พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรและการสืบสิทธิมรดกโดยชอบธรรม
ผู้ตายได้แสดงออกกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า นาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ตาย และให้ใช้นามสกุลของผู้ตายด้วย เมื่อครั้นนาย ต.แต่งงานกับมารดาของผู้คัดค้านก็ได้มาอยู่กินกันที่บ้านของผู้ตายตลอดจนผู้คัดค้านเกิด ผู้ตายก็แสดงออกว่าผู้คัดค้านเป็นหลานของผู้ตาย จึงฟังได้ว่านาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อนาย ต.ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่นาย ต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิมรดกผ่านทายาทโดยธรรมและการเป็นผู้จัดการมรดก
ต.เจ้ามรดกมีบุตรสองคนคือส.กับบิดาผู้ร้องต.กับบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมไปแล้วโดยไม่ปรากฏในคำร้องว่าผู้ใดถึงแก่กรรมก่อน หากบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมก่อน ต. ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรย่อมรับมรดกแทนที่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1639 แต่หาก ต. ถึงแก่กรรมก่อนบิดาผู้ร้อง ทรัพย์มรดกของ ต.ย่อมตกแก่บิดาผู้ร้องและส. เมื่อบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมทรัพย์มรดกส่วนที่เป็นของบิดาผู้ร้องย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ต. ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม และการสืบสิทธิในกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนสำหรับการใช้รภยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่ากรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นเว้นแต่รถยนต์ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ผู้ตายในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว. ผู้เป็นนายจ้าง ว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: น.ค.3 มิใช่กรรมสิทธิ์ การครอบครองปรปักษ์และการสืบสิทธิ
น.ค.3 เป็นเพียงหลักฐานที่จะไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินตาม ป. ที่ดินได้เท่านั้น มิใช่หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: การสืบสิทธิในหนี้และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การอ้างพินัยกรรมและการครอบครองเพื่อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลย แต่เมื่อจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าเดิมที่พิพาทเป็นของบิดามารดาโจทก์จำเลย และตกทอดเป็นมรดกที่โจทก์และจำเลยครอบครองร่วมกัน ขอให้แบ่งแก่จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์จึงอ้างในคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยบิดาทำพินัยกรรมยกให้ ก่อนบิดาตายได้ยกสิทธิครอบครองให้โจทก์ โจทก์แจ้งการครอบครองที่พิพาทจนได้รับ ส.ค. 1เป็นหลักฐานนั้นเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่โจทก์มีอำนาจกระทำได้หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใดไม่และการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพินัยกรรมดังกล่าว ก็มิใช่เป็นการรับฟังว่าพินัยกรรมมีผลบังคับในฐานะเป็นพินัยกรรม แต่เป็นการรับฟังประกอบพฤติการณ์ที่โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทมาก่อนบิดาผู้ทำพินัยกรรมตาย อันเป็นเหตุให้โจทก์ไปทำ ส.ค.1 ไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิเช่าและแบ่งมรดก: สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกที่สามารถแบ่งได้
เจ้ามรดกทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากผู้อื่น จดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 25 ปี เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของเจ้ามรดกได้ไปขอโอนชื่อผู้เช่าจากเจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อสัญญาเช่นเดิมและเมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ามีสิทธิต่อสัญญาเช่าใหม่ต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 เช่าตึกแถวพิพาทจึงเป็นการสืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้เช่าเดิมนั่นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ขอโอนชื่อดังกล่าวแล้วได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการขายสิทธิให้จำเลยที่ 2 แสดงว่าสิทธิการเช่าดังกล่าวมีราคาและถือเอาได้จึงเป็นทรัพย์สินและทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทที่จะแบ่งปันกันได้ เพื่อความสะดวกในการแบ่งมรดกสมควรตีราคาเป็นตัวเงินแล้วจึงแบ่งกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968-1969/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความมรดก: การฟ้องขับไล่ที่ดินที่ยังไม่ได้แบ่งแยกและการสืบสิทธิมรดก
โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้นโจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่2ตามพินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่2โดยละเมิดกรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ1ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755แม้โจทก์ที่2จะฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดก: เจ้าของร่วม การสืบสิทธิ และสิทธิในการเรียกคืนการครอบครอง
โจทก์ทั้งสี่และบิดาจำเลยร่วมกันครอบครองที่นามรดกแปลงพิพาทต่อจากเจ้ามรดก ถือได้ว่าร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของที่นามรดกรายนี้ร่วมกันแล้ว แม้ภายหลังบิดาจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองที่นาพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกัน มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 จำเลยอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิของบิดาจำเลย การที่บิดาจำเลยยกที่นาแปลงพิพาทให้แก่บุตรของตนรวมทั้งจำเลยแล้วจำเลยเอาที่นาดังกล่าวขอออก น.ส.3 เป็นชื่อจำเลยและพี่น้อง ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่นาแปลงพิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยื่นฟ้องจำเลยยังไม่ถึง 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยไม่ยินยอมแบ่งที่นาแปลงพิพาทให้ โดยอ้างว่าที่นาดังกล่าวเป็นของจำเลยและพี่น้องของจำเลย โจทก์จึงไม่หมดสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้