คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ่งปลูกสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในขณะที่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้ขายที่ดิน ที่ดินยังอยู่ระหว่างการเช่า โดยผู้ขายที่ดินได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ ธ. กับพวก มีกำหนดเวลา 20 ปี และมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ดังนั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนไว้ สิ่งปลูกสร้างในที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้รับโอน ธ. กับพวกย่อมหมดสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวและไม่มีสิทธินำห้องในอาคารตึกแถวให้บุคคลใดเช่าช่วงได้ จำเลยจึงเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม ไม่อาจยกการเช่าระหว่างจำเลยกับ ธ. และพวกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องพิพาท การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: หลักเกณฑ์การประเมินราคา ค่าทดแทนที่เหมาะสม และดอกเบี้ย
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่ฎีกา
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสี่นำสืบโดยมิได้โต้เถียงกันว่า
++ โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่32941, 32942, 32944 และ 89930 ตำบลสวนหลวง (ที่ 8 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 316 ตารางวา พร้อมด้วยอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์สูง 7 ชั้น 1 หลัง ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าว โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้บริหารกิจการให้เช่าพักอาศัย
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1โฉนดเลขที่ 32942 เนื้อที่ 15 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตและลานคอนกรีตบางส่วน ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้ และไม้ยืนต้นอยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวางเขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533
++ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10 ตารางวา ตารางวาละ40,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างคือรั้วคอนกรีตบางส่วนเป็นเงิน58,864.52 บาท ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิและกระถางต้นไม้ 37,768.41บาท และไม้ยืนต้น 850 บาท ตามเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 โจทก์ที่ 1ไม่ยอมรับเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ และแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2537 ตามเอกสารหมาย จ.10
++ โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 4 ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 120,000 บาท ค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสี่แปลงอันมีราคาลดลงตารางวาละ 30,000 บาท ค่าทดแทนรายได้ค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ 126 ห้อง ที่ต้องลดค่าเช่าลงห้องละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 5 ปี เป็นเงิน 15,120,000 บาท ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างเพิ่มอีก 95,717.07 บาท ตามสำเนาอุทธรณ์เอกสารหมายจ.12 แต่จำเลยที่ 4 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำอุทธรณ์
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือไม่
++
++ ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท นั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ตารางวาละ 110,000 บาทแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอีกตารางวาละ 2,000 บาท ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++ ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารงานอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนครั้งนี้
++ การที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาแต่เพียงขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฎีกาของโจทก์ที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่
++ เห็นว่า ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 นั้นไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 ต้องกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา21 (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทน โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ด้วย
++ นายกลยุทธ มณฑาศวิน ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ และเป็นพยานจำเลยทั้งสี่เบิกความว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ นำราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดิน เป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แม้นางสาวณัฐนรี คงจันทร์ ซึ่งเคยรับราชการเป็นหัวหน้างานการประเมินราคาทรัพย์สินสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมที่ดินและเป็นพยานจำเลยทั้งสี่อีกคนหนึ่งเบิกความว่า ราคาประเมินที่ดินเป็นรายแปลงตารางวาละ 40,000 บาท เป็นข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ได้ไปสำรวจเก็บได้ในปี 2535 ข้อมูลนั้นได้จากการสัมภาษณ์ผู้ขาย นายหน้า จากสถาบันการเงินและจากการประกาศขายที่ดิน แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับที่ดินที่นำมาประเมินราคาทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงทำเล ที่ตั้ง การเข้าถึงแปลงที่ดิน รูปแปลนที่ดิน และข้อจำกัดการใช้ที่ดิน ซึ่งเรียกว่าการประเมินรายแปลงก็ตาม จากคำเบิกความของพยานจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวก็ยังไม่ได้ความว่าที่ดินโฉนดเลขที่32942 ของโจทก์ที่ 1 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ตารางวาละเท่าใด เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ที่ 1 และจำเลยทั้งสี่เกี่ยวกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้เหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา21 (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมได้
++
++ ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตั้งอยู่ติดซอยซึ่งเป็นถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างซอยรามคำแหง 2 และซอยรามคำแหง 4ห่างจากถนนรามคำแหงประมาณ 100 ถึง 150 เมตร อยู่ในย่านที่มีความเจริญ บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ราชการต่าง ๆ ที่ดินของนางซาฟียะ เปลี่ยนเดชา อยู่ห่างจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ประมาณ 200 ถึง 300 เมตร ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ถนนสาธารณะ มีแต่เพียงทางเท้า อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 90,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.14 และ จ.15 และภาพถ่ายหมาย จ.17
++ จึงเห็นได้ว่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีสภาพและทำเลที่ตั้งดีกว่าที่ดินของนางซาฟียะ นางสาวณัฐนรีเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ทั้งสองว่า ที่ดินใกล้เคียงหากรถยนต์เข้าถึงจะมีราคาสูงกว่าที่ดินที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ดังนั้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่นางซาฟียะตารางวาละ90,000 บาท สูงกว่าที่กำหนดให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อคำนึงถึงพยานหลักฐานที่โจทก์ที่ 1 นำสืบเกี่ยวกับที่ดินแปลงอื่น ๆราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่ฝ่ายจำเลยกำหนด กับสภาพที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารสูง 7 ชั้น และที่ตั้งที่ดินของโจทก์ที่ 1ดังกล่าว ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5)แล้ว
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่จะต้องเวนคืนที่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมคือ ตารางวาละ 110,000 บาท ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
++ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืน 15 ตารางวา เป็นเงิน 1,650,000บาท จำเลยที่ 1 ได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินแล้วจำนวน 400,000 บาท จึงต้องชำระเพิ่มอีก 1,250,000 บาท
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลงอีก 500,000 บาท ส่วนจำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า ที่ดินและอาคารของโจทก์ที่ 1ราคาไม่ลดลงนั้น
++ เห็นว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาหรือราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์นั้น โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อจำเลยที่ 4 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
++
++ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนราคาลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ จำนวนเงิน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
++
++ ส่วนเงินค่าทดแทนที่ดินที่เสื่อมราคาหรือมีราคาลดลงนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 4 ซึ่งเป็นแผนผังแสดงที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษที่ดินของโจทก์ที่ 1 ตรงกับเลขหมาย 287 ถูกเขตทางพิเศษตลอดด้านทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดถนนทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 มีรูปทรงเปลี่ยนไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และเขตทางพิเศษเป็นระบบทางด่วนยกระดับซึ่งโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางดังกล่าวจากหน้าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ การที่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลืออยู่ใต้ทางพิเศษย่อมทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปกระทบถึงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และถูกทางพิเศษที่อยู่ด้านบนบดบังทัศนียภาพตามปกติ อีกทั้งต้องรับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องเสียงเครื่องยนต์และฝุ่นละอองจากรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาบนทางพิเศษ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ส่วนที่เหลือจึงมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปในทางด้อยลง มูลค่าของที่ดินย่อมลดลงจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนในส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 1 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม
++ ที่ดินโฉนดเลขที่ 32942 ของโจทก์ที่ 1 มีเนื้อที่ 106 ตารางวาจะต้องถูกเวนคืน 15 ตารางวา ทางด้านหน้าซึ่งใช้เป็นทางเข้าออกอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์ การใช้ประโยชน์ของที่ดินที่เหลือจึงไม่สะดวกเหมือนเดิม
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหลืออันมีราคาลดลง เป็นเงิน1,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ศาลฎีกาได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไปแล้วตารางวาละ 110,000 บาท ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่91 ตารางวา ขณะที่ถูกกำหนดให้อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนจึงควรมีราคารวมแล้วเป็นเงิน 10,010,000 บาท ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงจำนวน 1,000,000 บาท คิดเป็นอัตราส่วนเพียงประมาณร้อยละสิบของมูลค่าที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าว นับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และสังคมแล้ว จึงเพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็น 1,000,000 บาทตามที่โจทก์ขอ
++ ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอเงินค่าทดแทนค่าเช่าที่ลดลงของอาคารศิริเพียรอพาร์ตเมนต์เดือนละ 50,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ เพราะโจทก์ต้องปรับค่าเช่าลดลง อันเป็นผลประทบโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้น
++ เห็นว่า ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตที่จะต้องเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใด ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนจากการที่สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 มีราคาค่าเช่าลดลงได้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนกรณีนี้ได้
++ ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างอันได้แก่รั้วคอนกรีต ลานคอนกรีต ศาลพระภูมิ กระถางต้นไม้และไม้ยืนต้น จำนวนเงิน97,482.93 บาท ที่กำหนดให้แก่โจทก์ที่ 1 เหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเกินคำฟ้องหรือคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา142 ประกอบมาตรา 246 นั้น
++ เห็นว่า จำเลยทั้งสี่มีนายธีระพล ธีรมหานนท์วิศวกร 7 ซึ่งมีหน้าที่ประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างและไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืน เป็นพยานเบิกความว่า สิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่ถูกเวนคืนได้ถ่ายรูปไว้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เข้าทำการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนแล้ว ก็จะนำมาถอดแบบเพื่อคำนวณราคา เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้วพยานจะนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณตามดัชนีของราคาวัสดุที่เป็นราคากลางของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจะทำการปรับราคาขึ้นโดยคิดค่าวัสดุ ค่าแรง กำไร ภาษี ค่าดำเนินการเข้าด้วย รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย ล.6 รั้วคอนกรีตมีการหักค่าเสื่อม 1 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าวัสดุเนื่องจากสร้างมานาน 7 ปีแล้วส่วนลานคอนกรีตสร้างมานานเกือบ 3 ปี ไม่มีการหักค่าเสื่อม เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ตามคำเบิกความของนายธีระพลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้กระทำโดยมีหลักเกณฑ์ทางวิชาการ ส่วนโจทก์ที่ 1 เบิกความลอย ๆ แต่เพียงว่า สำหรับสิ่งปลูกสร้าง90,000 บาทเศษ หากมีการสร้างจริงไม่สามารถสร้างได้ในราคาดังกล่าวจะต้องใช้ค่าใช้จ่าย 200,000 บาทเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างประเมินราคาและแจ้งรายละเอียดการใช้จ่ายมาให้ พยานให้ผู้รับเหมาก่อสร้างหลายรายประเมินราคา แต่ละรายประเมินไว้เกินกว่า 200,000บาท ทั้งนั้น จึงขอเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง 200,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาสืบสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว
++ ดังนั้น พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่ 1
++ เห็นว่า เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ 1 ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้นั้นเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว
++ เมื่อไม่เพิ่มเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ที่ 1 เกินคำขอของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ต่อไป เพราะแม้วินิจฉัยไปก็หาทำให้ผลคำวินิจฉัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
++ อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ใช้ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินโดยไม่ได้กำหนดว่าต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปีตามที่โจทก์ที่ 1 ขอด้วยนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอาจจะเกินคำขอของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลฎีกาจึงเพิ่มเติมข้อความดังกล่าวไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกินคำขอของโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินได้หากเจตนาตรงกัน แม้บ้านจะไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบ เมื่อการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันได้ในคราวเดียว จึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านหลังดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว บ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้สิ่งปลูกสร้างมิได้ตั้งอยู่บนที่ดิน ก็สามารถทำได้โดยชอบ
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความระบุไว้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะดำเนินการจดทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมายต่อไปในภายหน้า สัญญาฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ที่จัดทำเป็นหนังสือมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบเมื่อปรากฏว่าการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันไปในคราวเดียวจึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวแก่โจทก์แล้วบ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมทางเข้าออก และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1349ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายผลรังวัดที่ดิน: การตีความ 'สิ่งปลูกสร้างใด ๆ' หมายถึงทั้งหลัง
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าวจำเลยยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจากเขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไป ตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน"หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงท้ากันรังวัดที่ดิน: สิ่งปลูกสร้างต้องอยู่ในแนวเขตที่ดินทั้งหลัง มิใช่เพียงล้ำเข้าไป
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลย ยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจาก เขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไปตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน" หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัย ไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีพิพาทที่ดิน: ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน แต่ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอนน.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขต แม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน เจ้าของสิทธิเก็บกินมีอำนาจขับไล่ผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ
แม้ตามรายการจดทะเบียนเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 3350 ตามฟ้อง โดยไม่ได้ระบุถึงตึกแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินก็ตามแต่โจทก์ก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในที่ดินโฉนดเลขที่ 3350 ตามฟ้อง และผู้มีชื่อซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้จดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินเฉพาะส่วนตลอดชีวิต ดังนี้ ข้อความที่จดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ย่อมหมายรวมถึงสิ่งปลูกสร้างใด ๆบนที่ดิน คือ ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเก็บกินด้วย และการจดทะเบียนสิทธิเก็บกินก็ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้โจทก์มีสิทธิถือเอาประโยชน์แต่เฉพาะในที่ดินโดยแยกออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากตึกแถวพิพาทที่ปลูกอยู่บนที่ดินที่จำเลยเช่าอยู่นั้นและแม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทในฐานะเป็นผู้ให้เช่าก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินหมดสิทธิในการจัดการให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นการจัดการทรัพย์สินหรือถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินในที่ดินนั้นจนตลอดชีวิตของโจทก์ตามที่จดทะเบียนสิทธิเก็บกินไว้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา1417 และเมื่อสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทได้สิ้นอายุการเช่าแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และมีหนังสือบอกกล่าวให้ออกไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินครอบคลุมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจขับไล่ผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
แม้ตามรายการจดทะเบียนเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 3350 ตามฟ้อง โดยไม่ได้ระบุถึงตึกแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้มีชื่อในที่ดินโฉนดเลขที่ 3350 ตามฟ้อง และผู้มีชื่อซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้จดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินเฉพาะส่วนตลอดชีวิต ดังนี้ ข้อความที่จดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ย่อมหมายรวมถึงสิ่งปลูกสร้างใด ๆ บนที่ดิน คือ ห้องแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีสิทธิเก็บกินด้วย และการจดทะเบียนสิทธิเก็บกินก็ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้โจทก์มีสิทธิถือเอาประโยชน์แต่เฉพาะในที่ดินโดยแยกออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากตึกแถวพิพาทที่ปลูกอยู่บนที่ดินที่จำเลยเช่าอยู่นั้น และแม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทในฐานะเป็นผู้ให้เช่าก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินหมดสิทธิในการจัดการให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นการจัดการทรัพย์สินหรือถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินในที่ดินนั้นจนตลอดชีวิตของโจทก์ตามที่จดทะเบียนสิทธิเก็บกินไว้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 และเมื่อสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทได้สิ้นอายุการเช่าแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และมีหนังสือบอกกล่าวให้ออกไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
of 33