คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งมอบสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936-6937/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการรับขนของทางทะเล: การส่งมอบสินค้าและการเริ่มนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือเกาะสีชังโดยขนถ่ายสินค้าจากเรือลงบรรทุกในเรือลำเลียงและการขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 ถือได้ว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่ผู้รับตราส่งแล้วในวันดังกล่าว ซึ่งผู้รับตราส่งต้องฟ้องผู้ขนส่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแห่งสินค้าที่ขนส่งภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งจึงต้องฟ้องผู้ขนส่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
ตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์เป็นการขอแก้ไขวันและสถานที่ที่ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง จากวันที่ 7 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือเกาะสีชัง เป็นวันที่ 16 มกราคม 2539 ที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่ง และการเริ่มนับอายุความในการฟ้องร้องผู้ขนส่ง ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ทั้งเป็นการขอแก้ไขภายหลังวันชี้สองสถาน ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบข้อเท็จจริงตามที่ขอแก้ไขคำฟ้อง ก็ปรากฏว่าการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นก่อนโจทก์ขอแก้ไขฟ้องถึง 3 ปีเศษ กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าต้องต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้า ต้องมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าก่อน จึงจะมีผลบังคับใช้
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายโดยตัวแทนเชิดและการบังคับคดีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าและชำระหนี้บางส่วน
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการรับมอบสินค้า และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าชักช้า
ตัวแทนของจำเลยได้รับมอบสินค้าพิพาทไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 (ผู้ขนส่ง)โดยจำเลยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยได้ออกหนังสือขอรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งให้แก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุโดยชัดแจ้งว่า จำเลยตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 หากโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายจากการนี้ ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 รวมทั้งไม่มีลักษณะเป็นการให้ประกันตามควรตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 แต่ก็ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ที่ 1 ถูกผู้ขายฟ้องคดีให้คืนหรือใช้ราคาสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขาย โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้า ส่วนค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าสินค้าพิพาทซึ่งศาลฎีกาเมืองฮ่องกงมีคำพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้แก่ผู้ขายนั้น ปรากฏว่าผู้ขายได้ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าสินค้าและศาลมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระค่าสินค้าพิพาทแก่ผู้ขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือผู้ขายได้ดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ที่ 1 จึงถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งฟ้องขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ตามข้อตกลงในหนังสือรับรองการรับมอบสินค้าโดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่งซึ่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้ไว้ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็มิได้มีบัญญัติเรื่องอายุความในกรณีนี้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางสัญญาและการละเมิดจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าและประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงินค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาทมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ตามกำหนดกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอกสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้องบันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึกแจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้น ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
จำเลที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลื่อมปีงบประมาณจะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมคนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้าทางทะเล: การคำนวณน้ำหนักสินค้าและข้อสงวนสิทธิในการส่งมอบสินค้า
การว่าจ้างขนส่งปุ๋ยสินค้าพิพาทเกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยปุ๋ยจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอ้างว่าการขนส่งของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายแก่ปุ๋ยที่รับขน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าได้ส่งมอบปุ๋ยสินค้าที่รับขนให้แก่บริษัทผู้สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว
การคำนวณน้ำหนักปุ๋ยยูเรียที่ต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึกของเรือก่อนบรรทุกว่าเรือจมลงไปลึกเท่าใดและวัดอีกครั้งเมื่อบรรทุกแล้วอาจผิดพลาดได้ เพราะระดับน้ำทะเลอาจมีคลื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวิธีคำนวณน้ำหนักของปุ๋ยยูเรียที่ท่าเรือต้นทางใช้วิธีวัดอัตรากินน้ำลึก แต่เมื่อปุ๋ยถึงท่าเรือปลายทางจะคำนวณน้ำหนักโดยตักปุ๋ยบรรจุใส่ถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ปุ๋ยบางส่วนจึงอาจตกหล่นในการตักได้ ทั้งโจทก์มิได้นำสืบว่าการคำนวณน้ำหนักปุ๋ยด้วยวิธีวัดอัตราน้ำลึกจะได้เท่ากับวิธีตักปุ๋ยบรรจุถุงแล้วนำขึ้นเครื่องชั่งน้ำหนัก ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าปุ๋ยที่จำเลยรับขนน้ำหนักขาดหายไป จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการส่งมอบสินค้า – การขออนุญาตส่งออกจากรัฐบาลต่างประเทศ
โจทก์ทำสัญญาซื้อกล้องเล็งแบบเอ็ม 53 เอ 1 พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ย. ประเทศอังกฤษ จากจำเลย กำหนดเวลาส่งมอบสิ่งของภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2535 แต่การส่งออกจากประเทศอังกฤษ บริษัทผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษก่อน หลังจากทำสัญญา จำเลยได้สั่งซื้อสิ่งของดังกล่าวจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้ผลิตยื่นคำร้องขออนุญาตส่งออกต่อรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในประเทศไทยรัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของดังกล่าวมายังประเทศไทยในช่วงนั้น เมื่อจำเลยสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2535 บริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทั้งที่ได้พยายามติดตามเรื่องตลอดมา จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกว่าได้เร่งรัดบริษัทผู้ผลิตแล้วและจะเร่งรัดให้ส่งของมาโดยด่วนต่อไป และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม2535 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกครั้งว่า ยังคงเร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องดังนี้ แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่า การส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางทหารต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทในประเทศอังกฤษและต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้การขออนุญาตส่งออกบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยผู้ขายได้เร่งรัดให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์หรือ 35 วัน จึงมีการอนุญาต พฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หลังครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาเพียง22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 205 และจำเลยได้แจ้งเหตุพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบแล้วโดยแจ้งว่าจะส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป ซึ่งนับว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่ใดมีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยตกลงซื้อปลาจากแพปลาของโจทก์ในจังหวัดสงขลา เพื่อให้ส่งปลาไปให้จำเลยที่จังหวัดภูเก็ต สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่จังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ส่งและรับมอบสินค้า เมื่อจำเลยผิดสัญญา มูลความแห่งคดีจึงเกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาซื้อขายดังกล่าว ศาลจังหวัดสงขลาจึงเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลย่อมมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
of 9