พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องโดยปริยายและการสิ้นสุดสิทธิในการฎีกาในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องในความผิดข้อหานี้แล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้แก้คำ-พิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องในข้อหานี้ด้วยความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอดแก่ทายาท ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533ซึ่งขณะนั้น ส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. ย่อมยุติลงในวันที่ 2 กรกฎาคม2533 ทายาทของ ส. หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส. อีกไม่ได้ พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส. ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา: การอุทธรณ์และการสิ้นสุดของสิทธิในการฎีกาตามมาตรา 267 วรรคสอง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำขอของจำเลยที่ให้ยกเลิกคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้นเป็นคำสั่ง อันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกเลิกคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วคำสั่งเช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกร่วมกัน ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ผู้ร้องถึงแก่มรณะ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะ ผู้ร้องผลจึงเท่ากับมรดกของเจ้ามรดกคงมีแต่เพียงผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 6 การที่ผู้ร้องอ้างพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.5 ก็เพื่อขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้มีผู้ร้องเป็นคู่ความพิพาทกับผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6โดยอ้างพินัยกรรมดังกล่าวต่อไปแล้วคดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึงพินัยกรรมฉบับนั้นอีก หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกประการใดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์/ฎีกาในคดีประกันตัว: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันขอลดค่าปรับและศาลชั้นต้นมีคำสั่งลดให้แล้วผู้ประกันอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ประกัน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 ผู้ประกันไม่อาจจะฎีกาต่อมาอีกได้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ประกันที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีและการสิ้นสุดสิทธิโต้แย้งหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยผู้ต้องเสียภาษีทราบว่าต้องเป็นภาษีจำนวนเท่าใดแล้ว แต่จำเลยไม่นำเงินภาษีดังกล่าวไปชำระให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระค่าภาษีจำนวนดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) สิ้นสุดลงเสียก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดแล้ว จำเลยจึงไม่อาจจะยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลอีกว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เสียก่อนที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่เป็นเหตุยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิที่จะโต้เถียงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การจดทะเบียนภารจำยอมไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสิ้นสุดสิทธิ
โจทก์และผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินในซอยได้ใช้ซอยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปตามแนวเสาไฟฟ้า ซึ่งผ่านไปตามที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทางภารจำยอม ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397หรือ 1399 มาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้นมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยอ้างการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาผู้ขอประกัน: ผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกาและการสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
สิทธิในการฎีกาของผู้ขอประกันต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ยื่นฎีกา ผู้ขอประกันยื่นฎีกาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งบัญญัติให้ผู้ขอประกันมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาลในกรณีผิดสัญญาประกันได้ และคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงเป็นที่สุดผู้ขอประกันไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และการสิ้นสุดสิทธิเมื่อขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ50วรรคแรก(3)ที่ให้บุตรของลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายมีสิทธิรับเงินทดแทนจากนายจ้างนั้นบุตรนั้นต้องมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเว้นแต่ถ้าอายุครบสิบแปดปีแล้วแต่ยังศึกษาอยู่ก็ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เมื่อบุตรของลูกจ้างผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากนายจ้างแล้วประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดให้สิทธิเรียกร้องส่วนของบุตรลูกจ้างที่จะได้เงินทดแทนนั้นโอนหรือตกทอดไปยังทายาทอื่นของลูกจ้างทั้งมิได้กำหนดให้นายจ้างต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของบุตรของลูกจ้างนั้นมาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่ทายาทอื่นของลูกจ้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการฎีกาในข้อหาเดิม เมื่อศาลชั้นต้นยุติการพิจารณาคดีในข้อหานั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงมีผลเป็นว่าศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องในข้อหารับของโจรแล้ว ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์จึงต้องถือว่าข้อหารับของโจรเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่2 ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์ย่อมฎีกาได้เฉพาะข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหารับของโจรซึ่งได้ยุติไปแล้วนั้นอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2528)