พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโดยผูกข้อมือไม่มีผลทางกฎหมายเรื่องสินสอดทองหมั้นและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9342/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คืนของหมั้นสินสอดต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้คืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะว่าไม่มีการหมั้น อีกทั้งไม่มีเหตุที่ต้องคืนสินสอดให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้ผิดสัญญาและไม่ต้องคืนของหมั้นและสินสอดเป็นเงินรวม 41,250 บาท แก่โจทก์เป็นการ โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่ามีการหมั้น และ จำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอด แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท อีกทั้งมิได้เป็นคดีที่ เกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องสินสอดคืนเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส: ความรับผิดชอบของโจทก์ในการไม่ดำเนินการจดทะเบียน
โจทก์หมั้นบุตรสาวจำเลยโดยมอบสินสอดให้จำเลยในวันทำพิธีแต่งงานแต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ไม่ใส่ใจในการไปจดทะเบียนสมรสกับบุตรของจำเลยโจทก์จึงจะอ้างขอสินสอดคืนว่าเมื่อไม่มีการสมรสโจทก์ย่อมเรียกสินสอดคืนได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกสินสอดคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหอเป็นสินสอด: การบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เป็นสินสอดต้องตกเป็นของผู้ร้อง
มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรสาวของผู้ร้องให้แต่งงานกับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกทองคำและเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนบิดามารดาฝ่ายหญิงที่ให้บุตรสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องขอให้ปล่อยเรือนหอที่โจทก์ยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหอเป็นสินสอด: สิทธิในทรัพย์สินจากการแต่งงานและการบังคับคดี
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินหลังหมั้น ไม่ถือเป็นสินสอด
การที่มีข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยว่าเงิน100,000 บาท ฝ่ายจำเลยจัดหามาเพื่อแสดงในพิธีหมั้นแล้วฝ่ายโจทก์จะคืนให้ฝ่ายจำเลย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงคืนเงินหลังหมั้นล้มเหลว ไม่ถือเป็นสินสอด
การที่มีข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยว่าเงิน100,000 บาท ฝ่ายจำเลยจัดหามาเพื่อแสดงในพิธีหมั้นแล้วฝ่ายโจทก์จะคืนให้ฝ่ายจำเลย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรส ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสินสอดตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรส เงินที่มอบให้ไม่ใช่ของหมั้นสินสอด
ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงมิใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตาม ฝ่ายชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งงานตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรส ไม่ถือเป็นหมั้นหรือสินสอดตามกฎหมาย
ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดย ไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตาม ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน