่โจทก์ก็ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ ทั้งโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่าโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างแล้ว และไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคา และเมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตาม ป.วิ.พ.มาตรา245 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ตัวการไม่ต้องรับผิด
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก 1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค แม้จะเป็นการผิดระเบียบการขายรถยนต์และข้อบังคับในการ ปล่อยรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่การที่ผู้ซื้อได้นำเช็ค ฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง และโจทก์ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ โจทก์จึง ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่า โจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ลูกจ้างแล้วและไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็น กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคาจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218-1219/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-สิทธิโดยไม่สุจริต: การปิดกั้นทางพิพาทหลังยินยอมและใช้ประโยชน์ร่วมกัน
บันทึกเอกสารหมายจ.ชมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง3.50เมตรแก่ที่ดินโฉนดเลขที่182541ถึง182547บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญาแต่มีอ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมให้แก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้เท่านั้นและไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก การที่จำเลยที่1ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านในทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่1และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา8ปีแล้วการที่จำเลยที่1ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่1ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตก่อสร้างและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีแบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงข้อจำกัดตามกฎหมาย
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา 52 บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันที จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ 154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่ 17851 ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ 1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2502 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ตามประกาศดังกล่าวในข้อ 2 (2) กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดิน
of 8