พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การซื้อขายสินค้าและการชำระหนี้บางส่วนในสัญญาซื้อขาย
ฎีกาของจำเลยในประเด็นที่ว่าจำเลยได้สั่งซื้อและได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้วหรือไม่ จำเลยอ้างว่า เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างจำเลยปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ แต่โจทก์นำกรรมการโจทก์มาเบิกความประกอบเอกสาร ไม่ได้นำพนักงานขายและพนักงานส่งสินค้าของโจทก์ซึ่งรู้เห็นโดยตรงเข้าเบิกความ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนและเป็นการรับฟังพยานบอกเล่าเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่าไม่มีน้ำหนักและเหตุผลเพียงพอแก่การจะรับฟังเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ตามวรรคสองนั้นกฎหมายมุ่งบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ชำระหนี้ส่วนของตนไปแล้วก็ย่อมจะเรียกร้องเอาสิทธิที่ตนจะได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราะสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้ขายย่อมมีหนี้ที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อก็มีหนี้ที่ต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายเมื่อโจทก์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าของตนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อแล้วจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนของตนแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ได้
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ตามวรรคสองนั้นกฎหมายมุ่งบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ชำระหนี้ส่วนของตนไปแล้วก็ย่อมจะเรียกร้องเอาสิทธิที่ตนจะได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราะสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้ขายย่อมมีหนี้ที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อก็มีหนี้ที่ต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายเมื่อโจทก์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าของตนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อแล้วจึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนของตนแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันซื้อขายสินค้าและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
แม้การสั่งซื้อสินค้าพิพาทและการลงลายมือชื่อรับสินค้าของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าของจำเลยจะถูกต้องตามระเบียบที่จำเลยกำหนดหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สินค้าพิพาทอยู่ที่จำเลยและพฤติการณ์ที่จำเลยได้ส่งสินค้าพิพาทบางส่วนไปให้โจทก์ซ่อมแซม ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันในการซื้อสินค้าพิพาทแล้ว จำเลยจึงต้องชำระราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชำรุดบกพร่องของสินค้าหลังส่งมอบ ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472
ความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้วหรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย ส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลัง ผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทำและติดตั้งถังคริสตัลที่โรงงานของจำเลยตามสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยได้ดำเนินการผลิตผงชูรสได้นานประมาณ 2 เดือน จึงเกิดปัญหาหรือความเสียหายในส่วนชุดกวนของถังคริสตัล โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
F.I.O.T. ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดความเสียหายสินค้า หากเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือการขนส่งทางทะเล
การขนส่งภายใต้เงื่อนไข F.I.O.T. ซึ่งหมายความว่าสินค้าจะทำการขนถ่ายโดยผู้ส่งและผู้รับสินค้าเท่านั้น กล่าวคือ ณ ท่าเรือต้นทางผู้ส่งสินค้าจะต้องรับผิดชอบในการขนสินค้าลงเรือ และท่าเรือปลายทางผู้รับตราส่งจะต้องดำเนินการขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือเอง จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าปุ๋ยที่เสียหายและสูญหายมิได้เกิดขึ้น ระหว่างการขนส่งทางทะเลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า ผู้ขนส่งต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุยกเว้น
การรับขนของทางทะเล ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายของสิ่งของที่รับขนนั้นต่อผู้ส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 เว้นแต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากเหตุตามที่ระบุไว้ บทมาตราต่างๆ ในหมวด 5 ว่าด้วยข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิด
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
สินค้าปุ๋ยพิพาทบางส่วนเปียกน้ำและปนเปื้อนน้ำมันเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโดยที่จำเลยที่ 2 มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีเหตุที่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า แม้ทางนำสืบของโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าความเสียหายของสินค้าปุ๋ยพิพาทเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใดก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง ต้องพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: สินค้ามีลักษณะอย่างเดียวกันทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย อันเป็นการอ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67ในการวินิจฉัยปัญหาที่ว่า โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 67 ได้เพียงใดหรือไม่ ย่อมจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยหรือไม่ ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาถึงความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าและสิทธิของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนที่จำเลยขอจดทะเบียนแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่าสินค้าของโจทก์กับสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้เป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ซึ่งหากใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันแล้วจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดหรือความเป็นเจ้าของสินค้าหรือไม่ด้วย
สินค้าเยลลี่ดูดและดับกลิ่นของโจทก์ กับสินค้าวัสดุใช้ปรับอากาศให้สดชื่นของจำเลยที่ขอจดทะเบียนไว้เป็นสินค้าอยู่ในจำพวกที่ 5 ด้วยกัน แม้อาจจะใช้สารหรือวัสดุที่ทำให้เกิดผลในการปรับกลิ่นในอากาศต่างชนิดกัน แต่ลักษณะหรือวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าดังกล่าวก็เพื่อกลบหรือขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกันจึงถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือเป็นชนิดเดียวกัน เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY ดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ทั้งหมด ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
สินค้าเยลลี่ดูดและดับกลิ่นของโจทก์ กับสินค้าวัสดุใช้ปรับอากาศให้สดชื่นของจำเลยที่ขอจดทะเบียนไว้เป็นสินค้าอยู่ในจำพวกที่ 5 ด้วยกัน แม้อาจจะใช้สารหรือวัสดุที่ทำให้เกิดผลในการปรับกลิ่นในอากาศต่างชนิดกัน แต่ลักษณะหรือวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าดังกล่าวก็เพื่อกลบหรือขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกันจึงถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน หรือเป็นชนิดเดียวกัน เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้า คำว่า LILY ดีกว่าจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ทั้งหมด ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเริ่มนับเมื่อติดตั้งและทดสอบสินค้าเรียบร้อย พร้อมการยอมรับมอบสินค้า
สินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ต้องจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ แล้วนำไปติดตั้งในสถานที่ของจำเลย ทั้งต้องมีการทดสอบการใช้ระยะหนึ่ง โจทก์นำสินค้าไปติดตั้งให้และดำเนินการแก้ไขให้สมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย โดยจำเลยลงลายมือชื่อรับสินค้าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อสินค้าที่ซื้อขายติดตั้งเรียบร้อยและผ่านการทดสอบว่าใช้งานได้ดีและจำเลยยอมรับมอบสินค้านั้นแล้ว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนส่งสินค้าและการปฏิบัติตามสัญญา การเวนคืนใบตราส่งเป็นสาระสำคัญ
บรรดาหน้าที่และความรับผิดอันเกิดจากการซื้อขายสินค้ามีผลบังคับระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายกับบริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ซื้อ หามีผลใด ๆ เกี่ยวข้องถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนไม่
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30
โจทก์จำเลยทำสัญญารับขนของกันเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2534ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังมิได้ใช้บังคับ กรณีจำต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับในฐานะเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 ซึ่งมาตรา 612 และ 613 ได้บัญญัติถึงรูปแบบและเหตุที่ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งไว้ ทั้งนี้ หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องทำใบกำกับของและใบตราส่งเสมอไป แต่หากเมื่อใดที่มีการทำใบตราส่งให้แก่กันแล้วจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งกับผู้รับตราส่งจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงจะรับของไปได้ ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา615 ที่บัญญัติว่า ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กัน ท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่ง หรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร ดังนั้น เมื่อจำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่โจทก์ และจำเลยได้ส่งสินค้ารายนี้ให้แก่บริษัท อ.แล้ว โดยบริษัท อ.ไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่จำเลย หรือให้ประกันตามควร อีกทั้งไม่มีคำสั่งของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง เมื่อจำเลยกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา615 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าเรียกให้จำเลยผู้รับขนรับผิด เนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญารับขน ส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่บริษัท อ.ผู้ซื้อ โดยที่บริษัทดังกล่าวไม่ได้เวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้ใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์มิได้ฟ้องในข้อความรับผิดของจำเลยในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งล่าช้า แต่เป็นการฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหายกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30