คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิใช้ทาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้ทางผ่าน vs. สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์: การก่อสร้างอาคารไม่ละเมิดหากยังสามารถใช้ทางออกได้
จำเลยก่อสร้างอาคารในที่ดินของตนทางด้านทิศใต้ มิได้รุกล้ำหรือปิดบังแสงสว่าง ก่อให้เกิดเสียงดังหรือมีฝุ่นละอองมายังบ้านโจทก์หรือเหตุอื่นหากมีเกินกว่าปกติ และโจทก์ยังสามารถเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยเดินผ่านประตูเหล็กที่จำเลยทำไว้ให้เจ้าของที่ดินเดิมใช้เป็นทางเข้าออก แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินเดิมก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคาดหมายเป็นพิเศษ จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางผ่านบนที่ดิน การก่อสร้างถนนส่วนบุคคล และการละเมิดสิทธิของผู้เช่า
แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 แต่ถนนพิพาทเป็นถนนหน้าตึกแถวที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ซื้อหรือเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปีแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยหวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก แต่โจทก์ก็ยังคงอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อมา การที่จำเลยที่ 2 สร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนนพิพาทด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตนซื้อจากจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์สัญจรผ่านเข้าออกไม่ได้ตามปกติย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์และผู้เช่ารายอื่นว่าจะจัดให้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตลอดไป มิฉะนั้นโจทก์และผู้เช่ารายอื่นคงไม่ยินยอมจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างและจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 เป็นเวลานานถึง 20 ปี และจำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยินยอมให้โจทก์และครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปี เช่นเดียวกัน แม้สัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้ระบุเรื่องการใช้ถนนพิพาทไว้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้หวงห้ามมิให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้ถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนพิพาทไว้สำหรับให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อถนนพิพาทบางส่วนจากจำเลยที่ 1 และได้ก่ออิฐเป็นกำแพงปิดกั้นถนนพิพาทบริเวณปากทางออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้ถนนพิพาทออกสู่ทางสาธารณะด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกีดขวางสิทธิการใช้ทาง
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยรวม 26 แปลง แล้วจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปโดยกันที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาท กว้าง 5 เมตร ยาว 80 เมตร เพื่อเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะของที่ดินแปลงย่อยทุกแปลงและเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังกล่าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยที่จัดสรรขายย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์ทางพิพาทได้ แม้โจทก์ที่ 1 มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทางอื่นไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและโจทก์ที่ 2 พักอาศัยอยู่ที่อื่นก็ตาม กรณียังไม่อาจถือได้ว่าทางพิพาทนั้นหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ การที่จำเลยก่อสร้างรั้วและประตูลงในทางพิพาทย่อมเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างออกไปเสียจากทางพิพาทได้
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับรื้อถอนรั้วประตูและหลังคาตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่กีดขวางออกไปเสียจากทางภาระจำยอม แล้วทำทางภาระจำยอมให้กลับสู่สภาพเดิม แต่โจทก์ทั้งสอง มิได้เป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางภาระจำยอมดังกล่าว และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีเพียงว่า จำเลยได้ก่อสร้างรั้ว ประตู และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น และหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครอง ทางพิพาทดังกล่าวก็ยังคงเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเช่นเดิม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินที่ไม่จดทะเบียน vs. กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อรายใหม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางออกสู่ทางหลวงได้ตลอดไปแต่ไม่มีการจดทะเบียนข้อตกลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการที่โจทก์ได้มาโดยนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา1299 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามป.พ.พ. มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ใช้ทางในที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ โดยโจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ใช้ที่ดินพิพาทอย่างเป็นทางจำเป็น ทั้งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาและเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ทำละเมิดต่อโจทก์มิใช่เป็นเรื่องฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้เปิดทางจำเป็น ไม่จำต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรกจึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน และไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็น หรือทางจำเป็นอันตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐาน ที่คู่ความนำสืบว่าจะเป็นทางประเภทใด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1ฟังว่าทางพิพาทตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน จึงไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าทางพิพาท เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวนและใช้ดุลพินิจเลือกวินิจฉัย ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นอันตกเป็น ภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรอง ให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิ ใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลย ไม่ต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของผู้อื่น กรณีที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า ทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ยาว 100 เมตรบนที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่ให้ศาลเลือกวินิจฉัยเอาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบว่า ทางพิพาทจะเป็นทางประเภทใดเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม และจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทางพิพาทตามความกว้างยาวดังกล่าวตกเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องเสียค่าทดแทน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวน และใช้ดุลพินิจ เลือกวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นตามคำขอ ท้ายฟ้องของโจทก์ข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นการตรงตามความประสงค์ ของโจทก์แล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 บัญญัติรับรองให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินซึ่งแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดิมแล้วไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะให้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมาย ดังนี้จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการกำหนดค่าทดแทนการใช้ทาง
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ยกที่ดินให้บุตร คือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองย่อมจะโอนสิทธิครอบครองให้แก่กันได้โดยการมอบการครอบครอง การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5มอบการครอบครองบางส่วนของที่ดินให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบ และมีอำนาจฟ้องให้เปิดทางจำเป็นได้
ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินเละเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรงอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลยจะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้างผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาทในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม 300,000 บาทการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทนไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควรกำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – หน้าที่ชดใช้ค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรกแต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไรและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ฎีกาโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้มิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่าไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: ศาลยืนตามสิทธิใช้ทางเดิม กว้าง 5 เมตร แม้จำเลยอ้างความเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภารจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็น กับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้น ทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์ และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้ โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของ ที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือ ทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณ นั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้ กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอสมควรแก่ความจำเป็นที่ โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความ เสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวาร ใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลย ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 16