คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ส่งหมายเรียก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำฟ้อง การปิดเอกสารต้องแน่นหนา การขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคำคู่ความหรือ เอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไป โดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง พร้อมหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยเท่านั้น ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยการเสียบไว้ที่มือจับประตูเหล็กยืดไม่ถือเป็นการปิดเอกสารโดยชอบ จำเลยไม่จงใจขาดนัด
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง กับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลย ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบ ดังนั้นเมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ชอบที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ความผิดพลาดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียก ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ส่งไปยังจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรก แต่ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องของพนักงานเดินหมาย จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว หาได้มีเจตนาหรือจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่อย่างใดนั้น ไม่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานแต่มิได้แจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ โดยเพิ่งมายื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การภายหลัง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคหนึ่ง ว่าเป็นการไม่ชอบหรือไม่อย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัด
จำเลยเคยพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 213 จังหวัดชลบุรี ตามฟ้องและจำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน ณ บ้านดังกล่าวตลอดมา การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยรวมทั้งหมายนัดสืบพยานโจทก์ ส่งได้โดยวิธีปิดหมายไว้ ณ บ้านดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้อยู่อาศัยที่บ้านหลังนี้มากกว่า 10 ปีแล้ว โดยไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 518/136 กับ บ้านเลขที่ 81/6 และไป ๆ มา ๆ ระหว่างบ้าน 2 หลังนี้โดยไม่ได้กลับไปที่บ้านเลขที่ 213 อีกเลย แต่ยังมิได้ย้ายทะเบียนออกจากบ้านหลังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ดังนี้ แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านเลขที่ 213 ดังกล่าว จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องนี้ จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาเดิมที่ไม่ใช่ปัจจุบัน แม้เป็นการส่งโดยชอบ แต่หากจำเลยไม่ได้รับรู้เรื่องฟ้องคดี ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้
จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยโดยการปิดหมายไว้ ณ บ้านที่จำเลยมีที่อยู่ทางทะเบียน จะเป็นการส่งโดยชอบก็ตาม แต่ปัญหาว่าการส่งหมายเป็นไปโดยชอบหรือไม่กับปัญหาว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เป็นคนละเรื่องกันเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องคดีนี้จึงไม่อาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีแรงงาน จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาใหม่ได้ แม้พ้นกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
กรณีศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา แล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและออกหมายเรียก ให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกแล้ว ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ แต่การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ซึ่งจำเลย มีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ที่ศาลแรงงานส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านเลขที่อื่นตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นคำฟ้อง หากได้ความตามคำร้องของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและหมายนัดพิจารณาโดยชอบ การปิดหมาย ณ สำนักทำการงานของจำเลย ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การปิดหมายจะกระทำด้วยวิธีใด เช่น การใช้เชือกผูกการตอกตะปู การแปะติดไว้หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องแสดงไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เพื่อให้ผู้รับแจ้งทราบว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีหรือมีกระบวนพิจารณาใดที่จะต้องปฏิบัติหรือรับทราบ ก็ถือได้ว่าเป็นการปิดหมายโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งห้าตามหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งนี้หนังสือรับรองและ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่าจำเลยทั้งห้ามีถิ่นอยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่นำสืบว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวแต่พยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าฟังไม่ได้ว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวไปแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งห้ายังคงมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือรับรองและแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งห้า ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
of 18