คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สุขาภิบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่ได้จดทะเบียน และสุขาภิบาลมีอำนาจฟ้อง
แม้ขณะ ส.อุทิศที่พิพาทให้แก่สุขาภิบาลโจทก์ส. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับผู้อื่น แต่ปรากฏตามเอกสารว่าส. ได้อุทิศที่ดินเฉพาะส่วนของตน ทั้งโจทก์ได้เข้าพัฒนาทำเป็นทางสาธารณะและราษฎรได้ใช้สอยทางนี้ตลอดมา เช่นนี้แสดงว่าเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ยินยอมให้ที่พิพาทเป็นส่วนของส. ที่พิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันทันทีหาจำต้องจดทะเบียนไม่ และการที่โจทก์เข้าพัฒนาที่พิพาทถือไม่ได้ว่าเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทและโดยเจตนาเป็นเจ้าของ
ภาพถ่ายเอกสารรับฟังได้ เนื่องจากต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหาย
โจทก์เป็นผู้รับมอบการอุทิศทางพิพาทและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฟ้องคดีที่ถูกต้อง การฟ้องจำเลยที่ 1 (สุขาภิบาล) และจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2)ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21,22,23 และมาตรา 24 นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของประธานกรรมการสุขาภิบาลต่อความเสียหายจากการยักยอกเงิน เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบการรับเงิน
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินของสุขาภิบาลกำหนดให้ต้องมีกรรมการควบคุมการไปรับเงินธนาคาร หากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลตั้งกรรมการไปรับเงินร่วมกับจำเลยที่ 1 กรรมการ ก็อาจควบคุมดูแลมิให้จำเลยที่ 1 ปลอมใบขอถอนเงินและรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวจึงเป็น เหตุโดยตรงที่ทำให้สุขาภิบาลโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลต่อการยักยอกเงิน และการฎีกาที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ตามฎีกาปรากฏว่า จำเลยที่ 1เป็นผู้ฎีกาแต่ผู้เดียว โดยทนายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายจำเลยที่ 2 ด้วยเป็นผู้ลงชื่อแทน แม้ฎีกาจะมีข้อความเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย แต่เมื่อไม่ปรากฏรายชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ฎีกาด้วย ฎีกาดังกล่าวก็เป็นฎีกาของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว
ฎีกาที่คัดลอกแต่ข้อความในอุทธรณ์มาเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สมุห์บัญชีเป็นผู้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบเงินให้สมุห์บัญชีแล้ว คณะกรรมการรักษาเงินจะตรวจสอบจากสมุห์บัญชีอีกต่อหนึ่งเป็นขั้นตอนไป เหตุทุจริตเกิดขึ้นเพราะสมุห์บัญชีไม่ควบคุมดูแลให้จำเลยที่ 1 ปฎิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ จำเลยที่ 4 ที่ 5 ในฐานะปลัดสุขาภิบาลและกรรมการรักษาเงิน ไม่มีความจำเป็นต้องล้วงไปตรวจสอบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ที่ 5 จึงมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงาน: ลูกจ้างชั่วคราวสุขาภิบาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ให้พนักงานสุขาภิบาลเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา และให้กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบพนักงานสุขาภิบาลขึ้นไว้ โจทก์ไม่นำสืบว่าระเบียบนี้มีไว้อย่างไร ลูกจ้างชั่วคราวไม่อยู่ในฐานะพนักงานสุขาภิบาล การยักยอกเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ไม่ใช่ มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินแก่สุขาภิบาลเพื่อประโยชน์เฉพาะ ไม่ใช่สาธารณประโยชน์ สิทธิในการเรียกคืนยังคงมีอยู่
ยกที่ดิน ตลาดสดและผลไม้ มีโฉนดให้สุขาภิบาลเพื่อหาประโยชน์มาปรับปรุงท้องที่ เป็นการให้แก่สุขาภิบาลโดยเฉพาะ มิใช่ให้ใช้เป็นสาธารณประโยชน์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 525 ผู้ให้เรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งดำเนินคดีอาญาของนายอำเภอในฐานะกรรมการสุขาภิบาล: ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีอำนาจสั่งดำเนินคดีได้
จำเลยฎีกาว่า การดำเนินคดีอาญากับจำเลย นายอำเภอสั่งในตำแหน่งนายอำเภอไม่ได้ เพราะสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคล ต้องสั่งในนามประธานกรรมการสุขาภิบาล ดังนี้ เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย จำเลยย่อมฎีกาได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาดำรงตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ และโดยคำสั่งทางราชการให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่กรรมการสุขาภิบาลอีกด้วย หากฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินไว้แล้วไม่ลงบัญชี เป็นเหตุให้เงินขาดหายไปจากบัญชีซึ่งถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ เบียดบังเอาทรัพย์ไป เมื่อจำเลยไม่ใช้เงินที่ขาดหายไป อันอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสั่งให้นายอำเภอดำเนินคดีกับจำเลย นายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีก็ย่อมกระทำได้เพราะพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 นายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง ที่นายอำเภอสั่งให้ปลัดอำเภอไปแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย จะถือว่านายอำเภอไม่ใช่สั่งในตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ฟ้องขับไล่ได้เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้ว และไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในเขตสุขาภิบาล
การเช่าห้องที่ไม่มีหนังสือเป็นหลักฐานผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ มิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับคดีให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด
ห้องเช่าอยู่ในเขตสุขาภิบาล ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้อนุโลมเข้ารับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ เช่นเดียวกับเคหะในเขตเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลสุขาภิบาลมีสิทธิในทรัพย์สินจำกัดตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายจัดตั้งเท่านั้น
นิติบุคคล หาจำต้องจำกัดว่าอยู่ใน 6 จำพวกดังที่กล่าวไว้ใน ม.72 ป.ม.แพ่ง ฯ ไม่ มาตรา 68 ได้บัญญัติไว้เป็นทำนองว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ไม่ฉะเพาะแต่ต้องอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติของ ป.ม.แพ่ง ฯ อย่างเดียว อาจอาศัยอำนาจกฎหมายอื่นก็ได้
สุขาภิบาลหัวเมืองจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ดู พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127.
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งมาตรา 4, 8, 9, 10, 11 แห่ง พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 แล้ว พึงเห็นได้ว่า เงินภาษีโรงร้านที่พระราชทานให้เก็บใช้ในการตั้งสุขาภิบาลนั้นก็ดี หรือว่าเงินผลประโยชน์อย่างอื่นที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ฉะเพาะในการสุขาภิบาลนั้นก็ดี สุขาภิบาลมีกรรมสิทธิในเงินเหล่านั้นได้เช่นบุคคลในกฎหมาย ซึ่งอาจจะถือได้ว่าสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคลเพื่อการมีสิทธิในเงินดังกล่าวแล้ว
มาตรา 69 ป.ม.แพ่ง ฯ บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิ์และหน้าที่ต่าง ๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ในขอบวัตถุประสงค์ของตน ดังมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลอันเป็นตราสารจัดตั้งสุขาภิบาลได้กำหนดให้สุขาภิบาลมีสิทธิแต่เพียงที่จะเกี่ยวกับเงินที่จะพระราชทานให้เท่านั้น สุขาภิบาลนั้นหามีสิทธิแสวงหาประโยชน์ในทางอื่น เช่น บุคคลธรรมดาไม่
ในดินที่พิพากในคดีนี้ แม้จะถือว่าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สุขาภิบาลก็ไม่มีสิทธิจะเข้าจับจองถือเอา เพื่อกรรมสิทธิ์แก่สุขาภิบาล โดยฉะเพาะเพราอยู่นอกวัตถุประสงค์ของตราสารจัดตั้งสุขาภิบาล
คำพิพากษาวึ่งในที่สุดจะต้องเป็นเรื่องชี้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ย่อมใช้ผูกพันประชาชนได้ทั่วไป จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียกร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสุขาภิบาลไม่มีสิทธิอย่างนิติบุคคล ในอันที่จะจับจองหรือถือเอาที่ดินที่ไม่มีผู้ปกครอง เพื่อกรรมสิทธิฉะเพาะตนในอันที่จะแสวงผลกำไรสู่ตนโดยไม่ใช่การต่าง ๆ ที่ พ.ร.บ.จัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง มอบหน้าที่ไว้ ศาลย่อมจะพิพากษาให้เกิดผลในที่ดินนั้นเป็นกรราสิทธิของสุขภิบาลไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลสุขาภิบาล: สิทธิจำกัดตามวัตถุประสงค์กฎหมาย และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
นิติบุคคล หาจำต้องจำกัดว่าอยู่ใน 6 จำพวกดังที่กล่าวไว้ใน มาตรา 72 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ มาตรา 68ได้บัญญัติไว้เป็นทำนองว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ไม่เฉพาะแต่ต้องอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างเดียว อาจอาศัยอำนาจกฎหมายอื่นก็ได้
สุขาภิบาลหัวเมืองจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ดูพระราชบัญญัติจัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ.127
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งมาตรา 4,8,9,10,11 แห่งพระราชบัญญัติจัดการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ.127 แล้วพึงเห็นได้ว่าเงินภาษีโรงร้านที่พระราชทานให้เก็บใช้ในการตั้งสุขาภิบาลนั้นก็ดี หรือว่าเงินผลประโยชน์อย่างอื่นที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เฉพาะในการสุขาภิบาลนั้นก็ดี สุขาภิบาลมีกรรมสิทธิ์ในเงินเหล่านั้นได้เช่นบุคคลในกฎหมายซึ่งอาจจะถือได้ว่าสุขาภิบาลเป็นนิติบุคคลเพื่อการมีสิทธิในเงินดังกล่าวแล้ว
มาตรา 69 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิ์และหน้าที่ต่างๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในขอบวัตถุประสงค์ของตนดังมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลอันเป็นตราสารจัดตั้งสุขาภิบาลได้กำหนดให้สุขาภิบาลมีสิทธิแต่เพียงที่เกี่ยวกับเงินที่จะพระราชทานให้เท่านั้น สุขาภิบาลนั้นหามีสิทธิแสวงหาประโยชน์ในทางอื่นเช่นบุคคลธรรมดาไม่
ที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ แม้จะถือว่าเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สุขาภิบาลก็ไม่มีสิทธิจะเข้าจับจองถือเอาเพื่อกรรมสิทธิ์แก่สุขาภิบาลโดยเฉพาะ เพราะอยู่นอกวัตถุประสงค์ของตราสารจัดตั้งสุขาภิบาล
คำพิพากษาซึ่งในที่สุดจะต้องเป็นเรื่องชี้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ย่อมใช้ผูกพันประชาชนได้ทั่วไป จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสุขาภิบาลไม่มีสิทธิอย่างนิติบุคคลในอันที่จะจับจองหรือถือเอาที่ดินที่ไม่มีผู้ครอบครองเพื่อกรรมสิทธิ์เฉพาะตนในอันที่จะแสวงผลกำไรสู่ตนโดยไม่ใช่การต่างๆ ที่พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลมอบหน้าที่ให้ไว้ ศาลย่อมจะพิพากษาให้เกิดผลในที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของสุขาภิบาลไม่ได้
of 2