พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสินเดิมก่อนสมรส ไม่ถือเป็นสินสมรส โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องฐานแจ้งความเท็จ
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว โดยเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หาใช่สินสมรสไม่เมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่แล้วย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 มีอำนาจจำหน่ายได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และมิใช่ทรัพย์สินที่โจทก์จะมีส่วนแบ่งเมื่อหย่ากัน ฉะนั้นแม้ในการที่จำเลยที่ 1ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 แจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยที่ 1 เป็นหม้ายโดยการตายของสามี ยังไม่ได้ทำการสมรสใหม่ และจำเลยที่ 2 รับรองการเป็นหม้ายของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ก็ตาม หากข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จโจทก์ก็มิใช่ผู้เสียหายอันจะฟ้องจำเลยฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา267 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส vs. สินเดิม: การแบ่งทรัพย์มรดกและการหักหนี้กองมรดก
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากสามีที่หย่าแล้ว: บ้านพิพาทเป็นสินเดิมของผู้ร้อง การยกให้บุตรไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมยกให้บุตรต้องทำหนังสือจดทะเบียน มิฉะนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์เดิมของผู้ยก
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(เดิม)ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2ว่า ทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นมีว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าว เพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์ บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินที่ได้ก่อนจดทะเบียนสมรสเป็นสินเดิมและเป็นเจ้าของรวม
บิดาจำเลยยกที่พิพาทให้โจทก์จำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำกินเมื่อแต่งงานกันก่อนจดทะเบียนสมรส ก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์จำเลยคนละครึ่งครั้นโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่ายและเป็นสินส่วนตัวตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสินเดิมก่อนสมรส โอนหลังสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
ยกที่นาไม่มีหนังสือสำคัญให้ก่อนชายจดทะเบียนสมรสเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนั้นแก่ชายเพียงเพื่อให้ถูกต้องตามแบบกฎหมาย ที่นาเป็นสินเดิมของชาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักสินเดิมออกจากสินสมรสในคดีหย่า โดยไม่ต้องฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่ามีสินเดิมเป็นเงินซึ่งได้นำไปซื้อที่ดินสินสมรส ในการพิพากษาให้แบ่งทรัพย์โดยการหย่าตามคำพิพากษา ศาลพิพากษาให้หักสินสมรสใช้สินเดิมก่อนได้ โดยไม่ต้องฟ้องแย้งหรือขอหักไว้ในคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
การที่สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หานั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภรรยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วย 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินเดิมของสามีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาและผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วยมาตรา 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม หรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ความยินยอม และพิพากษาให้แบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายและจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วยแต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1625(1)ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: หลักการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งสินเดิม
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่าๆ กัน