พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหักลดหย่อนราคาสินค้าคงเหลือที่เสื่อมสภาพ การพิสูจน์ราคาตลาดตามความเป็นจริง
เมื่อสินค้าคงเหลือเป็นสินค้าเสื่อมราคาและมีราคาตลาดเพียงร้อยละ 15 ของราคาทุน การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาตลาดซึ่งต่ำกว่าราคาทุนในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าราคาทุนตามราคาตลาด กรณีสินค้าเสื่อมสภาพและมีราคาตลาดต่ำกว่าทุน
เมื่อสินค้าคงเหลือเป็นสินค้าเสื่อมราคาและมีราคาตลาดเพียงร้อยละ 15 ของราคาทุน การตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามราคาตลาด ซึ่งต่ำกว่าราคาทุนจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาสินค้าคงเหลือต่ำกว่าทุนตามราคาตลาด และการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ตีราคาสินค้าคงเหลือที่ซื้อมาเกิน 3 ปี ให้ต่ำกว่าทุนโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 15 ของราคาทุน แล้วคำนวณกำไรสุทธิโดยถือราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดซึ่งน้อยกว่าราคาทุนในรอบระยะเวลาบัญชีของปีนั้น ซึ่งราคาสินค้าคงเหลือนี้เป็นราคาที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย เคยรับซื้อคืนจากตัวแทนจำหน่ายเป็นการกำหนดราคาจากวิธีคำนวณตามวิชาสถิติการจำหน่าย มิใช่หลักเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดเองต้องตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาพยานหลักฐานในคดีตัวแทน จำหน่ายสินค้าคงเหลือ ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินสดที่จำเลยในฐานะตัวแทนได้รับไว้ รวม 2 รายการ คือ ก.ลูกหนี้ 58,301.35 บาท " ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่ามีเงินสดจำนวนดังกล่าวอยู่ที่จำเลยแล้ว ส่วนรายการ "ข.สินค้าคงเหลือมีข้อความระบุว่า" ตลอดจนเงินสดตามบัญชีเงินสดดังกล่าวว่าด้วยลูกหนี้และสินค้าคงเหลือซึ่งท่านได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้วจำนวน 116,189.30 บาท จำหน่ายสินค้าคงเหลือจำนวน116,189.30 บาท คืน" ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ยืนยันแล้วว่าจำเลยได้จำหน่ายสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงินแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาเพียงจากสภาพคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า รายการในบัญชีเงินสดลูกหนี้และสินค้าคงเหลือในทางบัญชีย่อมหมายความว่าเป็นรายการที่บุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ค้างชำระอยู่ จำเลยยังหาได้รับเงินจากลูกหนี้ไม่จึงไม่มีเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด และพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งกันก่อนถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกรณีมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วย243(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: การหักรายจ่ายสินค้าคงเหลือ, แผนกท่องเที่ยว, ดอกเบี้ยเงินกู้ และการจำแนกเงินได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินส่วนที่นำเข้าฝากในบัญชีสมทบทุนเป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน อันบริษัทโจทก์ได้จ่ายให้พนักงานแล้วเพียงแต่ให้สิทธิโจทก์หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามระเบียบที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่พนักงานเมื่อออกจากงานเท่านั้นเงินเดือนที่โจทก์จ่ายให้พนักงานแต่ละคน รวมทั้งเงินที่ถูกหักเข้ากองทุนในบัญชีสมทบทุนนี้เป็นรายจ่ายในหมวดเงินเดือนของโจทก์อันนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ได้โดยโจทก์ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนทั้งหมดของพนักงานไว้ตามมาตรา 50 แล้วนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอตามมาตรา 52 จึงเป็นเงินที่จ่ายขาดจากโจทก์แล้ว เงินส่วนที่หักจากเงินเดือนนำฝากเข้าบัญชีสมทบทุนนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงานนับแต่นั้น ดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินฝากนี้จึงเป็นเงินได้ของพนักงาน หาใช่เงินได้ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่โจทก์นำสืบเป็นเพียงวิธีการในการคำนวณราคาสินค้าอย่างกว้าง ๆ โดยไม่มีรายละเอียดว่าเป็นสินค้าอะไรบ้างที่โจทก์ได้คำนวณตามราคาตลาดอันเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาทุน ทั้งโจทก์ได้วางแนวทางให้ปฏิบัติในการบันทึกรายการสินค้าคงเหลือโดยอาศัยระยะเวลาที่ได้รับสินค้ามาครอบครองไว้เป็นเกณฑ์ซึ่งปรากฏว่าตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคา และการตัดบัญชีดังกล่าวมีแนวปฏิบัติ เช่น สินค้าที่เสียง่ายหากคงเหลือถึง 18 เดือนจะตัดค่าเสื่อมราคาลงร้อยละ 50หากคงเหลือถึง 2 ปี จะตัดออกจากบัญชีหมดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการตัดค่าเสื่อมราคาสินค้าคงเหลือ มิใช่เป็นการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือตามราคาตลาดที่แท้จริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(6) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบไต่สวนพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำมามอบให้แล้วแจ้งประเมินภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นการประเมินที่ชอบหากโจทก์มีข้อโต้แย้งในรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารอย่างไรชอบที่โจทก์จะชี้แจงให้เจ้าพนักงานประเมินทราบหรืออุทธรณ์การประเมินไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือนำสืบในชั้นศาลได้ เหตุดังกล่าวหาทำให้การประเมินเป็นไปโดยมิชอบไม่ โจทก์คำนวณราคาสินค้าคงเหลือโดยการกำหนดกฎเกณฑ์เอาเองตามหลักเกณฑ์การตัดค่าเสื่อมราคาและการตัดบัญชี อันมิใช่ราคาตลาดเพื่อให้ต่ำกว่าราคาทุน เป็นเหตุให้มีรายรับน้อยลงและทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงไปด้วย มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในตัวส่วนรายจ่ายในแผนกท่องเที่ยว โจทก์ทำใบสำคัญการจ่ายขึ้นเองแล้วเอาอากรแสตมป์มาปิด โดยไม่มีรายละเอียดถึงเหตุที่ต้องจ่ายเงินว่าเป็นการจ่ายเพื่อกิจการอย่างไร ชื่อที่อยู่ของผู้รับเงินก็ไม่ชัดแจ้ง มีพฤติการณ์ว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีไม่มีเหตุสมควรงดหรืองดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายและการถือว่าสินค้าขายหมด
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ ละปี ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอดเงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาได้ขายหมดไปแต่ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตามความจำเป็นและสมควร โดยนำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมจึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้
เมื่อโจทก์ตกลงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80 ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อผู้เสียภาษีไม่แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือ เจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิคำนวณภาษีตามความจำเป็นและสมควร
โจทก์มิได้ทำและนำบัญชีมาแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิที่จะถือ ว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปี ดัง นั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอายอด เงินที่อ้างว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อ มาได้ ขายหมดไปแต่ ละปีมาคำนวณภาษีและหักค่าใช้จ่ายให้ตาม ความจำเป็นและสมควร โดย นำเอามาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ตกลง ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย ให้หักค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 8 วรรคสองแห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับ ที่ 11)พ.ศ. 2502 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว (ฉบับ ที่ 70) พ.ศ. 2520 ที่กำหนดให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาใช้ บังคับโดย อนุโลมแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 80ตาม มาตรา 8 วรรคแรก (25) ได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาสินค้าคงเหลือและราคาขายที่ไม่สมเหตุผล ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์จัดพิมพ์หนังสือตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการแล้วขายให้บริษัท ส. แต่ขายไม่หมดในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้า ต้องถือว่าโจทก์ขายสินค้าคงเหลือนั้นและถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ราคาต้นทุนการผลิตหนังสือที่โจทก์จัดพิมพ์ตกประมาณ 35-37 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าปก โจทก์ขายหนังสือดังกล่าวให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ขาย โจทก์จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารการขายเมื่อจำเลยไม่อาจนำสืบถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้การที่โจทก์ตั้งราคาขายหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นให้แก่ผู้จัดจำหน่ายในราคา 40 เปอร์เซ็นต์ ของหน้าปก หนังสือจึงหาได้มีราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะขายได้ และเป็นราคาที่ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ
ราคาต้นทุนการผลิตหนังสือที่โจทก์จัดพิมพ์ตกประมาณ 35-37 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าปก โจทก์ขายหนังสือดังกล่าวให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ขาย โจทก์จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารการขายเมื่อจำเลยไม่อาจนำสืบถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้การที่โจทก์ตั้งราคาขายหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นให้แก่ผู้จัดจำหน่ายในราคา 40 เปอร์เซ็นต์ ของหน้าปก หนังสือจึงหาได้มีราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะขายได้ และเป็นราคาที่ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากราคาสินค้าคงเหลือ การพิสูจน์ราคาขายที่ถูกต้อง และการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน
โจทก์จัดพิมพ์หนังสือตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการแล้วขายให้บริษัท ส. แต่ขายไม่หมดในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้า ต้องถือว่าโจทก์ขายสินค้าคงเหลือนั้นและถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(6) แห่งประมวลรัษฎากร ราคาต้นทุนการผลิตหนังสือที่โจทก์จัดพิมพ์ตกประมาณ 35-37เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าปก โจทก์ขายหนังสือดังกล่าวให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายเป็นผู้ขาย โจทก์จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารการขายเมื่อจำเลยไม่อาจนำสืบถึงราคาที่โจทก์ควรจะขายที่แท้จริงได้การที่โจทก์ตั้งราคาขายหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นให้แก่ผู้จัดจำหน่ายในราคา 40 เปอร์เซ็นต์ ของหน้าปก หนังสือจึงหาได้มีราคาต่ำกว่าราคาที่ควรจะขายได้ และเป็นราคาที่ถูกต้องตามความเป็นจริงแล้วเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231-2234/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การตีราคาสินค้าคงเหลือ, ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมัน, และการรวมรายได้จากวัตถุพลอยได้ในการคำนวณภาษี
โจทก์ใช้ระบบเกณฑ์สิทธิในการลงบัญชี โจทก์ต้องใช้ระบบดังกล่าวโดยตลอด การที่โจทก์สั่งซื้อสินค้าโจทก์ลงบัญชีโดยใช้ระบบเกณฑ์สิทธแต่ในการขายสินค้าโจทก์ใช้ระบบเงินสด ทำให้โจทก์มีรายจ่ายมากและรายรับน้อย การลงบัญชีย่อมไม่ถูกต้องและจะถือราคาสินค้าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
รายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์มิได้ลงบัญชีรายจ่ายไว้เพราะไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ ปรากฏว่าเหตุที่โจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ เพราะใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันนั้นโจทก์ให้ผู้ขายน้ำมันส่งมอบไว้ยังหน่วยงานต่าง ๆ ของโจทก์ และหน่วยงานดังกล่าวมิได้ส่งใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมายังโจทก์ ซึ่งเป็นความบกพร่องของพนักงานของโจทก์เอง โจทก์จึงนำรายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
ราคาไม้แปรรูปควรจะต้องสูงกว่าราคาไม้ท่อนเพราะต้องรวมค่าจ้างแปรรูปไม้เข้าไว้ด้วย โจทก์ตีราคาไม้แปรรูปอันเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเพียงลูกบาศก์เมตรละ 80 บาท และตีราคาไม้ท่อนลูกบาศก์เมตรละ 900 บาท ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินตีราคาไม้แปรรูปลูกบาศก์เมตรละ 1,300 บาท โดยคิดจากราคาไม้ท่อนรวมกับค่าจ้างเลื่อยลูกบาศก์เมตรละ 400 บาท จึงชอบด้วยเหตุผล
โจทก์ประกอบการค้าเลื่อยไม้ขายและโม่หินขายตามสัญญาที่โจทก์ทำกับลูกค้าระบุว่าโจทก์เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง และต้องนำสินค้าคือไม้และหินไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง ในสัญญาดังกล่าวไม่ได้แยกเรื่องการขนส่งไว้และไม่อาจแยกได้ว่า ราคาซื้อขายหรือราคาค่าจ้างรวมเอาค่าขนส่งไว้เท่าใด จึงเป็นลักษณะของสัญญาซื้อขายหรือสัญญาจ้างทำของที่โจทก์จะต้องส่งของให้แก่คู่สัญญา โจทก์จึงต้องนำรายรับจากการขายหรือรับจ้างทำสินค้ามาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าจะแยกเสียภาษีการค้าเฉพาะราคาสินค้า โดยถือว่ารายได้จากการขนส่งโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้านั้นมิได้
วัตถุพลอยได้จากการเลื่อยไม้จำพวกขี้เลื่อย ปีกไม้และเศษไม้โจทก์ขายไปบ้าง มีคนมาขอโจทก์ก็ให้ไปบ้าง พนักงานของโจทก์เก็บไปเป็นประโยชน์ส่วนตนบ้าง จึงมิใช่เป็นของไม่มีมูลค่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79(1) (ข) บัญญัติให้รายรับจากการค้าประเภทโรงเลื่อยให้หมายความรวมถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินรายรับของโจทก์จากวัตถุพลอยได้ดังกล่าวจึงชอบแล้ว
รายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โจทก์มิได้ลงบัญชีรายจ่ายไว้เพราะไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ ปรากฏว่าเหตุที่โจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงได้ เพราะใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันนั้นโจทก์ให้ผู้ขายน้ำมันส่งมอบไว้ยังหน่วยงานต่าง ๆ ของโจทก์ และหน่วยงานดังกล่าวมิได้ส่งใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมายังโจทก์ ซึ่งเป็นความบกพร่องของพนักงานของโจทก์เอง โจทก์จึงนำรายจ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
ราคาไม้แปรรูปควรจะต้องสูงกว่าราคาไม้ท่อนเพราะต้องรวมค่าจ้างแปรรูปไม้เข้าไว้ด้วย โจทก์ตีราคาไม้แปรรูปอันเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเพียงลูกบาศก์เมตรละ 80 บาท และตีราคาไม้ท่อนลูกบาศก์เมตรละ 900 บาท ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินตีราคาไม้แปรรูปลูกบาศก์เมตรละ 1,300 บาท โดยคิดจากราคาไม้ท่อนรวมกับค่าจ้างเลื่อยลูกบาศก์เมตรละ 400 บาท จึงชอบด้วยเหตุผล
โจทก์ประกอบการค้าเลื่อยไม้ขายและโม่หินขายตามสัญญาที่โจทก์ทำกับลูกค้าระบุว่าโจทก์เป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้าง และต้องนำสินค้าคือไม้และหินไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง ในสัญญาดังกล่าวไม่ได้แยกเรื่องการขนส่งไว้และไม่อาจแยกได้ว่า ราคาซื้อขายหรือราคาค่าจ้างรวมเอาค่าขนส่งไว้เท่าใด จึงเป็นลักษณะของสัญญาซื้อขายหรือสัญญาจ้างทำของที่โจทก์จะต้องส่งของให้แก่คู่สัญญา โจทก์จึงต้องนำรายรับจากการขายหรือรับจ้างทำสินค้ามาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าจะแยกเสียภาษีการค้าเฉพาะราคาสินค้า โดยถือว่ารายได้จากการขนส่งโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้านั้นมิได้
วัตถุพลอยได้จากการเลื่อยไม้จำพวกขี้เลื่อย ปีกไม้และเศษไม้โจทก์ขายไปบ้าง มีคนมาขอโจทก์ก็ให้ไปบ้าง พนักงานของโจทก์เก็บไปเป็นประโยชน์ส่วนตนบ้าง จึงมิใช่เป็นของไม่มีมูลค่าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79(1) (ข) บัญญัติให้รายรับจากการค้าประเภทโรงเลื่อยให้หมายความรวมถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินรายรับของโจทก์จากวัตถุพลอยได้ดังกล่าวจึงชอบแล้ว