พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครอง, และผลของคำพิพากษาถึงที่สุดต่อบุคคลภายนอก
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ผ. ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมาจำเลยได้ขอออกโฉนดทับที่ดินพิพาท โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินและขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่าเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินพิพาท แต่หากศาลรับฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน จำเลยก็ได้แย่งการครอบครองและได้บอกกล่าวถึงเจตนาครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อโจทก์รวมระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์, หนังสือรับรองการทำประโยชน์, และการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าโจทก์ครอบครองมาตั้งแต่ปี 2502 ต่อมาจำเลยไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยแจ้งความเท็จว่าเป็นฝ่ายครอบครองโดยซื้อมาจาก ต. เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลย การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาท คำฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินซึ่งเป็นของรัฐโดยมิชอบ ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์ครอบครองที่ดินเมื่อปี 2502 หลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วโจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ดังนั้นประเด็นแห่งคดีที่ศาลได้วินิจฉัยจึงมีเพียงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 3 ว่าด้วยการครอบครอง ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2502 จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่า ต. เป็นเจ้าของเดิม ได้ขายให้ ว. แล้ว ว. ได้นำไปออกหนังสือรับรองทำประโยชน์ต่อมา ส. บิดาจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. แล้วเข้าครอบครองเรื่อยมาจนยกให้แก่จำเลยเข้าทำประโยชน์ตลอดมาเกินกว่า 1 ปีแล้วโจทก์ขาดสิทธิติดตามเอาคืนขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์รบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย คำให้การดังกล่าวจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยครอบครองมาแต่ต้น หาได้ยอมรับว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2502 จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่า ต. เป็นเจ้าของเดิม ได้ขายให้ ว. แล้ว ว. ได้นำไปออกหนังสือรับรองทำประโยชน์ต่อมา ส. บิดาจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. แล้วเข้าครอบครองเรื่อยมาจนยกให้แก่จำเลยเข้าทำประโยชน์ตลอดมาเกินกว่า 1 ปีแล้วโจทก์ขาดสิทธิติดตามเอาคืนขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์รบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย คำให้การดังกล่าวจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยครอบครองมาแต่ต้น หาได้ยอมรับว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลวงในการจดทะเบียนโอนที่ดิน: ฟ้องไม่ตรงประเด็น, สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนแก่โจทก์ โดยอ้างเหตุจำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจไปใช้ดำเนินการจดทะเบียน แต่ข้อเท็จจริงฟังว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืนแก่โจทก์ในคดีนี้ได้เพราะนอกประเด็นตามคำฟ้อง แม้จะฟังได้ว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยและไม่ได้ขายที่ดินให้จำเลยเป็นการสมคบกันแสดงเจตนาลวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในที่ดินสิ้นสุดเมื่อมีการชำระค่าทดแทน แม้จะมีการอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มอบหมายให้ บ. ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักการโยธา ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพร้อมกับทำสัญญาซื้อขายและจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ...(ในกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน) และโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้จากจำเลยแล้ว จึงเป็นการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 ให้อำนาจไว้ และที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามที่ตนสงวนสิทธิไว้ก็โดยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้สิทธิไว้เช่นกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 วรรคสอง ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตกลงซื้อขายกันได้ตามมาตรา 10 นับแต่วันชำระเงินตามมาตรา 11 วรรคหนึ่งดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตกเป็นของจำเลยนับแต่วันที่โจทก์รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจากจำเลยแล้วเมื่อที่ดินของโจทก์ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยภายในเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฯ ยังมีผลใช้บังคับอยู่จากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้ว ก็ไม่ต้องมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาเวนคืนที่ดินของโจทก์อีก ทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวได้กลายสภาพเป็นบึงรับน้ำตามโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครไปแล้ว สภาพของที่ดินจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินคืนมิได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติถึงในกรณีที่สามารถตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามวรรคหนึ่งได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนไว้ด้วย ดังนั้น ที่มาตรา 11 ใช้คำว่า "ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10" จึงหมายถึงการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้เท่านั้น ส่วนที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนก็ให้ผู้ถูกเวนคืนสงวนสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีไว้เพื่อผู้ถูกเวนคืนที่ยังไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดไว้จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฟ้องขอเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นตามขั้นตอนต่อไปของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายพืชผลในที่ดินเช่า แม้สิทธิในสัญญาเช่ายังเป็นข้อพิพาท ถือเป็นการละเมิด
สิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังมีข้อโต้แย้งว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 7 มกราคม 2537 หรือตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 23 มีนาคม 2537 และโจทก์ยังไม่ยินยอมที่จะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจที่จะเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยอำนาจของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองเข้าไถทำลายต้นอ้อยที่โจทก์เป็นผู้ปลูกได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772-3775/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์ออกโฉนดโดยไม่ชอบ จำเลยมีสิทธิในที่ดินดีกว่า
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ประกาศให้เป็นที่หวงห้ามสำหรับประชาชนใช้เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันการที่โจทก์ออกโฉนดที่ดินโดยอาศัยสิทธิจากการแจ้งการครอบครองภายหลังประกาศดังกล่าว แม้โจทก์จะซื้อมาโดยสุจริตและโฉนดที่ดินยังไม่ถูกเพิกถอนก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์มิได้ครอบครองอยู่ก่อนแล้วจำเลยเข้าแย่งจากโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นกรณีที่ราษฎรฟ้องกันเองว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาสำนวนละ200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินธรณีสงฆ์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในชื่อจำเลย และยืนยันสิทธิของวัด
แม้จำเลยจะมีชื่อใน น.ส.3 ก. อันมีผลให้จำเลยได้รับคำรับรองของทางราชการว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตาม แต่เมื่อวัดโจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิของจำเลยไม่ถูกต้อง จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, สิทธิในที่ดิน, และการโอนสิทธิโดยสุจริต: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ หากจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ส. และโจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และจำเลยจะยกการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินส่วนพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. และโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ส. ได้ที่ดินแปลงพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินส่วนพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี มิได้ให้การต่อสู้ว่า ส. มิใช่บุคคลภายนอกและซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่สุจริต ส. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังว่า ส. ซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานดังกล่าว จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกัน และสิทธิในที่ดิน
ทรัพย์ของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์หนองคูที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา และไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน แม้โจทก์จะแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ท. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลด้านโบราณคดีถือว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เบิกความประกอบรายงานการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จัดทำขึ้นในทางการศึกษาวิจัยลักษณะของชุมชนโบราณที่มีอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยดูจากภาพถ่ายทางอากาศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365