คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ & การขออนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของผู้ร้องได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอื่นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น การที่ผู้ร้องได้กล่าวอ้างถึงสำเนาสูติบัตรที่ได้มาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา มิใช้เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (2) ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้อุทธรณ์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติและอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเอกสารท้ายคำร้องเป็นเอกสารที่ผู้ร้องติดตามได้มาภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และเป็นเอกสารสำคัญที่จะพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทยเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แต่การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติม จะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวตามมาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเพียงอ้างในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตรเอกสารท้ายอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามมาตรา 240 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดสืบพยานโดยปิดประกาศหน้าศาลชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งงดสืบพยานได้
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งหมายนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ที่หน้าศาลแทนการส่งหมาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อได้ความว่าไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผลเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้แจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ส่งหมายเรียกและสำนวนคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายมาก่อน การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมายการนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมายและเมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันประกาศจึงถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยแรงงานและการสืบพยานในศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ทันทีที่เลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ซึ่งจำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
การสืบพยานในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ซึ่งในมาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในอันที่จะให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร คดีนี้เมื่อศาลแรงงานภาค 2 เห็นว่าข้อเท็จจริงจากการที่ ศ. ตอบคำซักถามของศาล และคำเบิกความของ ว. ต่อศาลตามที่บันทึกไว้ได้ความชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้แล้ว จึงไม่จำต้องเรียกพยานจำเลยทั้งสองมาสืบใหม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 ได้ซักถามตัวโจทก์โดยไม่อนุญาตให้ทนายความของคู่ความและตัวความซักถามโจทก์ เป็นการชอบด้วยมาตรา 45 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว ศาลแรงงานภาค 2 สามารถนำคำเบิกความของโจทก์มาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจรจาประนีประนอมและการสืบพยานต่อได้
ทนายโจทก์แถลงว่าหากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ไม่มาศาลว่าเพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้ จึงไม่ขอมาศาล ซึ่งหากมาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลง เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้ว ศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3465/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาลงโทษจำเลยที่รับสารภาพโดยไม่สืบพยานหลักฐานภายใต้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์ แต่ถ้าข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานอื่นที่หนักกว่านั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้นำสืบพยานหลักฐานให้ศาลรับฟังจนเป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้องในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดและถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลจะกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อได้สืบพยานหลักฐานและฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดจริงตามที่บัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 แต่เมื่อในระหว่างพิจาณราของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยมาตรา 66 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่สี่ปี ลดลงจากมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายเดิมที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี และคดีนี้เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 17.448 กรัม ซึ่งไม่เกิน 20 กรัม ดังนั้น โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 ข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยที่ 1 รับสารภาพจึงมีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึงห้าปี ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสารแทนการสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยขาดนัดพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบข้ออ้างการระงับหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การ ต่อสู้อ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกันและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในชั้นพิจารณาจำเลย ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยานและเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยไม่ได้ ซื้อที่ดินแปลงที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกัน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าว ติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีดังกล่าวเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้ว เพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าวและตกลง ซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8233-8236/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีแรงงาน: ผลของการไม่ไปศาลตามนัด และสิทธิในการสืบพยาน
ศาลแรงงานกลางสั่งรับคดีของโจทก์ทั้งสี่ไว้พิจารณาและได้กำหนดนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์รวมสามครั้ง แม้จะกำหนดให้นัดสืบพยานโจทก์รวมไปด้วยก็เป็นเพียงวิธีการเร่งรัดการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น วันนัดดังกล่าวเป็นการกำหนดนัดพิจารณาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 37 หากโจทก์ทราบ คำสั่งให้มาศาลโดยชอบแล้ว ไม่ไปศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบถึงเหตุที่ไม่ไปศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป และศาลแรงงานต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์จากสารบบความตาม มาตรา 40 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ไปศาลในวันนัดดังกล่าวทุกครั้ง จึงไม่มีกรณีที่จะอ้างเป็นเหตุจำหน่ายคดีของโจทก์ทั้งสี่ตาม มาตรา 40 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยไม่อาจตกลงกัน การที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและ วันนัดสืบพยานตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสี่ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 นั้น คงมีผลเพียงทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียสิทธิที่จะขออนุญาตศาลแรงานกลางถามพยานจำเลย เพื่อทำลายน้ำหนักพยานจำเลยเท่านั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8179/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การปฏิเสธเฉพาะบางข้อหา ศาลต้องไม่ลงโทษในข้อหาที่จำเลยปฏิเสธหากโจทก์ไม่สืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องอีกฉบับหนึ่งประกอบด้วย แม้ในคำร้องจะสรุปความได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ส่วนข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคงให้การปฏิเสธ แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นว่า สอบจำเลยยืนยันตามคำร้อง รับคำร้อง สำเนาให้โจทก์ ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วหรือไม่ แต่ก็ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยเกี่ยวกับคำร้องต่อหน้าโจทก์ซึ่งไปศาลและลงชื่อรับทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้วด้วย โดยโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบข้อความในคำร้องแล้ว เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน จึงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารใช้ถามค้านพยานแล้วนำสืบเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารที่โจทก์ใช้ในการถามค้านจำเลยที่ 2 ที่อ้างตนเองเป็นพยาน เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความรับรองเอกสารนั้นแล้ว โจทก์จึงอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาลชั้นต้น จึงมิใช่พยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของโจทก์ แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ และมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง กรณีไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
of 98